บริการเจาะสำรวจดิน
FIELD VANE SHEAR TEST
TEL. 0-2729-5031
FIELD PERMEABILITY TEST
TEL. 0-2184-5453
Open standpipe piezometer

เจาะสำรวจดิน ทดสอบดิน

บริการเจาะสำรวจดิน ทดสอบดินในสนาม ทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ ออกแบบกำลังรับน้ำหนักของดิน

โทร. 085-917-7163, 083-036-6503

เมื่อคุณพร้อมก่อสร้าง เราก็พร้อมเจาะสำรวจดินให้คุณ

งานเจาะสำรวจดิน ทดสอบดินในสนาม ทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ ในโครงการงานก่อสร้าง มีความสำคัญในการเป็นข้อมูลประกอบงานออกแบบ เป็นอานิสงส์ให้งานก่อสร้างดำเนินไปด้วยความประหยัด ข้อมูลดินเป็นสิ่งสำคัญทางวิศวกรรมโยธา โดยเฉพาะ งานก่อสร้างอาคารใหม่เพื่อออกแบบฐานราก ห่างกันเพียงแค่นิดเดียว คุณสมบัติสภาพชั้นดินก็แตกต่างกันแล้ว ดินเป็นวัสดุที่มีกำลังรับแรงค่องข้างต่ำ เมื่อเทียบกับวัสดุก่อสร้างประเภทอื่น "ถ้าไม่มีการเจาะสำรวจดิน ทดสอบดินในสนาม ทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ ก่อนเริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารหรือโครงสร้าง เป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาการทรุดตัวของฐานราก (Foundation)"

เมื่อกล่าวถึง ฐานราก จัดได้ว่า เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโครงสร้างทุกชนิดที่ได้รับอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งจะเห็นได้ว่า งานด้านวิศวกรรมโยธาเกือบทั้งหมดเป็นงานที่เกี่ยวกับโครงสร้างที่มีน้ำหนักมาก เปิดประเด็นไปที่การออกแบบโครงสร้าง เพื่อถ่ายน้ำหนักจากโครงสร้างลงสู่ช่วงล่างสุดของฐานรากและถ่ายน้ำหนักลงสู่ชั้นดิน การเจาะสำรวจดินจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพื่อหาความลึกของชั้นดินที่เหมาะสมในการก่อสร้างโครงสร้างฐานราก เป็นการเพิ่มน้ำหนักความสำคัญให้กับดินที่รองรับโครงสร้างนั้นจะต้องไม่เกิดการวิบัติ แม้ว่า โครงสร้างจะถูกออกแบบได้ชนิดที่เรียกว่า "เทพเรียกพี่" ก็ตาม อีกทั้งยังต้องมีการพิจารณาในเรื่องของการทรุดตัวของดินที่รองรับโครงสร้างจะต้องไม่มากเกินกว่า ที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวโครงสร้างได้เพราะเราตะหนักและใส่ใจถึงความปลอดภัยของโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้าง ฐานรากของคุณต้องแข็งแรงและปลอดภัย จากข้อมูลดิน ที่ได้จากการเจาะสำรวจดิน และเก็บตัวอย่างดิน ไปทดสอบดินในห้องปฏิบัติการของเรา "เพื่อแผนงานโครงการงานก่อสร้างของคุณเดินหน้าอย่างมีคุณภาพ จะต้องมีงานเจาะสำรวจดิน ทดสอบดินของเราอยู่ในแผนงานโครงการก่อสร้างของคุณด้วยครับ"

บริการเจาะสำรวจดิน

การเจาะสำรวจดินเป็นสิ่งจำเป็น ในลักษณะของคุณสมบัติของชั้นดินที่ถูกต้อง ควรค่าแก่การไปใช้ในการออกแบบก่อสร้าง สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ อาทิเช่น ถนน สะพาน อาคาร และ เขื่อนป้องกันตลิ่ง ฯลฯ ได้อย่างเหมาะสมกับของแต่ละสภาพพื้นที่ ซึ่งจะทำให้สิ่งปลูกสร้างเกิดความมั่นคง แข็งแรง ประหยัด ปลอดภัย และเป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดี ในการดำเนินการเจาะสำรวจดิน

ทดสอบกำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำ FIELD VANE SHEAR TEST

การทดสอบ Field Vane Shear Test เป็นการทดสอบหาค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำ (Undrained Shear Strength, Su) หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นการทดสอบดินเพื่อหาแรงเฉือนในชั้นดินเหนียวอ่อนถึงแข็งปานกลางในสภาพดินตามธรรมชาติ จะทดสอบดินที่ระดับความลึกทุก ๆ ระยะ 1 เมตร งานทดสอบดิน Field Vane Shear Test จะสิ้นสุดความลึกของการทดสอบที่ไม่เกิน 15-17 เมตร ตามมาตรฐาน ASTM D-2573-72 

ทดสอบความหนาแน่นของดิน FIELD DENSITY TEST

การทดสอบหาค่าความหนาแน่นของดินในสนาม Field Density Test คือ การนำผลทดสอบความหนาแน่นของชั้นดินในสนาม เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับค่าความหนาแน่น ที่ได้จากการบดอัดดินในห้องปฏิบัติการ เป็นการนำน้ำหนักดินที่ขุดออกมาหารด้วยปริมาตรหลุมที่ขุดไว้ ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ความหนาแน่นของดินในสนาม การทดสอบดินในสนาม Field Density Test ที่เป็นที่นิยมใช้ ก็จะมีด้วยกัน 2 วิธี คือ วิธีใช้ทราย (Sand Cone Method) หรือใช้น้ำ (Balloon Density Method)

ทดสอบแรงดันน้ำใต้ดิน Open standpipe piezometer

การวัดแรงดันน้ำแบบปลายท่อเปิด Open Standpipe Piezometer เป็นการวัดแรงดันน้ำในดินและหินที่ง่ายและประหยัดที่สุด Standpipe Piezometer (หรือที่รู้จักกันในนามของ Casagrande Piezometer) เป็นลักษณะของอุปกรณ์ที่นำมาใช้ตรวจสอบวัดค่าระดับน้ำใต้ดินในหลุมเจาะแนวตั้ง Standpipe Piezometer ที่เห็นกันโดยทั่วไปก็มักใช้ตัวกรองรูปทรงกระบอกแบบมีรูพรุนที่ส่วนปลาย ความดันของน้ำใต้ดิน ฝั่งที่ความลึกที่จะวัดความดันน้ำ และต่อท่อตั้งขึ้นไปข้างบนที่ผิวดินเข้ากับเครื่องวัดระดับน้ำระบบไฟฟ้า

ทดสอบการซึมผ่านของน้ำในดิน FIELD PERMEABILITY TEST

การทดสอบค่ารั่วซึมของน้ำผ่านชั้นดิน Soil Permeability Test การทดสอบดินด้วยวิธีนี้เรียกว่า Gravity Test ซึ่งอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก นิยมใช้การทดสอบ Gravity Open-end Test ตามมาตราฐาน USBR Designation E-18 โดยวัดปริมาณน้ำที่รั่วซึมในช่วงเวลาที่ทำการทดสอบ จากนั้นก็จะมีการนำค่าที่ได้มาคำนวณหาค่าการรั่วซึมน้ำผ่านชั้นดิน

