เมษายน 29, 2024, 04:26:09 pm

ข่าว:

บริการเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน โทร. 0-2729-5031, 085-917-7163


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Messages - denichammy

76
 :D เจาะดินป้องตึกทรุด แนะลูกบ้านเช็กประวัติที่ดินที่จมน้ำ-ริมตลิ่งเสี่ยง : วสท.ออกโรงเตือนผู้ประกอบการ-วิศวกรออกแบบก่อสร้างอาคารทั้งบ้านอยู่อาศัย-ตึกสูงใหญ่ต้องศึกษาประวัติทำเล จี้ควักกระเป๋าเพิ่มเจาะสำรวจชั้นดินไม่ควรใช้การคาดคะเนโฟกัสพื้นที่น้ำท่วม บ่อปลา ที่ทิ้งขยะเก่าชานเมืองปริมณฑลทำเลริมน้ำตอกเสาเข็มไม่ลึกพอถมดินไม่แน่นมีสิทธิ์ทรุดเอียงสูง  ตัวอย่างอพาร์ตเมนต์ย่านรังสิต นายกสมาคมบ้านจัดสรรยันน้ำท่วมไม่กระทบใช้เข็มเจาะจนตอกไม่ลง

การทรุดเอียงของอาคารเกิดขึ้นบ่อยครั้งแต่ละครั้งมีสาเหตุต่างกันออกไปอย่างรายล่าสุดอพาร์ตเมนต์สูง 7 ชั้น หลังห้างสรรพสินค้าเซียร์รังสิต จังหวัดปทุมธานี สร้างความหวาดผวาให้กับผู้อยู่อาศัยในย่านเดียวกันไม่น้อย และเชื่อว่าในหลายพื้นที่อาจอยู่ในข่ายเสี่ยงในลักษณะดังกล่าวได้เช่นกัน หากผู้ประกอบการและวิศวกรผู้ออกแบบร่วมมือกันประหยัดต้นทุนจนเกินไปโดยเฉพาะพื้นที่น้ำท่วมเป็นเวลานานและทำเลริมน้ำ

ต่อเรื่องนี้นาย สุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกสมาคมวิศวกรรมสถานในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าสมาคม ได้มีมาตรการลงโทษวิศวกรผู้ออกแบบที่ประมาทเลินเล่อ หรือสมรู้ร่วมคิดกับเจ้าของอาคารเพื่อลดต้นทุนต่างๆในการออกแบบก่อสร้างอาคารไม่ให้เป็นไปตามวิชาชีพจนเกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินกับผู้ใช้อาคารและผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงทุกราย

ล่าสุดกรณีอาคารอพาร์ตเมนต์ สูง 7 ชั้นหลังเซียร์รังสิต จังหวัดปทุมธานี ที่การเอียงเกิดจากความผิดพลาดของวิศวกรผู้ออกแบบที่ไม่ได้เจาะสำรวจชั้นดินไปตรวจสอบว่าดินสามารถรับน้ำหนักของอาคารได้มากน้อยแค่ไหน   ซึ่งเสาเข็มที่ตอกลงไป หากเจอดินอ่อนจะเสี่ยงต่อการทรุด อย่างไรก็ดีเมื่อพบปัญหาควรเจาะให้ลึกจนกว่าจะเจอชั้นดินแข็ง
ที่ผ่านมาเท่าที่ทราบอพาร์ตเมนต์ดังกล่าวน่าจะเกิดจากการคาดคะเนจากการเฉพาะค่าเฉลี่ยที่ใช้ตอกเสาเข็มทั่วไปแต่อาจไปเจอชั้นดินอ่อนทำให้ไม่สามารถยึดเกาะเสาเข็มได้ส่งผลให้อาคารเกิดการทรุดเอียง

ต่อข้อถามที่ว่าพื้นที่ดังกล่าวเคยประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่จะมีส่วนทำให้อาคารทรุดเอียงได้หรือไม่ นายสุวัฒน์สะท้อนว่า ตามข้อเท็จจริงไม่น่าจะเกี่ยวโดยตรง แต่ตามหลักปฏิบัติ เจ้าของโครงการควรเพิ่มค่าใช้จ่ายด้วยการให้วิศวกรเจาะสำรวจชั้นดินแต่เท่าที่ทราบอาคารดังกล่าว ไม่น่าจะมีการเจาะสำรวจชั้นดิน  โดยทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลดินจะอ่อนอยู่แล้ว ดังนั้นจะต้องตอกเสาเข็มเฉลี่ยลึกประมาณ 18-21 เมตร ส่วนต่างจังหวัดจะแตกต่างออกไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมาตรฐานความลึก 18-21เมตร ในเขตกทม.และปริมณฑลไม่ใช่มาตรฐานที่ชัดเจนเสมอไปที่ถูกต้องที่สุดคือวิศวกรต้องเจาะชั้นดินวิเคราะห์ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงที่สุด

