เมษายน 29, 2024, 06:12:08 am

ข่าว:

บริการเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน โทร. 0-2729-5031, 085-917-7163


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Messages - denichammy

61
 :wanwan021: จากกรณีตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผ่าน ได้มีการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของตัวเขื่อน ซึ่งเขื่อนดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มีการเจาะดินลงลึกถึง 119 เมตร 10 จุด จากสาเหตุที่ว่า เขื่อนสิริกิติ์มีแกนดินเหนียวหินทิ้ง (แกนตัวเขื่อนเป็นดินเหนียวบดอัดและใช้หินถมทับหน้า) มีอายุการก่อสร้างมาแล้วถึง 36 ปีแล้ว จึงได้ทำการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของตัวเขื่อนทุกๆ 3-5 ปี โดยเจาะลงไปถึงฐานรากของตัวเขื่อนเพื่อวัดชั้นดินที่สร้างเป็นแกนกลางของเขื่อนฯ พบว่าเขื่อนสิริกิติ์ยังแข็งแรงเป็นปกติดี ภัยธรรมชาติจากการเกิดแผ่นดินไหว 3.4 ริกเตอร์ ที่จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 นั้นไม่มีผลกระทบต่อเขื่อนสิริกิติ์แต่อย่างใด  เขื่อนสิริกิติ์เป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าให้แก่ประเทศ เป็นเขื่อนแกนดินเหนียวสูง 113.60 เมตร ยาว 810 เมตร กว้าง 12 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุด 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 500,000 กิโลวัตต์ เขื่อนสิริกิติ์เป็นเขื่อนที่สร้างประโยชน์ในด้านการชลประทาน การบรรเทาอุทกภัย การผลิตกระแสไฟฟ้า การประมง การคมนาคมทางน้ำ การท่องเที่ยว  ;D  ;D

ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000027200
62
จะว่าไปแล้ว เราก็ไม่ได้พูดถึง เรื่องการเจาะสำรวจดิน หรือ การเจาะดินกันนานแล้วนะครับ ณ เวลานี้ ผมขอพูดถึงเรื่อง การออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลหลุมเจาะสำรวจทางธรณีวิศวกรรม นี่เป็นตัวอย่าง บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ ของ คุณ ณรงค์รักษ์ รัตนานันท์ วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนยุรี กรุงเทพมหานคร การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลหลุมเจาะสำรวจทางธรณีวิศวกรรมในครั้งนี้ จัดได้ว่า เป็นการสร้างข้อมูลเชิงอรรถในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งสามารถนำไปเชื่อมโยงกับข้อมูล เชิงพื้นที่ได้ในกรณีที่มีข้อมูลส่วนนั้นมีพิกัดภูมิศาสตร์ที่แน่นอนของที่ตั้งหลุมเจาะสำรวจ การออกแบบในครั้งนี้ได้ใช้ข้อมูลตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรมชลประทาน และกรมทางหลวง สามารถแบ่งแยกข้อมูลได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ BOREHOLE GEOGRAPHY, BOREHOLE LOG และ SAMPLE PROPERTIES โดยในแต่ละส่วนก็ยังมี ตารางย่อยลงไปอีกสำหรับการจัดเก็บข้อมูลจริง รวมทั้งตารางพจนานุกรมด้วย ผลที่ได้จากการออกแบบคือระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงอรรถหลุมเจาะสำรวจทางธรณีวิศวกรรม รวมทั้งตัวอย่างข้อมูล โดยในการออกแบบได้จัดเตรียมให้ฐานข้อมูลสามารถจัดเก็บข้อมูลจากหลุมเจาะ สำรวจทางธรณีวิศวกรรมได้ทุกชนิด ทั้งที่เป็นการเจาะสำรวจดินและหิน โครงสร้างฐานข้อมูลได้รับ การออกแบบให้สามารถทำการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการจากฐานได้โดยรวดเร็วและแม่นยำ สำหรับ รูปแบบการนำเข้าได้จัดทำให้สอกคล้องกับการจัดเก็บข้อมูลที่สะดวกและง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป นอกจากนี้ ในการศึกษาครั้งนี้ยังได้จัดเตรียมตัวอย่างรูปแบบการสอบถามซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูล จากฐานข้อมูลที่มีอยู่เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปตามลักษณะงานหรือความต้องการของผู้ใช้  :wanwan017:

