เมษายน 28, 2024, 01:59:55 pm

ข่าว:

บริการเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน โทร. 0-2729-5031, 085-917-7163


กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า 1 ... 3 4 5 6 7 ... 10
41
 :P Soil boring test enclose a system to discover a small-diameter hole in soil surface and restore samples of the materials. ASTM D1586, Standard Method for Process for Penetration. Soil test and Split-Barrel Sampling of Soils, assign the method used for manufacture of boring and conducting the penetration test to yield the value N. In soil, Soil boring test development the boring using a hollow stem auger (HSA) or flush joint casing (FJC) with the same length variation, as drilling rod is installed along some loose sand formations to prevent the borehole collapse while the other denser sand formations, bentonite stabilizing is applied instead.  :wanwan023:
42
 :wanwan002: จะว่าไปแล้ว ถ้าพูดถึง ลักษณะทางธรณีของ จังหวัดกาญจนบุรี จะมีความซับซ้อนค่อนข้างมาก ซึ่งจะทำให้ท่านผู้อ่านถึงกับ AMAZING! ไปเลยก็ว่าได้ กับความแปลกและความซับซ้อนของหิน ตั้งแต่หินที่เป็นยุคแรกเริ่ม หรือ ยุคเก่า จนกระทั่งถึงเห็นในยุคใหม่ และตะกอนยุคควอเทอร์นารี โดยพื้นที่ภูเขาด้านเหนือ กับ ด้านตะวันตกเฉียงเหนือมีหินแกรนิตเป็นหินฐานที่สำคัญ เป็นบริเวณที่มีการทำเหมืองแร่ดีบุก ขณะที่หินตะกอนที่พบส่วนใหญ่เป็นหินปูนสีเทาอ่อนถึงเทาเข้มทั้งที่เป็นชั้นบาง ๆ จึงถึงชั้นหนาของยุคออร์โดวิเซียนกลุ่มหินทุ่งสง และยุคเพอร์เมียนกลุ่มหินราชบุรี ขณะที่หินตะกอนชนิดอื่น จะเป็นหินยุคไซลูเรียนถึงดีโวเนียนของกลุ่มหินทองผาภูมิ หินยุคคาร์บอนิเฟอรัสถึงเพอร์เมียนของกลุ่มหินแก่งกระจาน และหินยุคจูแรสซิกของกลุ่มหินอุ้มผาง หินแปรที่พบเป็นหินแปรยุคก่อน แคมเบรียนพวกแอมพิโบไลต์ เช่น แอมพิโบไลต์ชีส ยุคแคมเบรียนของกลุ่มหินตะรุเตา พวกหินควอร์ตไซด์ ยุคไซลูเรียนถึงดีโวเนียน เป็นหินฟิลไลต์เนื้อต่าง ๆ พบหินยุคเทอร์เชียรี่กระจายอยู่ ในแอ่งทองผาภูมิ ตามแอ่งหุบเขา ที่ราบ ที่ราบลุ่มน้ำ พบตะกอนยุคควอเทอร์นารี พืชพรรณธรรมชาติที่พบใน จังหวัดกาญจนบุรี ก็จะเป็นพวก กระบาก ขมิ้นดำ แดง ตะคร่ำ ตะแบกใหญ่ ประดู่ มะค่าโมง  :-[

