เมษายน 30, 2024, 03:18:22 am

ข่าว:

บริการเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน โทร. 0-2729-5031, 085-917-7163


กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า 1 ... 6 7 8 9 10
71
 :D กุญแจสำคัญที่จะทำให้ประสบคสามสำเร็จในธุรกิจเจาะสำรวจดิน คือ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ความซื่อสัตย์ ความมีประสิทธิภาพในการทำงาน ความเหมาะสมในเรื่องของราคา และที่ขาดไม่ได้เลยคือ ความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งจะเห็นได้จากการกลับมาใช้บริการเจาะสำรวจดินซ้ำอีก การแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยด้วยเพื่อสร้างความหน้าเชื่อถือด้วยครับ ดังคำกล่าวที่ว่า "แต่งตัวดีมีชัยไปกว่าครึ่ง" :wanwan021:
72
 ??? การเจาะดิน เป็นการดำเนินงานเพื่อศึกษาคุณสมบัติของดินแต่ละชั้นดินของดินในแต่ละพื้นที่ ก่อนที่จะออกแบบฐานรากของอาคารสูง เพื่อประเมินความสามารถในการรับน้ำหนักของดิน และเลือกใช้ฐานรากที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของดินนั้น ๆ ซึ่งดินแต่ละชั้นมีความแตกต่างกันออกไป บางชั้นก็มีทรายผสมอยู่มาก น้อย แตกต่างกันใหม่ โดยเฉพาะดินถ้าเป็นดินที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็เจาะไม่ลึกเท่าไร ก็พบกรวดผสมอยู่มากพอสมควร ท่านผู้อ่านคงยังไม่เห็นความสำคัญของการเจาะดินเท่าๆไรนัก โครงสร้างชั้นดินที่ดีต้องมีความแข็งแรงเพียงที่จะรับน้ำหนักโครงสร้างฐานรากแข็งแรงไปด้วย ยึดโครงสร้างของอาคารไว้คงอยู่ท่านตลอดไป  :wanwan023:
73
 ;) ผลการเจาะดิน หรือ การเจาะสำรวจดิน ของแต่ละที่ ทำเล ที่ตั้งของโครงการ จากการจำแนกแยกประเภทชั้นดินที่สามารถเห็นได้จาก Boring Log เป็นที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่า ชั้นดินของแต่ละความลึกมีความแตกต่างกันมาก ถ้าไม่ใช่ชั้นดินออ่อนในกรุงเทพมหานคร ต้องมีการตอก BLOW เพื่อเก็บตัวอย่างดินกันเกือบทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นแรกถึงชั้นสุดท้าย ค่าที่ออกก็จะเป็น SS เก็บด้วยกระบอกบาง แต่ถ้าเป็นชั้นดินออ่อนในเขตกรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียง ก็ใช้วิธีการกดลงในช่วงแรก ค่าที่ได้ก็จะเป็น ST เก็บด้วยกระบอกบาง  :wanwan022:
74
รศ.ดร.วรากร เจ้าของรางวัลคนแรกของรางวัลศาสตราจารย์ ดร.ชัย มุกตพันธุ์ ได้อธิบายถึง "วิศวกรรมปฐพี" หมายถึง สาขาย่อยสาขาหนึ่งของวิศวกรรมโยธา ซึ่งเน้นเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างที่วางอยู่บนดิน หรือที่เรียกว่า "ฐานราก" และสิ่งก่อสร้างที่ใช้ดินเป็นวัสดุก่อสร้าง เช่น เขื่อน โดยกว่า 80-90% ของเขื่อนในประเทศไทยเป็นเขื่อนเพื่อการชลประทาน ในส่วนของประโยชน์ของ วิศวกรรมปฐพี ก็จะเป็นประโยชน์ต่องานโครงการก่อสร้างหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น อาคาร โรงงาน สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน อุโมงค์ รวมถึงการวางฐานรากให้กับสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิที่จะขาดการทำงานของวิศวกรปฐพีไปไม่ได้  :D  :D

