เมษายน 30, 2024, 02:38:22 am

ข่าว:

บริการเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน โทร. 0-2729-5031, 085-917-7163


กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า 1 ... 7 8 9 10
81
ท่อเหล็กกันดิน (Casing) ที่ใช้ในงานเจาะดิน  เป็นท่อเหล็กกันดินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในไม่น้อยกว่า ๔ นิ้ว  ปลายหัวท่อมีเกลียวแบบเหลี่ยม (Square Thread)  มีขนาดต่าง ๆ ดังนี้
1    ขนาดความยาว    ๑.๕   เมตร   จำนวน     ๒   ท่อน
2    ขนาดความยาว    ๑.๐   เมตร   จำนวน     ๒   ท่อน
3   ขนาดความยาว    ๐.๕   เมตร   จำนวน     ๑   ท่อน
82
ชุดก้านเจาะ (Drill  Rod) ที่ใช้ในงานเจาะดิน ทำจากท่อเหล็กไม่มีตะเข็บมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก ๑.๗๕  นิ้ว  และเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน ๑.๒๕ นิ้ว  ตามขนาดมาตรฐานพร้อมข้อต่อ (Coupling) ทำด้วยเหล็กมีเกลียวต่าง ๆ ได้มาตรฐานกำหนด  มีขนาดต่าง ๆ ดังนี้
1    ขนาดความยาว    ๓   เมตร   จำนวน   ๑๕   ท่อน
2    ขนาดความยาว    ๒   เมตร   จำนวน     ๒   ท่อน
3 ขนาดความยาว    ๑    เมตร   จำนวน     ๒   ท่อน
4   ขนาดความยาว ๐.๕   เมตร   จำนวน     ๑   ท่อน
83
ชุดเครื่องสูบน้ำที่ใช้ในงานเจาะดิน  จำนวน  ๑ ชุด มีรายละเอียด ดังนี้

1    เป็นเครื่องแบบเกลียว (Screw  Type  Pump)  ฉุดด้วยกำลังเครื่องยนต์ ขนาดไม่ต่ำกว่า ๘ แรงม้า  ติดตั้งอยู่บนแท่นฐานแบบ Skid  Base
2    มีสายดูดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เล็กกว่า ๒ นิ้ว  ยาวไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และสายส่งชนิดทนแรงดันสูง  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ นิ้ว ยาวไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร
3   มีข้อต่อและอุปกรณ์ครบสามารถนำไปใช้งานได้ทันที
84
ชุดเครื่องเจาะเก็บตัวอย่างดิน ที่ใช้ในการเจาะดิน  จำนวน ๑ ชุด  มีรายละเอียด  ดังนี้

1 เป็นชุดทดสอบแบบฐานสกี  มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๘๐ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า ๑๒๐ เซนติเมตร  ทำด้วยเหล็กกล้า  มีความมั่นคงแข็งแรง
2 ใช้เครื่องยนต์ดีเซล  ขนาดไม่ต่ำกว่า ๑๐ แรงม้าเป็นต้นกำลัง
3 ติดตั้งบนฐานแบบสกี  (Skid  Base)  มีเครื่องกว้านในตัว
4 มีเรือนโครง (Mast  Boom)  ขนาดความสูงไม่น้อยกว่า ๓ เมตร  สามารถถอดประกอบได้  จำนวน ๑ ชุด
5 รอก (Sheave)  เป็นรอกเหล็กขนาดร่องรอก ๑ นิ้ว  เส้นผ่าศูนย์กลาง ๖ นิ้ว พร้อมหูแขวนเพลาแกน   มีลูกปืนรองรับ  จำนวน ๑ ชุด
85
วันนี้ผมมีสถานที่น่าเที่ยวสุด ๆ มาฝากเพื่อน ๆ นะครับ แต่ผมยังไม่ได้ไปนะ เดี่ยวถ้ามีโอกาสได้ไปแล้ว จะถ่ายรูปโพสให้ดูกันอีกครั้งนะครับ จะว่าไปแล้วฮอกไกโดเป็นเกาะทางเหนือสุดของประเทศ ใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากเกาะฮอนชู ในหลายปีที่ผ่านมานี้ได้รับความนิยม จากนักท่องเที่ยวมากขึ้น  โดยเฉพาะเมืองหลักของเกาะฮอกไกโดคือซัปโปโร เป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมประวัติศาสตร์ความเป็นมาของฮอกไกโดในด้านต่างๆไว้ด้วยกัน ออนเซ็น และที่พลาดไม่ได้ คืออาหารการกิน เพราะเป็นเมืองที่เป็นเกาะ จึงมีแหล่งอาหารทะเลนานาชนิดที่ส่งต่อไปยังทั่วประเทศอีกด้วย เกาะฮอกไกโด (Hokkaido) ฮอกไกโดเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของญี่ปุ่น เป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศ ระหว่างเกาะฮอนชูและฮอกไกโดมีช่องแคบที่ถูกเชื่อมถึงกันโดยอุโมงค์ทางรถไฟชินคันเซ็น

สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ค่อนข้างหนาว แต่ฤดูร้่อนจะเย็นสบายเนื่องจากจะไม่ร้อนชื้นเหมือนกับภูมิภาคอื่นๆของญี่ปุ่น  เมืองหลวงของฮอกไกโดคือซัปโปโร รองมาคือฮาโกดาเตะ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ และมีเมืองอาซาฮีคาว่าอยู่ตรงกลางของเกาะ อุตสาหกรรมหลักของประเทศเป็นด้านการผลิตพลังงานแสงสว่าง เบียร์ ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในภาคการบริการ ซึ่งแม้ฮอกไกโดจะเป็นเมืองที่เน้นทางด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม แต่พื้นที่ถูกใช้ไปเพียงแค่ 1 ใน 4 ของเกาะเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงขนาดของผลผลิตต่อขนาดพื้นที่ ที่มีค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆในญี่ปุ่น



สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ "โอโดริปาร์ค" หรือ "โอโดริ โคเอ็น" ที่เป็นทั้งสวนและถนนที่ตัดผ่านย่านใจกลางเมืองจากตะวันออกไปตะวันตก
ซัปโปโรมีชื่อเสียงไปทั่วโลกจากงานโอลิมปิกฤดูหนาว หรือ Olympic Winter Gameที่จัดขึ้นที่นี่ในปี 1972 สิ่งที่ขึ้นชื่อของเมืองนี้ก็ได้แก่ ราเมน,เบียร์ และเทศกาลหิมะ




"โอตารุ" เมืองท่าแสนโรแมนติก
โอตารุ เมืองโรแมนติก ที่ควบคู่ไปกับความเก่าแก่และความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ชมคลองโอตารุ ที่มีความยาว 1,140 เมตร และเชื่อมต่อกับอ่าวโอตารุ ซึ่งในสมัยก่อนประมาณ ค.ศ. 1920 ที่ยุคอุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือเฟื่องฟู




"ทะเลสาบโทยะ" ทะเลสาบรูปวงกลม มีเรือข้ามระหว่างสี่เกาะและมีทิวทัศน์อันงดงามบนเขาโยะเทอิซัง
ทะเลสาบโทยะ อันสวยงามและโด่งดังที่สุดของฮอกไกโด ทะเลสาบแห่งนี้ เป็นหนึ่งในทะเลสาบชื่อดังของญี่ปุ่น เป็นทะเลสาบที่มีลักษณะกลม มีเส้นรอบวงประมาณ 40 กิโลเมตร ตรงใจกลางทะเลสาบมีเกาะกลางโผล่ขึ้นมา ทะเลสาบโทยะยังเคยเป็นสถานที่จัดประชุมสุดยอดผู้นำโลก G8 เมื่อปี 2551 ซึ่งผู้นำทั้ง 8 ประเทศ ชื่นชอบ และชิ่นชมทะเลสาบแห่งนี้เป็นอย่างมาก




" โนโบริเบ็ทสึ จิโคขุดานิ" หุบเขานรก
หุบเขานรกจิโกคุดานิ เป็นบ่อโคลนเดือดตามธรรมชาติ อุดมไปด้วยแร่กำมะถันซึ่งเกิดจากความร้อนใต้พิภพ หากนักท่องเที่ยวเดินตามทางเดินจะสามารถเห็นควัดที่เกิดจากความร้อนพวยพุ่งขึ้นมาจากใต้ดินตลอดเวลา หุบเขานรกจิโกคุดานิมีลักษณะเป็นเนินเขา มีทางเดินให้นักท่องเที่ยวได้ชมปรากฎการณ์ทางธรรมชาติตลอดข้างทาง หากเดินไปเรื่อยๆจะพบกับ "อุโอนุมะ" ซึ่งเป็นบ่อกำมะถันขนาดใหญ่ มีอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และยังมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมักแช่เท้าเพื่อเป็นการผ่อนคลายและเชื่อว่าช่วยในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับเท้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย







นี่ครับที่ผมอยากไปเที่ยวฮอกไกโดก็เพราะสิ่งนี้ครับ... Snow Festival (เทศกาลหิมะ)

เทศกาลหิมะซัปโปโร เป็นเทศกาลหิมะที่มีชื่อเสียงของเมืองซัปโปโร ซึ่งจัดขึ้นประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุก ๆ ปี บนพื้นที่จัดงาน 3 ส่วนคือ สวนสาธารณะโอโดริ ย่านการค้าซูซูกิโน และซัปโปโรคอมมูนิตีโดม ในงานมีการนำเสนอประติมากรรมที่สร้างจากหิมะและน้ำแข็งเป็นจำนวนนับร้อยชิ้น เทศกาลหิมะซัปโปโรเป็นเทศกาลหิมะที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และมีผู้เข้าชมงานจากทั่วโลกกว่า 2 ล้านคนทุกปี


ปล. ไปเที่ยวแล้ว ก็อย่าลืมไปกินอาหารทะเลสด ๆ กันด้วยนะครับ ;D  ;D  ;D

ที่มา : http://www.his-bkk.com/th/japan_tour/hokkaido_guide.php


   
86
 ??? ในการตัดสินใจ ต่อเติมบ้านนั้น หากเราจะใช้เสาเข็มสั้นเพราะมีข้อจำกัดของขนาดพื้นที่ที่เหลือ-ก็ต้องออกแบบให้ส่วนต่อเติม ตั้งอยู่บนเสาเข็มสั้นของตัวเองทั้งหมด อย่าไปเกาะหรืออาศัยฐานรากหรือไปเชื่อมกับโครงสร้างของบ้านเดิม มิฉะนั้นนานเข้าเมื่อการทรุดตัวมาก ๆ ก็จะดึงโครงสร้าง เช่น คาน พื้น ที่เชื่อมไว้ด้วยกัน แตกหัก เสียหายได้ หลายท่านอาจมีประสบการณ์เรื่องพื้นโรงรถทรุด พื้นดินทรุดรอบๆบ้าน เริ่มจากสิ่งที่เราเห็นง่าย เช่น รอยแยกของรั้วบ้าน รอยเลื่อนแยกของพื้นลานซักล้างกับผนังบ้าน และ พื้นรอบ ๆ บ้านแม้จะเทพื้นปูกระเบื้อง หรือ ลงปูตัวหนอน หรือ แผ่นทางเดินไว้ทรุดต่ำลงไป เรื่องแบบนี้ไม่มีอันตรายอะไรมากนัก นอกจากทำให้รู้สึกไม่ค่อยสะดวกในการใช้สอยหลายอย่าง หรืออาจเกิดโพรงใต้บ้าน มีสัตว์มีพิษเข้าไปอาศัย หรือ ที่อาศัยอยู่แล้วอาจมีร่องให้ขึ้นมาได้

โดยทั่วไปปลายเสาเข็มที่ตั้งอยู่ที่ระดับลึกกว่าจะยุบตัวน้อยกว่าเสาเข็มที่ตั้งอยู่ตื้นกว่า เวลาระดับน้ำใต้ดินลดลง ดินก็จะยุบตัว ซึ่งน้อยมากๆ ดังนั้น เสาเข็มสั้น จะทรุดตัวมากกว่าอาคารที่ตั้งบนเสาเข็มยาว ยิ่งนานหลาย ๆ ปี ความแตกต่างของการทรุดตัวมาก ๆ เข้าโครงสร้างก็จะแตกหัก ถ้าหากจะต่อเติมด้านข้างของอาคารเก่าเป็น 2 หรือ 3 ชั้น ควรพยายามใช้เสาเข็มเจาะ ลึกให้ใกล้เคียงกับความลึกของเสาเข็มของอาคารเดิมก็จะทำให้อัตราการทรุดตัวแตกต่างกันน้อย