(กวี วรกวิน, 2546, หน้า 16)
43
 :D เราต้องการผู้ร่วมงาน ตำแหน่ง วิศวกรโยธา ด่วน ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ก็ทำได้นะครับ มาร่วมงานกับพวกเราชาว เดนิช ซอยล์ เอ็นจิเนียริ่ง เราทำงานกันแบบพี่ แบบน้องครับ ทำงานกับสบายใจได้ ไม่ต้องเก่ง ก็ทำได้นะครับ ขอบอก  ;D
44
 ??? อุปกรณ์หลัก ๆ ของเครื่องเจาะดิน Motorized drilling rig ก็จะประกอบด้วย ก้านเจาะขนาด AW เส้นผ่าศูนย์กลางวงใน จะมีขนาด 1.185 นิ้ว ส่วนวงนอกจะมีขนาด 1.875 นิ้ว เครื่องคว้าน ปั้มน้ำ ความยาวของก้านเจาะจะมีขนาดแตกต่างกันออกไปดังนี้ 0.5, 1.0, 1.5 และ 3 เมตร Flush Joint Casing ซึ่งเมื่อกล่าวถึง Casing ก็จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 นิ้ว ในกรณีที่พบ ชั้นทรายหลวม ก็ต้องมีการฝัง Casing ให้ลึกลงกว่าชั้นทรายหลวม เพื่อป้องกันการพังทะลายของชั้นทรายลงไปในหลุมเจาะ โดยการใส่ Bentonite เข้าไปแทนที่ในระดับที่เหมาะสม กำหนดให้คือ การเก็บด้วยกระบอกผ่า Split Spoon เส้นผ่าศูนย์กลางวงนอก 2 นิ้ว  ซึ่งจะมีการเก็บตัวอย่างดินทุกระยะความลึก 0.5 ถึง 1.5 เมตร  :wanwan008:
45
 ;) พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดชลบุรีนั้น จะเป็นพื้นที่ภูเขา ลูกเนินและที่ดอนส่วนใหญ่รองรับด้วยหิน ฐานที่เป็นหินอัคนีแทรกซอน (Intrusive Igneous Rock) ชนิดหินแกรนิต บางพื้นที่มีลักษณะโผล่ให้เห็น เช่น บริเวณกลุ่มเขาเขียว-เขาชมพู่ ทิวเขาขุนอินลูกเนินเล็ก ๆ บางพื้นที่ถูกปิดทับด้วยหินตะกอนและหินแปร ที่ลาดเชิงเขา ที่ดอนด้านตะวันออกปกคลุมด้วยหินตะกอนยุคคาร์บอนิเฟอรัสไทรแอสชิก จูแรสชิก และครีเทเชียส บริเวณทิวเขาเจ้า-อ่างกระเด็น และที่ลาดเชิงเขาโดยรอบพบหินแปรชนิดหินไนส์ หินชีสต์ของยุคก่อนแคมเบรียน และหินแปรชนิดหินฟิลไลต์เนื้อต่าง ๆ ของยุคไซลูเรียนถึงดีโวเนียน ตามที่ราบดอน ราบลุ่ม และชายฝั่งจะถูกทับถมด้วยตะกอนยุคควอเทอร์นารี ส่วของพืชพรรณธรรมชาติของจังหวัดชลบุรีนั้น ก็จะเป็น แดง ตะแบกใหญ่ กระท้อน ตะเคียนทอง หว้า  :wanwan021:

(กวี วรกวิน, 2546, หน้า 28)
46
วันนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่อง ลักษณะทางธรณีวิทยาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งหมดเป็นที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำใหม่ที่อยู่ในเขตตะกอนธรณีทับถมอิทธิพลน้ำกร่อย เฉกเช่นจังหวัดในที่ราบภาคกลางตอนล่างส่วนล่าง โดยเป็นการสะสมตัวของตะกอนน้ำกร่อย และตะกอนน้ำเค็มอยู่ด้านล่าง และด้านบนจะปิดทับด้วยตะกอน น้ำจืดที่แม่น้ำสายใหญ่ 4 สาย คือ แม่น้ำแม่กลอง ท่าจีน เจ้าพระยา และบางปะกง ช่วยกันประสานระบบพัดพามาสะสมในยุคควอเทอร์นารี ประกอบด้วย "ชั้นทรายสลับกับชั้นดินเหนียวอยู่หลายชั้น" โดยมีดรรชนีบางตัวที่บ่งชี้ถึงลักษณะการสะสมของตะกอนน้ำเค็ม และน้ำกร่อยในเบื้องล่าง เช่า เปลือกหอยทะเล แร่ยิปซัม แร่ไพไรต์ สารจาโรไซต์ เป็นต้น