นอกจากนี้ หากต้องการตรวจสอบซ้ำว่า ความลึกของเสาเข็มที่เจาะลงไปจะมีความมั่นคงแข็งแรงและรองรับน้ำหนักอาคารได้หรือไม่ เจ้าของอาคารจะต้องลงทุนเพิ่มโดยให้วิศวกร วัดระดับน้ำหนักเทียบเท่ากับตัวอาคารที่จะสร้าง ทิ้งดิ่งหรือตั้งลงไปบนเสาเข็มหากเสาเข็มรับน้ำหนักได้ ก็ถือว่า ก่อสร้างได้ และปลอดภัยหากไม่สามารถรับน้ำหนักได้ วิศวกรและเจ้าของอาคารต้องตรวจสอบใหม่

อย่างไรก็ดี อาคารสูง-ใหญ่ ที่มีชื่อเสียงในกทม. มักไม่ค่อยมีปัญหาเพราะมักเจาะสำรวจชั้นดินแต่ที่น่าห่วงจะเป็นอาคารเตี้ยหรือบ้านจัดสรร  ยิ่งโซนประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่  ในเขตปริมณฑล หรือทำเลที่ออกไปทางชานเมือง ทำเลริมตลิ่งที่ถูกน้ำท่วม อาจดินสไลด์ได้ เนื่องดินอุ้มน้ำ หรือแช่น้ำอยู่นานคุณสมบัติเกาะยึดลดลงกลายเป็นดินอ่อน  ดังนั้นวิศวกรออกแบบต้องรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรให้ฐานรากแข็งแรง

โดยปัจจุบันวิศวกรและผู้ประกอบการมักใช้วิธีหาค่าเฉลี่ยโดยเทียบกับแปลงข้างเคียงเช่นบ้านข้างเคียงเจาะ3 เมตร  แต่ที่จริงแล้วไม่ควรประมาท แม้แปลงติดกันแต่ประวัติของแต่ละแปลงไม่เหมือนกันบางแปลงเคยเป็นบ่อขยะเก่าหรือบ่อปลา คูคลองธรรมชาติมาก่อน ตัวอย่างอาคารพาณิชย์สูง 4 ชั้นย่านนนทบุรี ก่อสร้างขึ้นและในเวลาต่อมาได้ทรุดตัวหายลงไปในหลุมทั้งแท่งต่อมาทราบว่าเสาเข็มที่เจาะจากการคาดคะเน เจาะเสาเข็มลงไปแม้ว่าลึกมากแต่ปรากฏว่าไปตรงกับชั้นบ่อขยะพอดี ทำให้ทรุดตัว หรือกรณีมีหมู่บ้านชื่อดังรายหนึ่ง ย่านลำลูกกาที่เจ้าของถมที่ดินไม่แน่นประกอบกับเป็นบ่อปลาเก่าทำให้ทรุด ดังนั้นกรณีผู้ซื้อบ้านก่อนตัดสินใจซื้อบ้านต้องศึกษาทำเลที่เหมาะสมให้ดี

ด้านนายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรกล่าวว่าบ้านจัดสรรที่อยู่ในโซนอุทกภัยปี 2554 ไม่มีผลกระทบทำให้บ้านทรุดอย่างแน่นอน เพราะปัจจุบันผู้ประกอบการใช้เข็มเจาะ 2 แบบ คือ 1. ตอกเข็มจนกว่าจะตอกไม่ลงหรือ เจอดินแข็งแบบสุดๆ 2. ตอกเข็มที่อาจจะไม่เท่ากันทุกต้นแต่ละต้นจะตอกจนกว่าจะตอกไม่ลง ซึ่งปัจจุบันมักนิยมเข็มยาว 21 เมตรโดยเฉพาะในเขตกทม.และปริมณฑล ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่าดินอ่อนโดย 1-3 เมตรจะมีแต่น้ำแต่เมื่อเจาะลึกลงไปก็จะเจอดินแข็งทำให้ไม่มีผลกระทบ ส่วนทำเลริมน้ำริมตลิ่งอาจเจอปัญหาดินสไลด์ได้บ้างหากไม่มีเขื่อนป้องกันน้ำท่วมโดยบริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด มีมาตรการให้แบบบ้านกรณีการตอกเสาเข็มให้ลูกค้าไป 1ชุดเพื่อให้ลูกค้าตรวจสอบอีกด้วยเพื่อความมั่นใจ