ที่มา : http://www.dmc.tv/print/news/2007-02-23-2.html
75
 :wanwan021: การออกแบบฐานรากเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้างในงานวิศวกรรมฐานรากทั่วโลกนั้นสามารถที่จะดำเนินการโดยการใช้ฐานรากแผ่หรือฐานรากเสาเข็ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดินที่ตั้งโครงสร้างนั้น สำหรับการออกแบบฐานรากและการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ได้ดำเนินงานออกแบบตามหลักมาตรฐานทางวิศวกรรมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีการควบคุมดูแลและตรวจสอบโดยบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลกอย่างละเอียดในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน โดยก่อนดำเนินการก่อสร้างโครงการของ ปตท.จะต้องมีการสำรวจและวิเคราะห์ด้านวิศวกรรมปฐพีทั้งในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้นและขั้นตอนออกแบบรายละเอียดของโครงการ ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทและผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมฐานรากและปฐพีกลศาสตร์โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นศาสตร์สาขาทางวิศวกรรมที่ลึกและเฉพาะด้านกว่างานวิศวกรรมโยธาโดยทั่วไป ภายใต้การควบคุมดูแลโดยบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจากการสำรวจพบว่าดินส่วนใหญ่เป็นดินคุณภาพดีโดยเป็นดินแน่นถึงแน่นมากและดินแข็งถึงแข็งมาก ทั้งนี้ยังได้มีการปรับปรุงคุณภาพดินและบดอัดอีกตามหลักทางด้านวิศวกรรมฐานรากเพื่อความปลอดภัยสูงสุด และได้ทำการทดสอบกำลังรับน้ำหนักของดินตามขั้นตอนอีกขั้นหนึ่ง เพื่อใช้ในการออกแบบฐานรากเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้างต่อไป  ???
76
 :wanwan021: จากกรณีตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผ่าน ได้มีการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของตัวเขื่อน ซึ่งเขื่อนดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มีการเจาะดินลงลึกถึง 119 เมตร 10 จุด จากสาเหตุที่ว่า เขื่อนสิริกิติ์มีแกนดินเหนียวหินทิ้ง (แกนตัวเขื่อนเป็นดินเหนียวบดอัดและใช้หินถมทับหน้า) มีอายุการก่อสร้างมาแล้วถึง 36 ปีแล้ว จึงได้ทำการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของตัวเขื่อนทุกๆ 3-5 ปี โดยเจาะลงไปถึงฐานรากของตัวเขื่อนเพื่อวัดชั้นดินที่สร้างเป็นแกนกลางของเขื่อนฯ พบว่าเขื่อนสิริกิติ์ยังแข็งแรงเป็นปกติดี ภัยธรรมชาติจากการเกิดแผ่นดินไหว 3.4 ริกเตอร์ ที่จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 นั้นไม่มีผลกระทบต่อเขื่อนสิริกิติ์แต่อย่างใด  เขื่อนสิริกิติ์เป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าให้แก่ประเทศ เป็นเขื่อนแกนดินเหนียวสูง 113.60 เมตร ยาว 810 เมตร กว้าง 12 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุด 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 500,000 กิโลวัตต์ เขื่อนสิริกิติ์เป็นเขื่อนที่สร้างประโยชน์ในด้านการชลประทาน การบรรเทาอุทกภัย การผลิตกระแสไฟฟ้า การประมง การคมนาคมทางน้ำ การท่องเที่ยว  ;D  ;D

ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000027200
77
จะว่าไปแล้ว เราก็ไม่ได้พูดถึง เรื่องการเจาะสำรวจดิน หรือ การเจาะดินกันนานแล้วนะครับ ณ เวลานี้ ผมขอพูดถึงเรื่อง การออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลหลุมเจาะสำรวจทางธรณีวิศวกรรม นี่เป็นตัวอย่าง บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ ของ คุณ ณรงค์รักษ์ รัตนานันท์ วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนยุรี กรุงเทพมหานคร การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลหลุมเจาะสำรวจทางธรณีวิศวกรรมในครั้งนี้ จัดได้ว่า เป็นการสร้างข้อมูลเชิงอรรถในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งสามารถนำไปเชื่อมโยงกับข้อมูล เชิงพื้นที่ได้ในกรณีที่มีข้อมูลส่วนนั้นมีพิกัดภูมิศาสตร์ที่แน่นอนของที่ตั้งหลุมเจาะสำรวจ การออกแบบในครั้งนี้ได้ใช้ข้อมูลตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรมชลประทาน และกรมทางหลวง สามารถแบ่งแยกข้อมูลได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ BOREHOLE GEOGRAPHY, BOREHOLE LOG และ SAMPLE PROPERTIES โดยในแต่ละส่วนก็ยังมี ตารางย่อยลงไปอีกสำหรับการจัดเก็บข้อมูลจริง รวมทั้งตารางพจนานุกรมด้วย ผลที่ได้จากการออกแบบคือระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงอรรถหลุมเจาะสำรวจทางธรณีวิศวกรรม รวมทั้งตัวอย่างข้อมูล โดยในการออกแบบได้จัดเตรียมให้ฐานข้อมูลสามารถจัดเก็บข้อมูลจากหลุมเจาะ สำรวจทางธรณีวิศวกรรมได้ทุกชนิด ทั้งที่เป็นการเจาะสำรวจดินและหิน โครงสร้างฐานข้อมูลได้รับ การออกแบบให้สามารถทำการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการจากฐานได้โดยรวดเร็วและแม่นยำ สำหรับ รูปแบบการนำเข้าได้จัดทำให้สอกคล้องกับการจัดเก็บข้อมูลที่สะดวกและง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป นอกจากนี้ ในการศึกษาครั้งนี้ยังได้จัดเตรียมตัวอย่างรูปแบบการสอบถามซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูล จากฐานข้อมูลที่มีอยู่เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปตามลักษณะงานหรือความต้องการของผู้ใช้  :wanwan017:

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://dcms.thailis.or.th/tdc//browse.php?option=show&browse_type=subject&subjid=55198&doc_type=0&display=list_subject&q=glucose

78
ชุดอุปกรณ์การเจาะดินอื่นๆ ที่ใช้ในงานเจาะสำรวจดิน (ต่อ)

1 หัวตอกท่อเหล็กกันดิน  (Knock Block) มีเกลียวต่อกับท่อเหล็กกันดิน  และเกลียวสำหรับต่อก้านเจาะดินเพื่อตอกท่อเหล็กกันดิน  จำนวน  ๑  ชุด

2 เครื่องดันตัวอย่างดินแบบนอน (Horizontal  Sample  Ejector)  สามารถดันตัวอย่างดินออกกระบอกเก็บตัวอย่างดิน  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  ๓ นิ้ว  และดันตัวอย่างดินขนาดยาวได้ไม่น้อยกว่า ๒๕ นิ้ว  จำนวน  ๑  ชุด  แบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า

3 กระบอกเก็บตัวอย่างแบบบาง  (Sample  Tube)  ขนาดของกระบอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ นิ้ว  ยาว  ๗๕  เซนติเมตร  สามารถเก็บตัวอย่างได้ยาวไม่น้อยกว่า  ๖๐ เซนติเมตร  จำนวน  ๔๐ กระบอก พร้อมข้อต่อเข้ากับก้านเจาะ  จำนวน  ๒  อัน

4 ชุดทดสอบความแข็งของดิน  (Pocket  Penetrometer)  จำนวน  ๑  อัน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
   4.1 มีช่วงในการวัดค่าความแข็งแรงได้  ๐.๒๕ ถึง ๔.๕  กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
   4.2 มีแท่งทดสอบ (Load  piston)  ทำจาก Stainless  Steel    ตัวเครื่องทำ  เหล็กกล้าชุบโครเมียมกันสนิมอย่างดี
   4.3 มีซองบรรจุแบบคาดเข็มขัดได้  (Belt  Loop  Style)  สะดวกในการพกพา

5 เครื่องทดสอบแรงเฉือนของดินแบบพกพา  (Torvane  Shear  Device)  จำนวน ๑ ชุด มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
   5.1 ใช้ทดสอบหาค่าแรงเฉือนของดินในห้องทดสอบ  หรือในภาคสนามทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบาไม่เป็นสนิม
   5.2 สเกลหมุนอ่านค่า (Dial  Scale)  ๑  กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร  อ่านละเอียด  ๐.๐๕  กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรต่อขีด
   5.3 ใบรับรองผลสอบเทียบ  (Calibration  Test)