(กวี วรกวิน, 2546, หน้า 14)

47
 :D สำหรับโปรแกรมงานเจาะสำรวจดินภาคสนามนั้น จะประกอบด้วย งานเจาะดิน เก็บตัวอย่างดิน งานทดสอบดิน ศึกษาถึงต้อนกำเนิดของดิน ซึ่งในที่นี้เราจะขอกล่าวถึง การศึกษาสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่ ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยธรรมชาติ หรือ ที่ดิน ณ บริเวณนั้น ได้มีการปรับพื้นที่ โดยการถมที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงเป็นเหตุให้เราเจาะดินลงไป เพื่อศึกษาสภาพชั้นดินของแต่ละช่วงความลึก ว่าชั้นดินแต่ละชั้น เป็นดินชนิดไหน สีอะไร หลังจากนั้นเราก็เก็บตัวดินไปทดสอบในห้องปฏิบัติการเป็นอันดับต่อไป

สำหรับงานเจาะดินในภาคสนาม เราก็จะมีการนำเครื่องเจาะดินประเภท Motorized drilling rig เป็นลักษณะของเครื่องเจาะดินประเภทสามขา และ เครื่อง Rotary drilling rig โดยปกติ ถ้าเป็นสภาพชั้นดินโดยทั่ว ๆ ไป เราก็ใช้ เครื่อง Motorized drilling rig เจาะได้ความลึกสูงสุดอยู่ที่ 35 เมตร แต่ถ้าเป็นของชั้นดินที่มีความแข็งมาก ๆ ถ้าใช้ เครื่อง Motorized drilling rig ก็จะเป็นการสร้างความลำบากให้กับการเจาะ ก็จะสนับสนุนให้นำมาใช้เครื่อง Rotary drilling rig ถ้าพูดถึงเรื่องกำลังการเจาะแล้ว ก็จะเจาะได้มากกว่า 35 เมตร ด้วยสมรรถนะของเครื่องเจาะดินอันทรงพลังชนิดนี้ ยังสามารถเจาะทะลุทะลวงชั้นหินผุ และชั้นหินได้  :-\   :wanwan012:
48
 ;D  ;D

ตุ้ม (WEIGHT HAMMER)



จ๊อปวอท์ธ (CHOPPING BIT)



ประแจเบอร์ 32 (WRENCH NUMBER 32)



หัวน้ำ (WATER SWIVEL)



ขอเกี่ยวตัว U (ANCHOR SHACKLES)



กระบอกผ่า (SPLIT SPOON)



กระบอกบาง (THIN WALL TUBE)




เพลตน้ำเวียน (WATER HOSE)



กล่องเครื่องมือ (TOOL BOX)




เครื่องปั่นไฟ (GENERATOR)



เครื่องเชื่อม (WELDING MACHINE)



ก้านตุ้ม (PULL PIECE)
:wanwan044:


49
 :wanwan021:

1. เครื่องเจาะดิน (SOIL BORING MACHINE)



2. ปั้มน้ำ (WATER PUMP)



3. ถังน้ำเวียน (REVOLVE WATER TANK)



4. ก้านเจาะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว ยาว 3 เมตร (Rod is diameter 1.5 inches length 3 meters)



5. ก้านเจาะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว ยาว 1.5 เมตร (Rod is diameter 1.5 inches length 1.5 meters)



6. เคสซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาว 3 เมตร (Casing is diameter 3 inches length 3 meters)



7. เคสซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาว 1.5 เมตร (Casing is diameter 3 inches length 1.5 meters)



8. สว่านมือ (HAND AUGER)



9. ขาบน (SETTING FRAME/TOP)




10. ขาล่าง (SETTING FRAME/BOTTOM)