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://dcms.thailis.or.th/tdc//browse.php?option=show&browse_type=subject&subjid=55198&doc_type=0&display=list_subject&q=glucose

63
วันนี้ผมมีสถานที่น่าเที่ยวสุด ๆ มาฝากเพื่อน ๆ นะครับ แต่ผมยังไม่ได้ไปนะ เดี่ยวถ้ามีโอกาสได้ไปแล้ว จะถ่ายรูปโพสให้ดูกันอีกครั้งนะครับ จะว่าไปแล้วฮอกไกโดเป็นเกาะทางเหนือสุดของประเทศ ใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากเกาะฮอนชู ในหลายปีที่ผ่านมานี้ได้รับความนิยม จากนักท่องเที่ยวมากขึ้น  โดยเฉพาะเมืองหลักของเกาะฮอกไกโดคือซัปโปโร เป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมประวัติศาสตร์ความเป็นมาของฮอกไกโดในด้านต่างๆไว้ด้วยกัน ออนเซ็น และที่พลาดไม่ได้ คืออาหารการกิน เพราะเป็นเมืองที่เป็นเกาะ จึงมีแหล่งอาหารทะเลนานาชนิดที่ส่งต่อไปยังทั่วประเทศอีกด้วย เกาะฮอกไกโด (Hokkaido) ฮอกไกโดเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของญี่ปุ่น เป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศ ระหว่างเกาะฮอนชูและฮอกไกโดมีช่องแคบที่ถูกเชื่อมถึงกันโดยอุโมงค์ทางรถไฟชินคันเซ็น

สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ค่อนข้างหนาว แต่ฤดูร้่อนจะเย็นสบายเนื่องจากจะไม่ร้อนชื้นเหมือนกับภูมิภาคอื่นๆของญี่ปุ่น  เมืองหลวงของฮอกไกโดคือซัปโปโร รองมาคือฮาโกดาเตะ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ และมีเมืองอาซาฮีคาว่าอยู่ตรงกลางของเกาะ อุตสาหกรรมหลักของประเทศเป็นด้านการผลิตพลังงานแสงสว่าง เบียร์ ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในภาคการบริการ ซึ่งแม้ฮอกไกโดจะเป็นเมืองที่เน้นทางด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม แต่พื้นที่ถูกใช้ไปเพียงแค่ 1 ใน 4 ของเกาะเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงขนาดของผลผลิตต่อขนาดพื้นที่ ที่มีค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆในญี่ปุ่น



สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ "โอโดริปาร์ค" หรือ "โอโดริ โคเอ็น" ที่เป็นทั้งสวนและถนนที่ตัดผ่านย่านใจกลางเมืองจากตะวันออกไปตะวันตก
ซัปโปโรมีชื่อเสียงไปทั่วโลกจากงานโอลิมปิกฤดูหนาว หรือ Olympic Winter Gameที่จัดขึ้นที่นี่ในปี 1972 สิ่งที่ขึ้นชื่อของเมืองนี้ก็ได้แก่ ราเมน,เบียร์ และเทศกาลหิมะ




"โอตารุ" เมืองท่าแสนโรแมนติก
โอตารุ เมืองโรแมนติก ที่ควบคู่ไปกับความเก่าแก่และความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ชมคลองโอตารุ ที่มีความยาว 1,140 เมตร และเชื่อมต่อกับอ่าวโอตารุ ซึ่งในสมัยก่อนประมาณ ค.ศ. 1920 ที่ยุคอุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือเฟื่องฟู