การทรุดตัวของอาคารเกิดจากอะไร

1. การก่อสร้างอาคารในระบบฐานรากตื้น เช่น ใช้เสาเข็มสั้น 6 เมตร, เข็มไม้, ฐานรากแผ่, หรือพื้นชนิดวางบนดิน โดยเฉพาะชั้นดินในกรุงเทพฯและปริมณฑล ดินชั้นบนมีลักษณะเป็นดินเหนียวอ่อน เกิดการยุบอัดตัว หรือทรุดตัวได้มาก กรณีเช่นนี้ถือว่าไม่อันตรายแต่อย่างใด ถ้าโครงสร้างมีการทรุดตัวเท่าๆ กัน
2. การก่อสร้างที่ใช้ระบบฐานรากแตกต่างกัน เช่น งานต่อเติม, ดัดแปลง เป็นต้น ในกรณีนี้ถ้าดำเนินการก่อสร้างไม่ถูกหลักวิศวกรรม ไม่มีการตัด Joint หรือมีการเชื่อมโครงสร้างส่วนหนึ่งส่วนใดเข้ากับตัวบ้าน อาจเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากัน, ทรุดร้าว, ทรุดเอียง ถ้ามีการเชื่อมโครงสร้างกับโครงสร้างเดิม อาจเกิดการยึดรั้งและส่งผลกับโครงสร้างเดิมด้วย โดยถ้าโครงสร้างหลักมีการแตกร้าวถือว่าเป็นการทรุดที่อันตราย
3. ความบกพร่องของเสาเข็มเอง เช่น เสาเข็มหัก, เสาเข็มชำรุด, เสาเข็มเดี่ยวเยื้องศูนย์, ฐานรากพลิก, เสาเข็มตอกไม่ได้ Blow Count เป็นต้น ส่วนใหญ่จะรู้เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วเกิดความบกพร่องให้เห็น เช่น ผนังร้าวในแนวทแยง 45 องศา คล้ายๆ กันในทุกชั้น, มีเสียงโครงสร้างลั่น เป็นต้น ถือเป็นการทรุดที่อันตรายและจำเป็นต้องรีบแก้ไขเช่นเดียวกัน
4. การออกแบบฐานรากที่ผิดพลาด เช่น ไม่มีการเจาะสำรวจดิน, น้ำหนักบรรทุกจริงที่ถ่ายลงเสาเข็มต่อต้น ในแต่ละฐานรากไม่เท่ากัน เป็นต้น

เราจะรู้ได้อย่างไร...ว่าอาคารของเราเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน?

1. ระดับพื้นเอียง อาจทดสอบได้โดยการถ่ายระดับน้ำหรือกลิ้งวัตถุทรงกลมบนพื้นเพื่อตรวจสอบระดับที่แตกต่างกัน
2. เกิดการแตกร้าวเป็นมุมเฉียง 45 องศาที่ผนัง โดยรอยแตกที่กว้างและยาวขึ้นแสดงถึงการทรุดตัวที่มากขึ้น 
3. โครงสร้างหลักมีการแตกร้าว เช่น เสา คาน พื้น โดยอาการของการแตกร้าวจะแตกต่างกันออกไป รวมถึงมีเสียงแตกลั่นในบางครั้ง  :wanwan001:

ที่มา :ฐานเศรษฐกิจ





 
77
 :wanwan035: ระวัง ! จอดรถโลตัสบางกะปิ โดนมิจฉาชีพโจรกรรมโลโก้ : เนื่องจากว่า ผมได้ไปดูภาพยนตร์เรื่อง IRON MAN 3 กับ แฟน และ น้องของแฟนอีกสองคน เป็นทั้งน้องสาวและน้องชาย อย่างละคน ตอนออกจากโรงภาพยนตร์ก็รีบ ๆ กลับบ้าน ก็ยังไม่ได้ทันได้สังเกตุอะไร จนกระทั่งถึงเที่ยงของอีกวัน ผมจึงเห็นว่า LOGO ก็มี 1.6E CNG COROLLA ALTIS หายหมดเลยตรับ แต่ก็ต้องขอขอบคุณท่านโจรนะครับ ที่ช่วยแกะอย่างปราณีต ไม่โดนสีรถ ไม่งั้นเรื่องใหญ่แน่ ๆ ถึงอย่างไรก็ตาม โลตัสบางกะปิ ก็ไม่มีมาตราการเรื่องความปลอดภัยของรถยนตร์ส่วนบุคคลของลูกค้าอยู่ดีแหละครับ ผมว่าทางที่ดีไปจอด THE MALL บางกะปิดีกว่าครับ  :P
78












