จัดทำรายงานผลทดสอบดิน

การเจาะสำรวจดิน ทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ ถึงขั้นตอนการสรุปผลงานทดสอบดิน เพื่อออกแบบกำลังรับน้ำหนักของดิน โดยวิศวกรโยธามืออาชีพ ประสบการณ์การทำงานกว่า 20 ปี ทำขึ้นเพื่อทดสอบความสามารถในการรับน้ำหนักของดินเป็นหลัก ดินที่มีความแข็งแรงเพียงพอต้องมีความสามารถในการรับน้ำหนักโครงสร้างของอาคาร เรามั่นใจในทุกขั้นตอนการทำงานของเรา เราออกแบบกำลังรับน้ำหนักของดินตามหลักวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ รับประกันในเรื่องความถูกต้องของผลงานการทดสอบดิน แนะนำการเลือกใช้ฐานราก เสาเข็ม ที่ถ่ายน้ำหนักโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้าง เหมาะสมกับชั้นดินที่มีความแข็งแรงเพียงพอ ณ บริเวณพื้นที่ทำเลที่ตั้งโครงการก่อสร้างมากที่สุด

จากผลการเจาะสำรวจดิน และวิเคราะห์คุณสมบัติทางวิศวกรรมของดิน หากปรากฏว่า คุณสมบัติของดินในระดับความลึกตื้น ๆ อยู่ในเกณฑ์ดีพอใช้ฐานรากแผ่ได้ โดยไม่เกิดการทรุดตัวเกินกำหนด ฐานรากแผ่ (Spread Fotting) จะถูกเลือกใช้เป็นอันดับแรก เพราะว่าฐานรากแผ่เป็นฐานรากที่ก่อสร้างง่ายและประหยัดที่สุด แต่ถ้าฐานแผ่ไม่เหมาะสมกับสภาพชั้นดิน ก็จะพิจารณาให้เลือกใช้เสาเข็ม (Pile Foundation)

หัวใจสำคัญของการหาน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม คือ การเลือกความลึกของชั้นดินบริเวณส่วนปลายเสาเข็ม ให้เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้อย่างปลอดภัย ประหยัดที่สุด และไม่มีปัญหาในระหว่างก่อสร้าง เช่น ตอกเสาเข็มไม่ลง การหากำลังรับน้ำหนักของดิน หรือ การคำนวณกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม จะเป็นผลรวมของกำลังแรงเสียดทานของดินที่ผิวเสาเข็ม หรือ แรงเสียดทานของดินด้านข้างที่กระทำกับผิวเสเข็ม (Friction force) สามารถหาได้โดย การแบ่งดินเป็นชั้นย่อยตามคุณสมบัติของชั้นดินที่เหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน กับแรงต้านทานที่ปลายเสาเข็ม (End bearing)

Negative Skin Friction จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเสาเข็มเป็นแบบ End Bearing Pile และมีดินอ่อน (Soft Clay หรือ Loose Sand) อยู่บนชั้นดินแข็ง (Stiff to Hard Clay หรือ Dense to Very Dense Sand) การทรุดตัวของชั้นดินอ่อน อาจมีสาเหตุจาก พื้นที่ที่จะก่อสร้างมีการถมดิน การสูบน้ำบาดาล หรือเกิดการทรุดตัวตามธรรมชาติโดยน้ำหนักตัวมันเอง ในอัตราที่เร็วกว่าการทรุดตัวของเสาเข็ม จะทำให้เกิด Negative Skin Friction

ฐานรากแผ่ในดินประเภท Cohesionless Soil ซึ่งได้แก่ Gravel, Sand, Clayey Sand และ Nonplastic silt เป็นดินที่มี Permeability สูง น้ำสามารถซึมผ่านได้ง่าย เมื่อรับน้ำหนัก น้ำจะซึมผ่านได้รวดเร็ว จึงเกิดการทรุดตัวได้เร็ว การวิเคราะห์หา Bearing Capacity ของดินประเภทนี้ จึงมี Settlement เป็นตัวกำหนด PECK, HANSON และ THORNBURN (1974) ได้ให้ Chart สำหรับหา Allowable Bearing Pressure ของ Cohesionless Soil ที่ยอมให้เกิดการทรุดตัวได้ 25 มม.

ฐานรากแผ่ในดินปะเภท Cohesive Soil ซึ่งได้แก่ ดินเหนียว (Clay) ดินเหนียวปนทราย (Sandy Clay) และ Plastic Silt ซึ่งมีเม็ดดินเล็กมากและมี Permeability ต่ำมาก เมื่อรับน้ำหนักจะเกิด Excees Pore Water Pressure ชั้นสูงสุด และจะค่อย ๆ ลดลงในระยะเวลายาวนาน Excees Pore Water Pressure จะเป็นตัวลดกำลังของดิน ดังนั้นจุดวิกฤตในการรับน้ำหนักของดิน Cohesive Soil จึงเป็นระยะแรกเริ่มของดินในการรับน้ำหนัก การวิเคราะห์หา Bearing Capacity ของฐานรากแผ่ในดินประเภทนี้ จึงใช้วิธี Undrained Analysis

Comments are closed.