การออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลหลุมเจาะสำรวจทางธรณีวิศวกรรม

เริ่มโดย denichammy, มิถุนายน 24, 2013, 09:28:31 am

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

denichammy

จะว่าไปแล้ว เราก็ไม่ได้พูดถึง เรื่องการเจาะสำรวจดิน หรือ การเจาะดินกันนานแล้วนะครับ ณ เวลานี้ ผมขอพูดถึงเรื่อง การออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลหลุมเจาะสำรวจทางธรณีวิศวกรรม นี่เป็นตัวอย่าง บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ ของ คุณ ณรงค์รักษ์ รัตนานันท์ วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนยุรี กรุงเทพมหานคร การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลหลุมเจาะสำรวจทางธรณีวิศวกรรมในครั้งนี้ จัดได้ว่า เป็นการสร้างข้อมูลเชิงอรรถในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งสามารถนำไปเชื่อมโยงกับข้อมูล เชิงพื้นที่ได้ในกรณีที่มีข้อมูลส่วนนั้นมีพิกัดภูมิศาสตร์ที่แน่นอนของที่ตั้งหลุมเจาะสำรวจ การออกแบบในครั้งนี้ได้ใช้ข้อมูลตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรมชลประทาน และกรมทางหลวง สามารถแบ่งแยกข้อมูลได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ BOREHOLE GEOGRAPHY, BOREHOLE LOG และ SAMPLE PROPERTIES โดยในแต่ละส่วนก็ยังมี ตารางย่อยลงไปอีกสำหรับการจัดเก็บข้อมูลจริง รวมทั้งตารางพจนานุกรมด้วย ผลที่ได้จากการออกแบบคือระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงอรรถหลุมเจาะสำรวจทางธรณีวิศวกรรม รวมทั้งตัวอย่างข้อมูล โดยในการออกแบบได้จัดเตรียมให้ฐานข้อมูลสามารถจัดเก็บข้อมูลจากหลุมเจาะ สำรวจทางธรณีวิศวกรรมได้ทุกชนิด ทั้งที่เป็นการเจาะสำรวจดินและหิน โครงสร้างฐานข้อมูลได้รับ การออกแบบให้สามารถทำการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการจากฐานได้โดยรวดเร็วและแม่นยำ สำหรับ รูปแบบการนำเข้าได้จัดทำให้สอกคล้องกับการจัดเก็บข้อมูลที่สะดวกและง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป นอกจากนี้ ในการศึกษาครั้งนี้ยังได้จัดเตรียมตัวอย่างรูปแบบการสอบถามซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูล จากฐานข้อมูลที่มีอยู่เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปตามลักษณะงานหรือความต้องการของผู้ใช้  :wanwan017:

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://dcms.thailis.or.th/tdc//browse.php?option=show&browse_type=subject&subjid=55198&doc_type=0&display=list_subject&q=glucose