11. ถังน้ำ 200 ลิตร (WATER TANK 200 LITERS)



12. ถังน้ำ 18 ลิตร (WATER TANK 18 LITERS)



13. สายดูด (WATER OUTLET PIPE)



14. สายส่ง (WATER INTAKE PIPE)



15. ข้อหมุน (HOIST)



16. ประแจคอม้า (WRENCH)




17. รอกเดี่ยว (PULLEY, TACKLE)



18. โซ่ (CHAIN)



19. เชือกมะนิรา (MANILA ROPE)




20. เบนโทไนต์ (BENTONITE)
:wanwan019:










50
 :wanwan044: สำหรับชื่อผู้แต่งบทคัดย่องานวิจัยเรื่อง การออกแบบโครงสร้างทางวิ่งสนามบิน กรณีศึกษาเมืองเชียงใหม่ Design of Runway Pavement Structure Chiang Mai Airport Study Case คือ นางสาวฐาปนี ธีรกุลวัฒนโต และ นายฐิติณัฐ เมืองทอง อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร. บุญส่ง สัตโยภาส ประเภทงานวิจัย ก็จะเป็นในรูปแบบของ โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมขนส่ง ปีกาศึกษา 2554 คณะวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ:

งานศึกษาวิจัยชิ้นนี้ เป็นงานศึกษาและงานออกแบบโครงสร้างทางวิ่งสำหรับสนามบินเชียงใหม่ (แห่งใหม่)มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและศึกษาการใช้งาน Software ตามวิธีของ Federal Aviation Administration(FAA)  ซึ่งกำหนดพื้นที่ศึกษาคือ บริเวณอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน พบว่าดินเดิมบริเวณนั้นเป็นดินกลุ่ม OL (Organic silts or lean organic clays) ซึ่งเป็นดินที่มีความแข็งแรงต่ำ(Low strength) โดยมีค่า CBR (Unsoaked) เท่ากับ 4.1เปอร์เซ็นต์ ปริมาณการจราจรที่ใช้ในการออกแบบ รวบรวมจากข้อมูลทางสถิติของ การท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระหว่างปี 1991ถึงปี 2010 และจากการวิเคราะห์อัตราการเพิ่มการเดินทางผู้โดยสารพบว่ามีอัตราการเพิ่มคงที่รายปีเท่ากับ  4.95เปอร์เซ็นต์

จากข้อมูลที่รวบรวมทั้งหมดได้ออกแบบโครงสร้างทางวิ่งแบบ Rational ตามใช้วิธี FAA (AC NO:150/5230-6E) สำหรับอายุการใช้งาน 20 ปี ซึ่งในกรณีโครงสร้างแบบ Flexible Pavement ให้ค่าความหนา คือ ชั้นผิวทางแบบ Asphalt concrete(P-401)  หนา 5 นิ้ว, ชั้นพื้นทางแบบ Asphalt  stabilize(P-401)  หนา 12 นิ้ว  และชั้นรองพื้นทางแบบ Crushed aggregate (P-209)  หนา 45 นิ้ว  สำหรับกรณีโครงสร้างแบบ Rigid  ให้ค่าความหนา คือ ชั้นผิวทางคอนกรีต (ความแข็งแรง MR 650 lb./in²) หนาเท่ากับ 21นิ้ว โดยที่ชั้น Sub base เป็นแบบ Cement Treated Base(P-301) หนา 6 นิ้ว

ได้วิเคราะห์ความสามารถในการรองรับเครื่องบินในค่าดัชนี PCN(Pavement Classification Numbers) ให้ผลเป็น รหัสคือ PCN204FCXTสำหรับโครงสร้างแบบ Flexible และ PCN95RCXTสำหรับโครงสร้างแบบ Rigid  :wanwan021:

ที่มา : http://civil.eng.cmu.ac.th/research/in/2554/1909
หน้า 1 ... 3 4 5 6 7 ... 10