;D เช่า DCondo แสนสิริ รามคำแหง 64 ตรงข้าม วัดศรีบุญเรือง ใกล้ เดอะมอลล์บางกะปิ ประมาณว่า ถ้านั่ง TAXI ไป แบบว่าถ้า รถติดสุดราคาอยู่ที่ 50 บาท เท่านั้น เดินทางสะดวก ห้องใหม่ พร้อมเฟอร์ พร้อมเข้าอยู่ ในห้องก็จะมี ตู้เสื้อผ้า เตียง โต๊ะเครื่องแป้ง ชั้นวางทีวี ตู้เย็น โซฟา โต๊ะรับแขก เครื่องทำน้ำอุ่น แยกครัวกับห้องพักอย่างเป็นสัดส่วน มันสวยงามจริง ๆ นะครับ เดินทางไปไหนมาไหนก็สะดวก ไม่ว่าคุณเดินทางไปทำงาน ไปเดินห้างสรรพสินค้าก็เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ ว่ายน้ำก็ได้นะครับ มีสระว่ายน้ำด้วยนะ หากคุณสนใจติดต่อผมด่วนนะครับ ถ้าคุณกันที่เรื่องของราคานะ ก็จะอยู่ที่ 9,000 บาท ไม่รวมค่าส่วนกลาง สนใจติดได้ที่เบอร์ 0894824063 คุณเกษริน  :wanwan021:
79
 :wanwan013: อาคาร 7 ชั้น อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ได้มีการทรุดตัว ซึ่งเป็นเหตุให้ตัวอาคารนั้นเอียงไปประมาณ 10 องศา เมื่อ วันที่ 31 มีนาคม 2556 บริเวณที่ตั้งของตัวอาคารนั้น ก็จะตั้งอยู่ ณ บริเวณ หลังห้างสรรพสินค้าเซียร์รังสิต จากการฟังเสียงจากชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์เล่าว่า  ก่อนเกิดเหตุได้ยินเสียงคล้ายปูนแตกร้าวดังมาจากภายในอาคาร จากนั้น อาคารค่อย ๆ ทรุดตัวลง จนทำให้เอียงมาด้านหน้า ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านวังทอง ประมาณ 10 กว่าเมตรเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นจุดเกิดเหตุและพื้นที่บริเวณใกล้เคียงเป็นจุดเสี่ยงอันตรายมาก แต่ก็ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ จากคำกล่าวของนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พบว่าสาเหตุเบื้องต้นพบว่าการออกแบบฐานรากไม่สามารถรับน้ำหนักได้ และจะมีผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งเจ้าของอาคารดูแลอีกครั้งหนึ่ง ในขณะนี้ตึกยังไม่ทรุดเพียงแต่เอียงเฉย ๆ ซึ่งต้องเป็นหน้าที่และภารกิจของบริษัท และทีมวิศวกรที่จะเข้ามาดูแล และแนะนำว่าจะแก้ไขอย่างไร โดยดูภาพรวมแล้วมีวิธีการแก้ไข คือ ดีดอาคารขึ้นเพื่อให้ใช้งานได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องสำรวจความปลอดภัยอย่างละเอียดก่อน แต่ถ้าทำไม่ได้ก็จะต้องรื้อทิ้ง ซึ่งการรื้อต้องดูในขั้นตอนเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับบ้านเรือนใกล้เคียง และในการออกแบบก็มีวิศวกรโยธาคำนวณ เมื่อออกแบบถูกต้องแล้วต้องมาดูขั้นตอนของการก่อสร้าง บางครั้งออกแบบถูกต้องแล้ว แต่ก่อสร้างไม่ถูกต้องก็เป็นเหตุให้อาคารทรุดและเอียงก็ไปได้  :wanwan021:
http://www.krobkruakao.com/ข่าว/70776/ปทุมธานี-เผยสาเหตุตึก-7-ชั้นหลังเซียร์-รังสิต-ทรุด.html
80
 :wanwan021: เที่ยวสงสงกรานต์ปลอดภัย รู้ 10 จุดเสี่ยงอุบัติเหตุจาก สตช. หรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นอุบัติเหตุ รุนแรงบนทางหลวงสายสำคัญต่าง ๆ ดังนี้

1. กม. 77 - 78 ทล.1 ถนนพหลโยธิน ต.สนับทึบ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา - เป็นทางโค้ง

2. กม. 27 - 30 ทล.2 ถนนมิตรภาพ ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี - เป็นทางลงเขาลาดชัน คดโค้งหักมุมต่อเนื่อง

3. บริเวณจุดก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ ทางหลวงหมายเลข 35 ถนนพระราม 2 - เป็นช่องทางเบี่ยง อยู่ในระหว่างก่อสร้างระหว่าง กม. 18 - 19 ( ขาเข้าและขาออก) สะพานข้ามทางรถไฟ

4. โค้งหัวสะพาน (ขาล่องใต้ ) ทล.4 กม.151 - 152 ต.หัวสะพาน อ.เมือง จว.เพชรบุรี - เป็นทางโค้ง