"ทะเลสาบโทยะ" ทะเลสาบรูปวงกลม มีเรือข้ามระหว่างสี่เกาะและมีทิวทัศน์อันงดงามบนเขาโยะเทอิซัง
ทะเลสาบโทยะ อันสวยงามและโด่งดังที่สุดของฮอกไกโด ทะเลสาบแห่งนี้ เป็นหนึ่งในทะเลสาบชื่อดังของญี่ปุ่น เป็นทะเลสาบที่มีลักษณะกลม มีเส้นรอบวงประมาณ 40 กิโลเมตร ตรงใจกลางทะเลสาบมีเกาะกลางโผล่ขึ้นมา ทะเลสาบโทยะยังเคยเป็นสถานที่จัดประชุมสุดยอดผู้นำโลก G8 เมื่อปี 2551 ซึ่งผู้นำทั้ง 8 ประเทศ ชื่นชอบ และชิ่นชมทะเลสาบแห่งนี้เป็นอย่างมาก




" โนโบริเบ็ทสึ จิโคขุดานิ" หุบเขานรก
หุบเขานรกจิโกคุดานิ เป็นบ่อโคลนเดือดตามธรรมชาติ อุดมไปด้วยแร่กำมะถันซึ่งเกิดจากความร้อนใต้พิภพ หากนักท่องเที่ยวเดินตามทางเดินจะสามารถเห็นควัดที่เกิดจากความร้อนพวยพุ่งขึ้นมาจากใต้ดินตลอดเวลา หุบเขานรกจิโกคุดานิมีลักษณะเป็นเนินเขา มีทางเดินให้นักท่องเที่ยวได้ชมปรากฎการณ์ทางธรรมชาติตลอดข้างทาง หากเดินไปเรื่อยๆจะพบกับ "อุโอนุมะ" ซึ่งเป็นบ่อกำมะถันขนาดใหญ่ มีอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และยังมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมักแช่เท้าเพื่อเป็นการผ่อนคลายและเชื่อว่าช่วยในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับเท้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย







นี่ครับที่ผมอยากไปเที่ยวฮอกไกโดก็เพราะสิ่งนี้ครับ... Snow Festival (เทศกาลหิมะ)

เทศกาลหิมะซัปโปโร เป็นเทศกาลหิมะที่มีชื่อเสียงของเมืองซัปโปโร ซึ่งจัดขึ้นประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุก ๆ ปี บนพื้นที่จัดงาน 3 ส่วนคือ สวนสาธารณะโอโดริ ย่านการค้าซูซูกิโน และซัปโปโรคอมมูนิตีโดม ในงานมีการนำเสนอประติมากรรมที่สร้างจากหิมะและน้ำแข็งเป็นจำนวนนับร้อยชิ้น เทศกาลหิมะซัปโปโรเป็นเทศกาลหิมะที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และมีผู้เข้าชมงานจากทั่วโลกกว่า 2 ล้านคนทุกปี