6 สมุดเทียบสีดิน  สำหรับการจำแนกสีดินแต่ละประเภทตามมาตรฐาน
79
ชุดอุปกรณ์การเจาะอื่นๆ ที่ใช้ในงานเจาะดิน ประกอบด้วย

1    หัวแขวนหมุน (Hoisting  Swivel) ทำจากเหล็กมีหูแขวน  และเกลียวต่อก้านเจาะ AW  ภายในมีลูกปืนรับแรงแบบ Thrust  Bearing  จำนวน ๑ ชุด
2   ปลอกนำตอกดิน  (Casing  Drive  Shoe)  เป็นปลอกนำตอกดิน  มีเกลียวเข้ากับท่อเหล็กกันดิน ปลายล่างมีคมหนาพอสมควรทำจากท่อเหล็กชุบแข็งพิเศษ  จำนวน ๑ ชุด
3    หัวหมุนน้ำ (Water  Swivel)  เป็นหัวหมุนน้ำแบบ  Heavy  Duty  มีลูกปืนรับแรง  (Thrust  Bearing)  และยางกันรั่ว   (Seal)  พร้อมหูหิ้วและเกลียวต่อก้านเจาะ  AW  จำนวน  ๑  ชุด
4    หัวกระทุ้งดินแบบสามแฉก (Tri  Chopping  Bit)  สำหรับกระทุ้งดิน มีเกลียวต่อเข้ากับก้านเจาะ  AW  และมีช่องฉีดน้ำ  จำนวน  ๑  ชุด
5ข้อต่อที (Wash  Tee)  ข้อต่อสำหรับต่อเข้ากับปากท่อเหล็กกันดิน  เพื่อระบายน้ำที่ไหลขึ้นจากหลุมเจาะลงถังกักน้ำ  (Slush  Pit)  จำนวน  ๑  ชุด
6   ถังเก็บกักน้ำ  (Slush  Pit)  ทำด้วยเหล็กเคลือบสีกันสนิม  มีขนาดความกว้างประมาณ ๘๐ เซนติเมตร  ยาวประมาณ ๑๕๐ เซนติเมตร  สูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร  บริเวณกลางถังมี Buffle กันตะกอนที่ไหลออกมาจากการเจาะล้าง  จำนวน  ๑  ชุด
7   เชือกมะนิลาฟอกอย่างดี  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้ว  ยาวไม่น้อยกว่า ๑๔ เมตร  จำนวน  ๒  เส้น
8   สว่านสำหรับเปิดหน้าดิน  (Screw  Type  Auger)  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  ๓  นิ้ว  ยาวไม่น้อยกว่า  ๑  เมตร  จำนวน  ๑  ชุด
9   ประแจคอม้า  (Straight  Pipe  Wrench)  ขนาด  ๑๘  นิ้ว  สำหรับจัดยืดก้านเจาะ  จำนวน  ๒  อัน
10  ประแจคอม้า  (Straight  Pipe  Wrench)  ขนาด  ๒๔  นิ้ว  สำหรับจับยืดก้าน  จำนวน  ๒  อัน
11    ประแจโซ่จับท่อ (Chain  Tongs)  สำหรับจับยึดปลอกกันดิน  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า  ๓ นิ้ว  ถึง ๕ นิ้ว  จำนวน  ๒ อัน
80
ชุดทดสอบการตอกมาตรฐานเพื่อหาค่า Standard  Penetration  Test (SPT) ในงานเจาะดิน จำนวน ๑ ชุด ประกอบด้วย
1    ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานแบบนิรภัย (Safety  Drive  weight)  น้ำหนัก ๑๔๐ ปอนด์  ตามมาตรฐาน ASTM  D -  ๑๕๘๖  จำนวน  ๑  ชุด
2    กระบอกเก็บตัวอย่างดินแบบผ่า (Split  Tube  Sampler)  เป็นกระบอกผ่าจำนวน  ๑ ชุด
3   อุปกรณ์ดักตัวอย่างทราย (Basket  Retainers)  ทำด้วยโลหะชนิดผ่านการให้ความร้อน (Heat  treated)  มีลักษณะเป็นพ่วงแฉกสามารถยืดหยุ่นได้ จำนวน  ๑  ชุด
หน้า 1 ... 6 7 8 9 10