5. ทางหลวงหมายเลข 331 กม.125 - 126 ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี - เป็นทางลงเนินและมีทางแยกซับซ้อน ทำให้รถที่วิ่งลงเนินมา เมื่อเจอกับรถที่ออกจากทางแยก ซอย ไม่สามารถหยุดรถได้ทัน จึงเกิดเหตุชนกัน

6. ทางหลวงหมายเลข 304 ตอนกบินทร์ - ปักธงชัย ระหว่าง กม.42 - 46 ต.บุพราหมณ์ - สภาพเป็นทางขึ้น-ลง เขาลาดชัด โค้งตัวเอส มี 2 ช่องจราจร อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี

7. ทางหลวงหมายเลข 12 กม.14 - 15 (เนินห้วยหินฝน) ต.แม่ปัก อ.แม่สอด จ.ตาก - เป็นทางโค้งลงเนิน ชันและหักศอก

8. ทางหลวงหมายเลข 11 ตอนพิษณุโลก - อุตรดิตถ์ ระหว่าง กม.30 - 40 - เป็นทางตรงลงเขา ไม่มีแสงสว่าง ผู้ใช้รถมักจะหลับใน ต.ทับยายเชียง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก (ระยะทางประมาณ 10 กม.) ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง

9. ทางหลวงหมายเลข 125 ตอนเลี่ยงเมืองสุโขทัย - ตาก ระหว่าง กม.26 - 27 - เป็นทางโค้งมีเกาะกลางถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย (ระยะทางประมาณ 1 กม.)

10. ทางหลวงหมายเลข 348 กม.42 - 43 ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ - เป็นทางโค้งซ้าย และโค้งขวา รูปตัวเอส มีเส้นประให้แซง ในช่วงกลางตัวเอส  :D

ที่มา : http://news.sanook.com/1178127/สตช.-เปิด-10-จุดเสี่ยงอุบัติเหตุสงกรานต์
81
 :D คลิปวีดีโอแสดงการเจาะดินและทดสอบดิน เพื่อการออกแบบกำลังรับน้ำหนักของดินอย่างมีคุณภาพ เราจะทำงานด้านการเจาะสำรวจดินและทดสอบดินอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อผลงานเจาะดินที่มีศักยภาพเหนือระดับ ที่สุดของงานด้านวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ วิศวกรรมฐานราก ความเป็นหนึ่งเดียวของวิศวกรรมโยธา ต้อง บริษัท เดนิช ซอยล์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด  ;D
http://www.youtube.com/v/6i11WmYaGc0?hl=en_US&version=3&rel=0 :wanwan021:


82
 :wanwan013: เจาะสำรวจดินดินพบชั้นดินแข็งก่อนถึงความที่แท้จริง การออกแบบที่ดีจะช่วยลดอันตรายและความเสียหายของอาคาร เนื่องจากการทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานราก วิศวกรโยธาผู้ออกแบบมักกำหนดระดับความลึกของฐานรากจากการคำนวณค่าการทรุดตัวและกำลังรับน้ำหนักของชั้นดินเทียบกับกำลังรับน้ำหนักของโครงสร้างที่ลงแต่ละตอม่อ ทั้งในกรณีการใช้ฐานรากแผ่ และ เสาเข็ม ในบางพื้นที่เสาเข็มอาจยาวถึง 60 เมตร เพื่อรับน้ำหนักอาคารสูง เช่น กรุงเทพมหานคร บางพื้นที่อาจพบกระเปาะดินเหลวอ่อน หรือพบโพรงช่องว่างแทรกอยู่ใต้ชั้นดินแข็ง หากวิศวกรโยธาได้ทำการเจาะสำรวจดินไปถึงชั้นที่ลึกไม่พอ โดยหยุดการเจาะดิน ณ ระดับความลึกที่พบชั้นดินแข็งในช่วงบนนี้ก่อน  :wanwan021:
83
 :wanwan021: เนื่องจากเจ้าของงาน หรือ วิศวกรที่ปรึกษางานโยธา ได้มีการว่าจ้างรับเหมาเจาะสำรวจดินถึง 2 ถึง 3 บริษัท เพื่อเปรียบเทียบงานเจาะสำรวจดินของแต่ละบริษัท ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ถ้าผลการเจาะสำรวจดินออกมาเหมือนกัน ก็ถือว่า OK แต่ถ้าแตกต่างกัน ก็จะมาวัดกันที่ปัจจัยในด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น คุณวุฒิและวัยวุฒิของวิศวกรโยธาที่ดูแลงานด้านการเจาะสำรวจดินของบริษัท ชื่อเสียงของบริษัทเจาะสำรวจดิน อีกทั้งความชอบโดยเสน่หาต่อบริษัทเจาะสำรวจดิน แต่สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งปวงนี้ก็สู้ความซื่อสัตย์ของช่างควบคุมเจาะสำรวจดิน รวมถึงการดูแล เอาใจใส่และตรวจสอบดูแลงานเจาะสำรวจดิน ตั้งแต่งานภาคสนาม จนถึงงานทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ งานออกแบบกำลังน้ำหนักของดิน ให้คำแนะนำการใช้ฐานราก ก็จะได้รับความน่าเชื่อถือและภักดีต่อบริษัทเจาะสำรวจดินจากเจ้าของงานหรือบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาได้  :wanwan002:
84
 ;D วัตถุประสงค์ของการเจาะดินด้วยวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานในรูปแบบของข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นไปตามสภาพชั้นดินที่เป็นจริง สู่การออกแบบงานวิศวกรรมฐานรากอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปยังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรที่ปรึกษาด้านงานโยธา เจ้าของโครงการ ช่างรับเหมาเจาะดิน สถาปนิก รวมถึงผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น แต่มีความสนใจในงานก่อสร้างทั่ว ๆ ไป เป็นหน้าที่ของ วิศวกรโยธาที่ปรึกษา ที่ต้องแสดงแสงยานุภาพเพื่อสร้างแรงศรัทธาให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในประโยชน์ของงานเจาะดิน แม้งานเจาะดินจะมีค่าใช้จ่าย แต่ก็ยังน้อยกว่างบประมาณการก่อสร้างที่คุณต้องสูญเสียไปอย่างไร้ค่า ก็จะเป็นในเรื่องของต้นทุนของเสาเข็มที่ยาวไปหรือสั้นไป ต้องตัดออกหรือซื้อใหม่ ซึ่งถ้าซื้อใหม่ก็เป็นต้นทุนที่สูงขึ้นโดยใช่เหตุ เมื่อเทียบกับต้นค่าเจาะดินก็ยังมากกว่าอยู่ดี แต่เมื่อวิศวกรที่ปรึกษางานโยธาได้กำหนดให้มีการเจาะดิน เราก็จะรู้ขนาดของเสาเข็มที่แท้จริง เจ้าของโครงการก็สามารถสั่งซื้อเสาเข็มพอดี จากคำแนะนำการใช้ฐานราก ตลอดจนช่วยลดความเสี่ยงของงานออกแบบและงานก่อสร้างฐานรากที่อาจเกิดขึ้นได้จากความแปรปรวนของลักษณะสภาพชั้นดิน มีผลต่อฐานรากในเรื่องของการทรุดตัวสูง ชี้ให้เห็นถึงความเสียหาย ไม่ปลอดภัย หรือทำให้ต้นทุนค่าเสียโอกาสในเรื่องของเวลาช้ากว่าที่กำหนด การเจาะดิน เป็นการเจาะเพื่อทำการหาข้อมูลสภาพชั้นดิน และขอบเขตการเปลี่ยนแปลงของชั้นดินแต่ละชั้น เพื่อนำมาใช้ประกอบการออกแบบและก่อสร้างฐานรากของสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ และที่สำคัญของการเจาะดิน ก็เพื่อโครงสร้างของตัวอาคารได้มีฐานรากที่รองรับน้ำหนักได้อย่างถูกต้อง  :'(
85