ปล. ไปเที่ยวแล้ว ก็อย่าลืมไปกินอาหารทะเลสด ๆ กันด้วยนะครับ ;D  ;D  ;D

ที่มา : http://www.his-bkk.com/th/japan_tour/hokkaido_guide.php


   
64
 ??? ในการตัดสินใจ ต่อเติมบ้านนั้น หากเราจะใช้เสาเข็มสั้นเพราะมีข้อจำกัดของขนาดพื้นที่ที่เหลือ-ก็ต้องออกแบบให้ส่วนต่อเติม ตั้งอยู่บนเสาเข็มสั้นของตัวเองทั้งหมด อย่าไปเกาะหรืออาศัยฐานรากหรือไปเชื่อมกับโครงสร้างของบ้านเดิม มิฉะนั้นนานเข้าเมื่อการทรุดตัวมาก ๆ ก็จะดึงโครงสร้าง เช่น คาน พื้น ที่เชื่อมไว้ด้วยกัน แตกหัก เสียหายได้ หลายท่านอาจมีประสบการณ์เรื่องพื้นโรงรถทรุด พื้นดินทรุดรอบๆบ้าน เริ่มจากสิ่งที่เราเห็นง่าย เช่น รอยแยกของรั้วบ้าน รอยเลื่อนแยกของพื้นลานซักล้างกับผนังบ้าน และ พื้นรอบ ๆ บ้านแม้จะเทพื้นปูกระเบื้อง หรือ ลงปูตัวหนอน หรือ แผ่นทางเดินไว้ทรุดต่ำลงไป เรื่องแบบนี้ไม่มีอันตรายอะไรมากนัก นอกจากทำให้รู้สึกไม่ค่อยสะดวกในการใช้สอยหลายอย่าง หรืออาจเกิดโพรงใต้บ้าน มีสัตว์มีพิษเข้าไปอาศัย หรือ ที่อาศัยอยู่แล้วอาจมีร่องให้ขึ้นมาได้

โดยทั่วไปปลายเสาเข็มที่ตั้งอยู่ที่ระดับลึกกว่าจะยุบตัวน้อยกว่าเสาเข็มที่ตั้งอยู่ตื้นกว่า เวลาระดับน้ำใต้ดินลดลง ดินก็จะยุบตัว ซึ่งน้อยมากๆ ดังนั้น เสาเข็มสั้น จะทรุดตัวมากกว่าอาคารที่ตั้งบนเสาเข็มยาว ยิ่งนานหลาย ๆ ปี ความแตกต่างของการทรุดตัวมาก ๆ เข้าโครงสร้างก็จะแตกหัก ถ้าหากจะต่อเติมด้านข้างของอาคารเก่าเป็น 2 หรือ 3 ชั้น ควรพยายามใช้เสาเข็มเจาะ ลึกให้ใกล้เคียงกับความลึกของเสาเข็มของอาคารเดิมก็จะทำให้อัตราการทรุดตัวแตกต่างกันน้อย

แต่ถ้า ต่อเติมแค่ชั้นล่างชั้นเดียว หรือ 2 ชั้น แต่ชั้นบนเป็นระเบียง และต้องการประหยัด จะใช้เสาเข็มสั้นล่ะก็ ให้เข้าใจเลยว่า อาคารเก่ากับส่วนที่ต่อเติมจะทรุดตัวไม่เท่ากันและในไม่ช้าผนังส่วนต่อเติมที่ไปชนกับผนังอาคารเดิมย่อมจะต้องแยกแน่นอน

หากว่าท่านเริ่มเห็น"ส่วนที่ต่อเติมไว้" มีรอยร้าว หรือ รอยแยก เห็นการทรุด แตกร้าว ควรปรึกษาผู้รู้ ที่มีความเป็นมืออาชีพเพื่อวิเคราะห์สาเหตุให้ถูกต้อง สิ่งที่ท่านควรรู้ คือ การต่อเติมนั้นได้เชื่อมต่ออะไรไว้กับโครงสร้างของตัวบ้านเดิมหรือไม่.. เพราะอันนี้สำคัญมาก ถ้ามี ? สิ่งที่ควรทำอย่างเร่งด่วน คือ ตัดแยกส่วนต่อเติมออก ให้อิสระจากตัวบ้านเพื่อมิให้ส่วนต่อเติมที่ทรุด ดึงรั้งโครงสร้างของตัวบ้าน ซึ่งหากปล่อยไว้นาน อาจถึงขั้น อาคารวิบัติ

แต่การทรุดร้าว อาจไม่ได้มีอันตรายไปเสียทุกกรณี เช่นพื้นบางแห่งเกิดจากการทรุดตัวของแผ่นดินตามธรรมชาติ..แม้ว่าจะลงทุนทุบรื้อทิ้งแล้วสร้างขึ้นใหม่ก็ตาม ดังนั้นงานฐานราก งานโครงสร้างพื้น ที่มั่นคงแข็งแรงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น  :wanwan021:

ที่มา : http://www.pantown.com/group.php?display=content&id=16770&name=content247&area=4