แต่ถ้า ต่อเติมแค่ชั้นล่างชั้นเดียว หรือ 2 ชั้น แต่ชั้นบนเป็นระเบียง และต้องการประหยัด จะใช้เสาเข็มสั้นล่ะก็ ให้เข้าใจเลยว่า อาคารเก่ากับส่วนที่ต่อเติมจะทรุดตัวไม่เท่ากันและในไม่ช้าผนังส่วนต่อเติมที่ไปชนกับผนังอาคารเดิมย่อมจะต้องแยกแน่นอน

หากว่าท่านเริ่มเห็น"ส่วนที่ต่อเติมไว้" มีรอยร้าว หรือ รอยแยก เห็นการทรุด แตกร้าว ควรปรึกษาผู้รู้ ที่มีความเป็นมืออาชีพเพื่อวิเคราะห์สาเหตุให้ถูกต้อง สิ่งที่ท่านควรรู้ คือ การต่อเติมนั้นได้เชื่อมต่ออะไรไว้กับโครงสร้างของตัวบ้านเดิมหรือไม่.. เพราะอันนี้สำคัญมาก ถ้ามี ? สิ่งที่ควรทำอย่างเร่งด่วน คือ ตัดแยกส่วนต่อเติมออก ให้อิสระจากตัวบ้านเพื่อมิให้ส่วนต่อเติมที่ทรุด ดึงรั้งโครงสร้างของตัวบ้าน ซึ่งหากปล่อยไว้นาน อาจถึงขั้น อาคารวิบัติ

แต่การทรุดร้าว อาจไม่ได้มีอันตรายไปเสียทุกกรณี เช่นพื้นบางแห่งเกิดจากการทรุดตัวของแผ่นดินตามธรรมชาติ..แม้ว่าจะลงทุนทุบรื้อทิ้งแล้วสร้างขึ้นใหม่ก็ตาม ดังนั้นงานฐานราก งานโครงสร้างพื้น ที่มั่นคงแข็งแรงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น  :wanwan021:

ที่มา : http://www.pantown.com/group.php?display=content&id=16770&name=content247&area=4

87
 :D ดินดานในภาคการเกษตร : ชั้นดินดาน หรือ ดินดาน (pan) หมายถึง ชั้นดินที่อัดตัวกันแน่นทึบหรือชั้นที่มีสารเชื่อมอนุภาคของดินมาจับตัวกันแน่นทึบและแข็งจนเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไหลซึมของน้ำและอากาศ (คณะกรรมการจัดทำปทานุกรมปฐพีวิทยา, 2541) เมื่อกล่าวถึงชนิดของชั้นดินดาล ชั้นดินดาลก็จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ชั้นดานเปราะ (fragipan) ชั้นดานเปราะพบในดินทั่วๆไป เป็นชั้นดินดานที่มีความหนาแน่นสูงกว่าชั้นดินบนและล่าง และมีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำ  ชั้นดานแข็ง (duripan) เป็นชั้นดินที่มีการเชื่อมตัวกันแน่นทึบและแข็ง เกิดขึ้นโดยการยึดเกาะกันระหว่างอนุภาคของเม็ดดินกับสารเชื่อมต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน ดินดาลเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยเฉพาะการปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง การเขตกรรมที่ผิดวิธี เช่น การไถพรวนบ่อยครั้งและไม่ถูกวิธี การไถพรวนที่ระดับความลึกเดียวกันนานหลาย ๆ ปี ซึ่งทำให้เกิดผลระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช  ดินดานของประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมด 27,280,130 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.5 ของเนื้อที่ประเทศไทยโดย ภาคเหนือมีพื้นที่ 3,210,016 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.00 ของเนื้อที่ประเทศไทย ภาคกลาง 5,021,560 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.56 ของเนื้อที่ประเทศไทย ภาคตะวันออก 3,797,545 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.18 ของเนื้อที่ประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12,736,047 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.97 ของเนื้อที่ประเทศไทย และภาคใต้ 2,514,962 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.78 ของเนื้อที่ประเทศไทย ดินดานที่พบในที่ลุ่มมีความเหมาะสมในการทำนา การจัดการที่ดินโดยทั่วไป คือ การปรับระดับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ การปรับคันนาเพื่อการเก็บกักน้ำ และการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสดเป็นต้น ส่วนดินดานที่พบบนพื้นที่ดอน ถ้าเป็นชั้นดานแข็งที่มีแนวสัมผัสหินแข็งและเป็นดินตื้นควรใช้ประโยชน์เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ปลูกป่าทดแทนหรือปลูกพืชไร่ที่มีระบบรากสั้น ในกรณีที่พบชั้นดานอยู่ตื้นถ้าจะทำการปลูกไม้ผลก็ควรมีการปรับปรุงเฉพาะหลุม แต่ถ้าเป็นชั้นดานที่เกิดเนื่องจากการใช้ประโยชน์ การจัดการดินต้องมีการไถระเบิดดินดาน การเพิ่มอินทรียวัตถุ การเตรียมดินอย่างถูกวิธี เช่น ไม่ไถพรวนบ่อยครั้ง หรือไม่ไถพรวนขณะที่ดินเปียกเกินไปเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามควรมีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุควบคู่ไปกับการจัดการดินเพื่อให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น ลดความหนาแน่นรวมของดิน เพื่อให้รากพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ดังนั้นแนวทางในการจัดการดินดานที่เหมาะสมเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีความจำเป็นเพื่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถเพิ่มผลผลิตพืชให้กับเกษตรกรได้อย่างยั่งยืนต่อไป  :wanwan021:

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก : http://irw101.ldd.go.th/irw101.ldd/result/result_hardpan.html 
88
http://www.youtube.com/v/HnDx9J6hGf8?version=3&hl=en_US&rel=0"


นี่เป็นการเจาะดินเพื่อตกปลาตัวใหญ่ มันใหญ่มากจริง ๆ นะครับ ดูครับ ต้องดูกันครับ จากการได้ปลาจากพื้นดิน  ;D  ;D
89
 ;D เมื่อกล่าวถึงหัวขุดเจาะอุโมงค์ประเภทสมดุลย์แรงดันดิน (Earth Pressure Balance Shield) (E.P.B.) ซึ่งเป็นหัวขุดเจาะที่เหมาะสำหรับการขุดเจาะในทุกสภาพชั้นดิน ซึ่งลักษณะของหัวขุดแบบ Earth Pressure Balance เป็นหัวขุดแบบปิดหน้า เพื่อกันการพังทลายของหน้าดิน การขนถ่ายดินอาศัยดินที่อยู่ใน Soil Chamber ถูกดูดผ่าน Screw Conveyor เป็นตัวขนถ่ายดินผ่านระบบสายพานอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งทางออกของ Screw Con veyor มีประตูปิด-เปิด ด้วยระบบไฮดรอลิกอีกชั้นหนึ่ง ความเร็วของการขนถ่ายดินด้วยระบบ Screw Conveyor ขึ้นอยู่กับแรงดันดินใน Soil Chamber กล่าวคือ ถ้าสภาพดินดีจะไม่มีแรงดันดิน ถ้าสภาพดินเหลวจะทะลักเข้ามาใน Soil Chamber ทำให้เกิดแรงดัน ซึ่งแรงดันนี้จะไปกำหนดความเร็วรอบของ Screw-Conveyor ให้ช้าลง เพื่อต้านดินให้ทะลักเข้ามาน้อยลงหรือปิด Slide Gate ถ้าสภาพดินเหลวและสามารถทะลักผ่าน screw conveyor ได้

1. การควบคุมหัวขุดเจาะอุโมงค์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการเคลื่อนตัวของหัวขุดประกอบด้วย Shield Jack เป็นแม่แรงขนาดตั้งแต่ 80 ตัน จำนวนขึ้นอยู่กับขนาดของหัวขุดติดตั้งด้านหลังหัวขุด เพื่อใช้ในการถีบตัวไปข้างหน้า โดยอาศัยเปลือกอุโมงค์เป็นตัวรับแรงการบังคับแนวซ้าย-ขวา หรือ ขึ้นบนและลงข้างล่าง ให้พิจารณาเลือกตำแหน่งของ Shield Jack เช่น ต้องการให้หัวขุดเลี้ยวซ้ายให้เลือก Shield Jack ในตำแหน่งขวามือโดยยึดถือการหันหน้าเข้าหัวขุด Copy cutter คือ ฟันสามารถยึดตัวออกทางด้านรัศมี เพื่อเพิ่มการกัดหน้าดินให้เส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยให้หัวขุดสามารถเลี้ยวตัวได้มากขึ้น Articulated Steering Jack คือ ส่วนของหัวขุดที่สามารถหักงอเพื่อลดรัศมีความโค้งของอุโมงค์ ระบบควบคุมหัวขุดเจาะอุโมงค์ (TBM Driving control System) ใช้อุปกรณ์ Gyro-Compass & Computerize Level Control System