:'( เจาะดินและทดสอบดินเป็นงานส่วนหนึ่งในงานก่อสร้างระดับกลางถึงระดับใหญ่ ถ้าเปรียบเทียบได้ ก็จะเปรียบเทียบได้กับรถรุ่น E ถึง รถรุ่น TOP กันเลยที่เดียว บริษัทที่ปรึกษาวิศวกรส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญกับเจาะดินกันมากกว่าในสมัยอดีตกาล ซึ่งถ้าบริษัทที่ปรึกษาวิศวกรได้กำหนดให้ขอบเขตของงานมีการเจาะดิน ก็จะเป็นการช่วยปรับระดับงบประมาณโครงการก่อสร้างที่สูงมาก ให้ต่ำลงได้ โดยเฉพาะต้นทุนในเรื่องของเสาเข็มและฐานราก ถ้าคุณไม่กำหนดให้มีการเจาะดิน คุณก็จะต้องมีการคาดคะเนหรือคาดเดาว่าจะต้องใช้เสาเข็มขนาดเท่าไร บางครั้งก็เกินบ้าง อะไรบ้าง ต้องมีการตัดทิ้งบ้าง หรือ ไม่ก็วางเสาเข็มอยู่บนชั้นดินที่มีความแข็งแรงไม่เพียงพอ ก็อาจจะทำให้สิ่งปลูกสร้างนั้นมีการทรุดตัวหรือถล่มลงมาได้ เหตุการณ์เหล่านี้อาจกลายเป็นบทเรียนครั้งก่อนของโครงการก่อสร้างของคุณ จนทำให้คุณต้องแนวทางของบทเรียนครั้งนั้น มาพัฒนางานที่ปรึกษาวิศวกรรมโยธาให้เน้นหนักเพื่องานฐานรากและเสาเข็มอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งต้องกำหนดงานเจาะดินและทดสอบดินลงไปในงานนั้น ๆ ด้วย  ;D
86
 :D ถ้าจะมีการรับเจาะดินและทดสอบดิน เพื่อหาว่า ใครทำอะไร เมื่อไร อย่างไร แล้วทำไปทำไม พูดง่าย ๆ ก็คือ เพื่อคำนวณการรับน้ำหนักของดิน หรือ เสาเข็ม เพื่อนำผลการเจาะดินและทดสอบดินที่ได้ไปออกแบบฐานราก ถ้าฐานรากมั่นคงแล้ว โครงสร้างตัวอาคารก็จะมั่นคงด้วย เพราะฉะนั้นก็เจาะดินก็เป็นเรื่องสำคัญต่อฐานราก การผิดในเรื่องเสาเข็มหรือฐานรากก็จะไม่เกิดขึ้น ถ้าคุณได้กำหนดให้มีการเจาะดินและทดสอบดินในทุก ๆ โครงการก่อสร้างใหญ่  :'(
87
 :-X รถโดนฉกไปง่าย ๆ ขณะที่เจ้าของยืนมองตาปริบ ๆ โจรเลิกใช้วิธีงัดรถแล้ว แต่ใช้วิธีต่อไปนี้ ตำรวจฝากเตือนมา มีผู้เคราะห์ร้ายแล้วครับ ลองนึกภาพดู ท่านกำลังเดินมาในลานจอดรถ เปิดประตุรถและเข้าไปในรถ ท่านล็อคประตู แล้วสตาร์ท รถยนต์ และเข้าเกียร์...เพื่อถอยรถ ขณะนั้นท่านมองที่กระจกส่องหลัง ที่อยู่หน้าคนขับเพื่อมองทางที่จะถอย ทันใดก็เห็นว่ามีกระดาษแผ่นหนึ่งติดอยู่กลางกระจกรถด้านหลัง ท่านก็ต้องเปลี่ยนเกียร์มาที่ตำแหน่งเพื่อจอดรถ เปิดประตู ออกจากรถเพื่อจะลงไปเอากระดาษที่ติดอยู่ออก เพราะทำให้การมองเห็นไม่ดี ขณะที่เดินถึงด้านหลังของรถ จู่ ๆ ก็มีชายคนหนึ่งโผล่มาจากที่ไหนก็ไม่รู้กระโดดเข้าไปในรถ และขับรถออกไปขณะเครื่องยนต์กำลังติดอยู่ (เจ้าของรถที่เป็นผู้หญิงจะมีกระเป๋าถือวางอยู่ในรถด้วย) รถที่ออกก็จะพุ่งออกไปท่านต้องหลีก เพราะกลัวถูกชน โปรดระวัง โจรรถยนต์ บางรายเริ่มใช้วิธีนี้แล้ว วิธีที่ดีและปลอดภัย คือ ขอให้ท่านขับรถออกเลยไป ปล่อยให้กระดาษติดอยู่ที่กระจก แบบนั้นแหละ นึกไว้เลยว่า เราโดนโจรเล่นงานแล้ว และค่อยไปเอากระดาษออกทีหลัง หลังจากที่ออกรถไปจากลานจอดรถที่น่าสงสัยนั้นแล้ว
ขอให้ทุกคนส่งต่อด่วน ไปให้ญาติมิตร เพื่อน ๆ ทุกคนได้ระวังกันไว้ โดยเฉพาะที่เป็นผู้หญิง .. :wanwan009:

เครดิต http://www.citycng.com/index.php?topic=4303.0
88
 :D งานเจาะสำรวจดินหรืองานด้านปฐพีกลศาสตร์ เป็นงานที่อยู่ในความดูแลของวิศวกรโยธา เป็นกิ่งก้านสาขาของวิศวกรรมโยธา การเจาะดิน เจาะสำรวจดิน ทดสอบดิน หลังจากที่ได้ทำการเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน ผลที่ได้ก็จะบอกให้เราทราบถึง คุณสมบัติของดิน สภาพชั้นดิน ประเภทของดิน เป็นดินทราย ดินเหนียว กรวด ดินตะกรอน สีของดิน ดินคละกันดี หรือ เป็นดินที่มีความสม่ำเสมอกัน รวมถึงผลการคำนวณกำลังรับน้ำหนักของชั้นดินสู่การออกแบบฐานราก อีกทั้งยังเป็นความรับผิดชอบในงานเจาะสำรวจดินในเขตพื้นที่การก่อสร้างทั่วประเทศให้เป็นตามแบบและที่ลูกค้ากำหนดให้ ต้องให้ความสำคัญกับลูกค้าเหนือสิ่งอื่นใด จากการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างต่าง ๆ จะมีการคาดเคลื่อนจากความเป็นจริง การวิบัติหรือแตกร้าวของโครงสร้าง ปัญหาความล่าช้าในการก่อสร้าง และปัญหาการใช้งบประมาณไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด จากประเด็นดังกล่าวก็สามารถชี้ชัดและบ่งบอกถึงความสำคัญของงานเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน  ข้อมูลคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินจึงความสำคัญต่อทุกโครงก่อสร้างเลยก็ว่าได้  ???
89
 :D การจำแนกประเภทของดินตามมาตราฐาน ASTM D-2487-98 และ  IS: 1498-1970 สำหรับการจำแนกประเภทของดินและหาคุณสมบัติของชั้นดินตามหลักวิศวกรรมโยธาโดยทั่ว ๆ ไป

ดินจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ

ดินเนื้อหยาบ ต้องมีน้ำหนักมากกว่าหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของน้ำหนักของวัสดุโดยรวมทั้งหมด คือ พูดง่าย ๆ ก็คือ เม็ดดินจะต้องมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะผ่าน Sieve ลงไปได้ แต่ถ้าพูดกันยาก ๆ ก็คือขนาดเม็ดดินต้องมีขนาดใหญ่กว่า 75 ไมครอน ส่วนดินเนื้อละเอียดก็จะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกัน ขนาดของเม็ดดินจะเล็กกว่า 75 ไมครอน ดินที่มีสาอินทรย์หรือซากพืชหรือจะเป็นวัสดุอื่นใด่ผสมอยู่ ซึ่งสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า และ แบบที่ย่อสลายไปแล้ว ดินที่มีองค์ประกอบเป็นเปลือกหอยหรือจะเป็นเถ้าถ่านหรือวัสดุที่ไม่ใช่ดินอื่น ๆ

ดินเนื้อหยาบจะถูกแบ่งย่อยออกไปอีกเป็นกรวด จะเป็นลักษณะของเม็ดดินที่มีลักษณะใหญ่กว่า 4.75 มิลเมตร ซึ่งเป็นช่องของตะแกรงเบอร์ 4 ก็ไม่สามารถผ่านตะแกรงเบอร์ 4 ลงไปได้ ซึ่งจะแบ่งย่อยออกเป็น  gravels และ gravelly soil (G)

ทราย จะเป็นลักษณะของเม็ดดินที่มีลักษณะเล็กกว่า 4.75 มิลเมตร ซึ่งเป็นช่องของตะแกรงเบอร์ 4 เพราะถ้าเป็นทราย 100% ก็จะไม่มีเปอร์เซ็นต์ค้างอยู่บนตะแกรงเบอร์ 200 เลย ก็จะกันง่าย ๆ เลยนะครับ sand และ sandy clay

ดินแต่ละชนิดจะมีการจัดอันดับแบบให้ Graded กันด้วยนะครับ ซึ่งเป็นไปตามลักษณะเปอร์เซ็นต์ค้างของดินของตะแกรงแต่ละเบอร์ว่า ขนาดของเม็ดดินเท่า ๆ กันหรือคละกันไป หรือเป็นไปในลักษณะของดินเหนียวไปเลยก็ว่าได้

W : Well Graded ก็จะเป็นลักษณะของเม็ดดินที่คละกันดี คือ ประมาณว่า เปอร์เซ็นต์หรือปริมาณที่ค้างของแต่ละตะแกรง จะครั้งกันในปริมาณที่เท่า ๆ กัน
P : Poorly Graded ก็จะเป็นลักษณะของเม็ดดินที่มีความสม่ำเสมอ เปอร์ผ่านของแต่ละตะแกรงจะไม่เท่ากัน เปอร์เซ็นต์ผ่านมากอยู่ดี ๆ ก็ผ่านน้อยลง
M : Materials เป็นวัสดุอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากประเภทของชั้นดินดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น  ;D






 
90

happy valentine's day ขอให้ทุกคู่รักมีความสุขกันนะครับ จะดอกกุหลาบกับแฟน หรือ ช๊อกโลแล๊ตหวาน ๆ กับคนที่เรารัก บริษัท เดนิช ซอยล์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ขอให้ทุกคู่รักมีความสุขกันนะครับในวันนี้  :D