แก้ปัญหางานออกฐานแผ่ ความสำคัญในการทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย

เริ่มโดย denichammy, กรกฎาคม 12, 2013, 11:02:24 am

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

denichammy

 ;D ฐานรากเป็นส่วนสำคัญที่พยุงอาคารไว้ทั้งหลัง ความมั่นคงของฐานรากต่อการเคลื่อนไหวใด ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ สิ่งเหล่านี้ในขั้นตอนการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้าง เราสามารถควบคุมหรือต่อปัจจัย ที่นอกเหนือจากการควบคุมได้ แต่ในขั้นตอนของการก่อสร้างจริง เราไม่สามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้นได้ ลำดับแรกจะขอกล่าวถึง กรณีของฐานรากแผ่ ซึ่งเป็นกรณีของกำลังรับแรงแบกทานของดิน (qa) ไม่ผ่าน บ่อยครั้งที่งานก่อสร้างฐานแผ่ ปราศจากการเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน เพื่อทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของดิน ณ ตำแหน่งระดับความลึกของการวางฐานราก รวมถึงไม่คำนึงถึงระดับน้ำใต้ดิน จึงเป็นสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ฐานรากทรุดตัว ฐานรากเอียงเนื่องจากการทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานราก ซึ่งในการออกแบบฐานแผ่โดยทั่วไป วิศวกรโยธาหรือบุคลากรผู้ออกแบบมักตั้งค่าตัวเลขของกำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของดินขึ้นมาลอย ๆ ก่อน ถามว่า ตัวเลขดังกล่าวนั้น ได้มาจากไหน ผมตอบได้เลยว่า ได้มาจากการนั่งเทียนเขียน จากประสบการณ์ หรือ สถิติตัวเลขที่เคยผ่านหูผ่านตากันมาบ้างแล้ว หรือ จากผลงานหรือโครงการก่อน ๆ ที่เคยเก็บรวบรวมเอาไว้เพื่อเป็นกรณีศึกษาของโครงการก่อสร้างต่อ ๆ ไป หรือ ข้อมูลแวดล้อมจากสิ่งปลูกสร้างในระแวกใกล้เคียง ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีศึกษาจากประเด็นข่าว อาคารสูง 7 ชั้น ศูนย์การค้าเซียร์รังสิตได้มีการทรุดและเอียงลงมาได้นะครับ เห็นหรือไม่ครับว่า การเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและคำนวณหาค่ากำลังน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย ก็จะหมายถึงการมุ่งประเด็นไปที่ความปลอดภัยในระยะยาวของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ ในกรณีของการทรุดและเอียงของอาคาร อาจเนื่องมาจากสภาพดินที่ระดับการวางฐานแผ่อ่อนเกินไปจนถึงอ่อนมาก จึงมีค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของดินต่ำ ไม่เป็นไปตามที่วิศวกรโยธาผู้ออกแบบเลือกใช้ในการออกแบบ แม้แต่น้ำหนักของตัวฐานเอง ดินก็ยังรับไม่ได้ หรืออาจเป็นผลมาจากน้ำที่เกิดขึ้นในขณะก่อสร้าง ถึงอย่างไรก็ตาม ค่ากำลังน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยก็ยังเป็นพระเอกของเรื่องนี้อยู่ดี สำหรับการแก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์เบื้องต้น ถ้าทำได้นะครับ เราควรปรับปรุงสภาพดินใต้ฐานราก ออกแบบใหม่ด้วยการเพิ่มพื้นที่ฐานเพื่อลดหน่วยแรงแบกทานให้เบาลง ออกแบบใหม่โดยการเปลี่ยนจากฐานแผ่ไปเป็นฐานรากเสาเข็มแทน :-[

ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก : http://blog.gooshared.com/view/53