2. เทคนิคการคำนวณออกแบบความดันที่หัวเจาะ เพื่อต้านทานแรงดันดินในขณะที่ขุดเจาะ ซึ่งในการคำนวณโครงสร้างของหัวขุดจะต้องพิจารณาแรงดันดิน แรงต้านทานขณะขุดเจาะ ความหนาของ skin plate ความแข็งแรงของ ring girder และความสามารถในการดันและบิดของ cutter head เป็นต้น

3. วิธีเลือกตำแหน่งที่จะนำเครื่องมือขุดเจาะอุโมงค์ลงไป และนำดินที่ขุดเจาะออกไปทิ้ง (Construction shaft) จะต้องคำนึงถึงขนาดพื้นที่รวมทั้งทางเข้าออก เพื่อขนถ่ายวัสดุและอุปกรณ์ในการก่อสร้างที่เพียงพอและสะดวก ระยะทางระหว่าง Construction Shaft และ Reception Shaft จะต้องสัมพันธ์กับประสิทธิภาพของหัวขุดและระยะเวลาการก่อสร้าง

4. เทคนิคการวางแผนและลำดับขั้นตอนการนำดินที่ขุดเจาะอุโมงค์ไปทิ้ง โดยส่งผลกระทบต่อการจราจรน้อยที่สุด การจราจรในกรุงเทพมีผลต่อการก่อสร้างอุโมงค์มาก ไม่เพียงแต่การขนถ่ายดินเพียงอย่างเดียว การขนถ่ายชิ้นส่วนอุโมงค์ก็มีผลกระทบมาก การวางแผนจะต้องพิจารณาส่วนประกอบดังนี้

ขนาดของพื้นที่ทำงานต้องมีขนาดที่เหมาะสมและการจัดการที่ดี เช่น พื้นที่ที่เก็บดิน ต้องเพียงพอต่อการขุดเจาะอุโมงค์ในตอนกลางวันและจะต้องมีการจัดการขนย้ายดินให้หมดในเวลากลางคืน ซึ่งจะไม่กระทบกับการจราจร อีกทั้งการขนย้ายชิ้นส่วนอุโมงค์จากโรงงานผลิต จะต้องขนย้ายในเวลากลางคืนและไม่ส่งผลกระทบกับการขนย้ายดิน และในเรื่องของระยะทางจากสถานที่ทิ้งดินและหน่วยงาน ต้องสัมพันธ์กับปริมาณรถในการขนถ่าย จะต้องมีที่ทิ้งดินสำรองเพื่อป้องกันผลกระทบต่อการขุดเจาะอุโมงค์  ???

ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.mrta.co.th/frame/epb.htm

90
บันไดหนีไฟที่ลงมาจากตึก 10 ชั้นที่ว่าแน่ เจอบันไดสูงตะหง่านเสียดฟ้า ซึ่งถ้าคุณได้ขึ้นไป แบบว่า ทั้งสูง ทั้งหนาวกันเลยทีเดียว ตั้งอยู่ ณ บริเวณ เทือกเขาไท่หังซาน มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน HIGHLIGHT OR OUTSTANDING ของบันไดวนแห่งนี้ อยู่ที่ความสูงจากพื้นดินกว่า 9,144 เซนติเมตร มันสูงมากจริง ๆ นะครับ ผมว่า เหมาะกับผู้อ่าน หรือ นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบความเสียว บรรยากาศในแบบฉบับของคนชอบความสูงเป็นชีวิตจิตใจ ขึ้นไปเลยครับ เทือกเขาไท่หังซาน   
คุณก็สามารถปืนขึ้นไปได้อย่างสบาย ๆ ปลอดภัยไร้กังวลแน่นอนครับ แต่ถ้ามีอายุมากกว่า 60 ปี และ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ แต่ไม่ใช่หัวใจขาดรักนะครับ อิ อิ  ;D เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง จะไม่ได้รับการอนุญาตให้ขึ้นไป ไปชมภาพสวย ๆ ด้านล่างกันดีกว่า







ที่มา : http://thaiengineering.com/บทความที่น่าสนใจในแวดวงวิศวกรรม/1482-จีนสร้างบันไดวนสูงเท่าตึก-30-ชั้น.html
หน้า 1 ... 7 8 9 10