65
 :D ดินดานในภาคการเกษตร : ชั้นดินดาน หรือ ดินดาน (pan) หมายถึง ชั้นดินที่อัดตัวกันแน่นทึบหรือชั้นที่มีสารเชื่อมอนุภาคของดินมาจับตัวกันแน่นทึบและแข็งจนเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไหลซึมของน้ำและอากาศ (คณะกรรมการจัดทำปทานุกรมปฐพีวิทยา, 2541) เมื่อกล่าวถึงชนิดของชั้นดินดาล ชั้นดินดาลก็จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ชั้นดานเปราะ (fragipan) ชั้นดานเปราะพบในดินทั่วๆไป เป็นชั้นดินดานที่มีความหนาแน่นสูงกว่าชั้นดินบนและล่าง และมีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำ  ชั้นดานแข็ง (duripan) เป็นชั้นดินที่มีการเชื่อมตัวกันแน่นทึบและแข็ง เกิดขึ้นโดยการยึดเกาะกันระหว่างอนุภาคของเม็ดดินกับสารเชื่อมต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน ดินดาลเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยเฉพาะการปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง การเขตกรรมที่ผิดวิธี เช่น การไถพรวนบ่อยครั้งและไม่ถูกวิธี การไถพรวนที่ระดับความลึกเดียวกันนานหลาย ๆ ปี ซึ่งทำให้เกิดผลระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช  ดินดานของประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมด 27,280,130 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.5 ของเนื้อที่ประเทศไทยโดย ภาคเหนือมีพื้นที่ 3,210,016 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.00 ของเนื้อที่ประเทศไทย ภาคกลาง 5,021,560 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.56 ของเนื้อที่ประเทศไทย ภาคตะวันออก 3,797,545 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.18 ของเนื้อที่ประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12,736,047 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.97 ของเนื้อที่ประเทศไทย และภาคใต้ 2,514,962 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.78 ของเนื้อที่ประเทศไทย ดินดานที่พบในที่ลุ่มมีความเหมาะสมในการทำนา การจัดการที่ดินโดยทั่วไป คือ การปรับระดับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ การปรับคันนาเพื่อการเก็บกักน้ำ และการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสดเป็นต้น ส่วนดินดานที่พบบนพื้นที่ดอน ถ้าเป็นชั้นดานแข็งที่มีแนวสัมผัสหินแข็งและเป็นดินตื้นควรใช้ประโยชน์เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ปลูกป่าทดแทนหรือปลูกพืชไร่ที่มีระบบรากสั้น ในกรณีที่พบชั้นดานอยู่ตื้นถ้าจะทำการปลูกไม้ผลก็ควรมีการปรับปรุงเฉพาะหลุม แต่ถ้าเป็นชั้นดานที่เกิดเนื่องจากการใช้ประโยชน์ การจัดการดินต้องมีการไถระเบิดดินดาน การเพิ่มอินทรียวัตถุ การเตรียมดินอย่างถูกวิธี เช่น ไม่ไถพรวนบ่อยครั้ง หรือไม่ไถพรวนขณะที่ดินเปียกเกินไปเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามควรมีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุควบคู่ไปกับการจัดการดินเพื่อให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น ลดความหนาแน่นรวมของดิน เพื่อให้รากพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ดังนั้นแนวทางในการจัดการดินดานที่เหมาะสมเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีความจำเป็นเพื่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถเพิ่มผลผลิตพืชให้กับเกษตรกรได้อย่างยั่งยืนต่อไป  :wanwan021:

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก : http://irw101.ldd.go.th/irw101.ldd/result/result_hardpan.html 
66
http://www.youtube.com/v/HnDx9J6hGf8?version=3&hl=en_US&rel=0"


