บทคัดย่องานวิจัยเรื่อง การออกแบบโครงสร้างทางวิ่งสนามบิน กรณีศึกษาเมืองเชียงใหม่

เริ่มโดย denichammy, สิงหาคม 08, 2013, 09:28:29 am

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

denichammy

 :wanwan044: สำหรับชื่อผู้แต่งบทคัดย่องานวิจัยเรื่อง การออกแบบโครงสร้างทางวิ่งสนามบิน กรณีศึกษาเมืองเชียงใหม่ Design of Runway Pavement Structure Chiang Mai Airport Study Case คือ นางสาวฐาปนี ธีรกุลวัฒนโต และ นายฐิติณัฐ เมืองทอง อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร. บุญส่ง สัตโยภาส ประเภทงานวิจัย ก็จะเป็นในรูปแบบของ โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมขนส่ง ปีกาศึกษา 2554 คณะวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ:

งานศึกษาวิจัยชิ้นนี้ เป็นงานศึกษาและงานออกแบบโครงสร้างทางวิ่งสำหรับสนามบินเชียงใหม่ (แห่งใหม่)มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและศึกษาการใช้งาน Software ตามวิธีของ Federal Aviation Administration(FAA)  ซึ่งกำหนดพื้นที่ศึกษาคือ บริเวณอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน พบว่าดินเดิมบริเวณนั้นเป็นดินกลุ่ม OL (Organic silts or lean organic clays) ซึ่งเป็นดินที่มีความแข็งแรงต่ำ(Low strength) โดยมีค่า CBR (Unsoaked) เท่ากับ 4.1เปอร์เซ็นต์ ปริมาณการจราจรที่ใช้ในการออกแบบ รวบรวมจากข้อมูลทางสถิติของ การท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระหว่างปี 1991ถึงปี 2010 และจากการวิเคราะห์อัตราการเพิ่มการเดินทางผู้โดยสารพบว่ามีอัตราการเพิ่มคงที่รายปีเท่ากับ  4.95เปอร์เซ็นต์

จากข้อมูลที่รวบรวมทั้งหมดได้ออกแบบโครงสร้างทางวิ่งแบบ Rational ตามใช้วิธี FAA (AC NO:150/5230-6E) สำหรับอายุการใช้งาน 20 ปี ซึ่งในกรณีโครงสร้างแบบ Flexible Pavement ให้ค่าความหนา คือ ชั้นผิวทางแบบ Asphalt concrete(P-401)  หนา 5 นิ้ว, ชั้นพื้นทางแบบ Asphalt  stabilize(P-401)  หนา 12 นิ้ว  และชั้นรองพื้นทางแบบ Crushed aggregate (P-209)  หนา 45 นิ้ว  สำหรับกรณีโครงสร้างแบบ Rigid  ให้ค่าความหนา คือ ชั้นผิวทางคอนกรีต (ความแข็งแรง MR 650 lb./in²) หนาเท่ากับ 21นิ้ว โดยที่ชั้น Sub base เป็นแบบ Cement Treated Base(P-301) หนา 6 นิ้ว

ได้วิเคราะห์ความสามารถในการรองรับเครื่องบินในค่าดัชนี PCN(Pavement Classification Numbers) ให้ผลเป็น รหัสคือ PCN204FCXTสำหรับโครงสร้างแบบ Flexible และ PCN95RCXTสำหรับโครงสร้างแบบ Rigid  :wanwan021:

ที่มา : http://civil.eng.cmu.ac.th/research/in/2554/1909