ทดสอบกำลังรับน้ำหนักแบกทานของดิน Plate Bearing Test

การทดสอบดิน เพื่อทดสอบกำลังรับน้ำหนักแบกทานของดิน Plate Bearing Test หรือ การทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของชั้นฐานราก อีกทั้งยังเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักกดกับการทรุดตัว ค่าพารามิเตอร์ตัวสำคัญ ที่นำไปใช้ในการออกแบบฐานราก และหาได้เฉพาะ การทดสอบกดด้วยแผ่นเหล็กในสนาม Plate Bearing Test คือ ค่าโมดูลัสการต้านแรงกดของชั้นดิน Modulus of subgrade reaction (k) เป็นค่าที่แสดงถึง ความแข็งแรงของชั้นดินใต้ฐานราก ตามมาตรฐาน ASTM D1194-94

ทดสอบดิน เจาะหยั่งแบบเบา Kunzelstab Penetration Test

Kunzelstab Penetration Test (KPT) เป็นการทดสอบกำลังต้านทานชั้นดินด้วยการหยั่งตอก แรงกระแทกจากตุ้มตอกถ่ายไปสู่ปลายของหัวเจาะรูปกรวย (Cone head) มุม 60 องศา การใช้ลูกตุ้มกระแทกส่งหัวเจาะรูปกรวยผ่านชั้นดินลงไป ซึ่งแรงต้านการเคลื่อนที่ของหัวเจาะรูปกรวยจะมีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติชั้นดิน ด้วยเครื่องมือทดสอบดิน Kunzelstab Penetration Test (KPT) มาตรฐาน DIN 4049 ของประเทศเยอรมัน

บริการเจาะสำรวจดิน ทดสอบดิน Boring Test Service

การเจาะสำรวจดิน คือ กรรมวิธีการเจาะลงไปในชั้นดิน, เก็บตัวอย่างดิน, ทดสอบดินในสนาม, หยั่งชั้นดินจากผิวดิน หรือใช้เทคนิคอื่น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งลักษณะชั้นดินทั้งทางแนวดิ่ง และเปลี่ยนแปลงทางแนวราบ เพียงพอในการที่จะออกแบบ หรือศึกษาทางด้านปฐพีกลศาสตร์ การเจาะสำรวจดิน ยังต้องคำนึงถึงประโยขน์ใช้งานด้วย เช่น งานถนนหรือสนามบิน การเจาะสำรวจดินจะทำเพียงตื้น ๆ แต่งานฐานรากเสาเข็มต้องเจาะสำรวจดินลึกลงไปกว่าปลายเข็มที่คาดว่าจะใช้งาน การสำรวจดินมีด้วยกันหลายประเภทอันได้แก่

READ MORE

เจาะสำรวจดิน ทดสอบดิน

Soil Test and Soil Boring Test Service

Soil Test and Soil Boring Test by Profreesional civil engineering for calculating bearing capacity of soil to choice foundation type for design the foundation following the soil engineering aspect. Tel. 085-917-7163

LINE CONTACT

รูปแบบวิธีการทำงานเจาะสำรวจดิน ทดสอบดินของเรา

จัดทำรายงานผลทดสอบดิน

การเจาะสำรวจดิน ทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ ถึงขั้นตอนการสรุปผลงานทดสอบดิน เพื่อออกแบบกำลังรับน้ำหนักของดิน โดยวิศวกรโยธามืออาชีพ ประสบการณ์การทำงานกว่า 20 ปี ทำขึ้นเพื่อทดสอบความสามารถในการรับน้ำหนักของดินเป็นหลัก ดินที่มีความแข็งแรงเพียงพอต้องมีความสามารถในการรับน้ำหนักโครงสร้างของอาคาร เรามั่นใจในทุกขั้นตอนการทำงานของเรา เราออกแบบกำลังรับน้ำหนักของดินตามหลักวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ รับประกันในเรื่องความถูกต้องของผลงานการทดสอบดิน แนะนำการเลือกใช้ฐานราก เสาเข็ม ที่ถ่ายน้ำหนักโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้าง เหมาะสมกับชั้นดินที่มีความแข็งแรงเพียงพอ ณ บริเวณพื้นที่ทำเลที่ตั้งโครงการก่อสร้างมากที่สุด