นี่เป็นการเจาะดินเพื่อตกปลาตัวใหญ่ มันใหญ่มากจริง ๆ นะครับ ดูครับ ต้องดูกันครับ จากการได้ปลาจากพื้นดิน  ;D  ;D
67
 ;D เมื่อกล่าวถึงหัวขุดเจาะอุโมงค์ประเภทสมดุลย์แรงดันดิน (Earth Pressure Balance Shield) (E.P.B.) ซึ่งเป็นหัวขุดเจาะที่เหมาะสำหรับการขุดเจาะในทุกสภาพชั้นดิน ซึ่งลักษณะของหัวขุดแบบ Earth Pressure Balance เป็นหัวขุดแบบปิดหน้า เพื่อกันการพังทลายของหน้าดิน การขนถ่ายดินอาศัยดินที่อยู่ใน Soil Chamber ถูกดูดผ่าน Screw Conveyor เป็นตัวขนถ่ายดินผ่านระบบสายพานอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งทางออกของ Screw Con veyor มีประตูปิด-เปิด ด้วยระบบไฮดรอลิกอีกชั้นหนึ่ง ความเร็วของการขนถ่ายดินด้วยระบบ Screw Conveyor ขึ้นอยู่กับแรงดันดินใน Soil Chamber กล่าวคือ ถ้าสภาพดินดีจะไม่มีแรงดันดิน ถ้าสภาพดินเหลวจะทะลักเข้ามาใน Soil Chamber ทำให้เกิดแรงดัน ซึ่งแรงดันนี้จะไปกำหนดความเร็วรอบของ Screw-Conveyor ให้ช้าลง เพื่อต้านดินให้ทะลักเข้ามาน้อยลงหรือปิด Slide Gate ถ้าสภาพดินเหลวและสามารถทะลักผ่าน screw conveyor ได้

1. การควบคุมหัวขุดเจาะอุโมงค์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการเคลื่อนตัวของหัวขุดประกอบด้วย Shield Jack เป็นแม่แรงขนาดตั้งแต่ 80 ตัน จำนวนขึ้นอยู่กับขนาดของหัวขุดติดตั้งด้านหลังหัวขุด เพื่อใช้ในการถีบตัวไปข้างหน้า โดยอาศัยเปลือกอุโมงค์เป็นตัวรับแรงการบังคับแนวซ้าย-ขวา หรือ ขึ้นบนและลงข้างล่าง ให้พิจารณาเลือกตำแหน่งของ Shield Jack เช่น ต้องการให้หัวขุดเลี้ยวซ้ายให้เลือก Shield Jack ในตำแหน่งขวามือโดยยึดถือการหันหน้าเข้าหัวขุด Copy cutter คือ ฟันสามารถยึดตัวออกทางด้านรัศมี เพื่อเพิ่มการกัดหน้าดินให้เส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยให้หัวขุดสามารถเลี้ยวตัวได้มากขึ้น Articulated Steering Jack คือ ส่วนของหัวขุดที่สามารถหักงอเพื่อลดรัศมีความโค้งของอุโมงค์ ระบบควบคุมหัวขุดเจาะอุโมงค์ (TBM Driving control System) ใช้อุปกรณ์ Gyro-Compass & Computerize Level Control System

2. เทคนิคการคำนวณออกแบบความดันที่หัวเจาะ เพื่อต้านทานแรงดันดินในขณะที่ขุดเจาะ ซึ่งในการคำนวณโครงสร้างของหัวขุดจะต้องพิจารณาแรงดันดิน แรงต้านทานขณะขุดเจาะ ความหนาของ skin plate ความแข็งแรงของ ring girder และความสามารถในการดันและบิดของ cutter head เป็นต้น

3. วิธีเลือกตำแหน่งที่จะนำเครื่องมือขุดเจาะอุโมงค์ลงไป และนำดินที่ขุดเจาะออกไปทิ้ง (Construction shaft) จะต้องคำนึงถึงขนาดพื้นที่รวมทั้งทางเข้าออก เพื่อขนถ่ายวัสดุและอุปกรณ์ในการก่อสร้างที่เพียงพอและสะดวก ระยะทางระหว่าง Construction Shaft และ Reception Shaft จะต้องสัมพันธ์กับประสิทธิภาพของหัวขุดและระยะเวลาการก่อสร้าง

4. เทคนิคการวางแผนและลำดับขั้นตอนการนำดินที่ขุดเจาะอุโมงค์ไปทิ้ง โดยส่งผลกระทบต่อการจราจรน้อยที่สุด การจราจรในกรุงเทพมีผลต่อการก่อสร้างอุโมงค์มาก ไม่เพียงแต่การขนถ่ายดินเพียงอย่างเดียว การขนถ่ายชิ้นส่วนอุโมงค์ก็มีผลกระทบมาก การวางแผนจะต้องพิจารณาส่วนประกอบดังนี้

ขนาดของพื้นที่ทำงานต้องมีขนาดที่เหมาะสมและการจัดการที่ดี เช่น พื้นที่ที่เก็บดิน ต้องเพียงพอต่อการขุดเจาะอุโมงค์ในตอนกลางวันและจะต้องมีการจัดการขนย้ายดินให้หมดในเวลากลางคืน ซึ่งจะไม่กระทบกับการจราจร อีกทั้งการขนย้ายชิ้นส่วนอุโมงค์จากโรงงานผลิต จะต้องขนย้ายในเวลากลางคืนและไม่ส่งผลกระทบกับการขนย้ายดิน และในเรื่องของระยะทางจากสถานที่ทิ้งดินและหน่วยงาน ต้องสัมพันธ์กับปริมาณรถในการขนถ่าย จะต้องมีที่ทิ้งดินสำรองเพื่อป้องกันผลกระทบต่อการขุดเจาะอุโมงค์  ???

ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.mrta.co.th/frame/epb.htm

68
บันไดหนีไฟที่ลงมาจากตึก 10 ชั้นที่ว่าแน่ เจอบันไดสูงตะหง่านเสียดฟ้า ซึ่งถ้าคุณได้ขึ้นไป แบบว่า ทั้งสูง ทั้งหนาวกันเลยทีเดียว ตั้งอยู่ ณ บริเวณ เทือกเขาไท่หังซาน มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน HIGHLIGHT OR OUTSTANDING ของบันไดวนแห่งนี้ อยู่ที่ความสูงจากพื้นดินกว่า 9,144 เซนติเมตร มันสูงมากจริง ๆ นะครับ ผมว่า เหมาะกับผู้อ่าน หรือ นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบความเสียว บรรยากาศในแบบฉบับของคนชอบความสูงเป็นชีวิตจิตใจ ขึ้นไปเลยครับ เทือกเขาไท่หังซาน   
คุณก็สามารถปืนขึ้นไปได้อย่างสบาย ๆ ปลอดภัยไร้กังวลแน่นอนครับ แต่ถ้ามีอายุมากกว่า 60 ปี และ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ แต่ไม่ใช่หัวใจขาดรักนะครับ อิ อิ  ;D เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง จะไม่ได้รับการอนุญาตให้ขึ้นไป ไปชมภาพสวย ๆ ด้านล่างกันดีกว่า







ที่มา : http://thaiengineering.com/บทความที่น่าสนใจในแวดวงวิศวกรรม/1482-จีนสร้างบันไดวนสูงเท่าตึก-30-ชั้น.html
69
 ;) เรามีเรื่องราวดี ๆ น่าสนใจมาเล่าแจ่งแถลงไขให้ฟังกันอีกแล้วนะครับ ซึ่งโดยปกติแล้วน้ำกับไฟมันเป็นสิ่งที่เข้าใกล้กันไม่ได้อยู่แล้ว หรือ เป็นปฏิปักษ์กันโดยธรรมชาติอยู่แล้ว คือ ประมาณว่า น้ำสามารถลดอุณหภูมิเชื้อเพลิงที่เป็นรากฐานในการกำเนิดเปลวไฟ  ไฟก็จะดับลงไปในทันที ซึ่งคุณผู้อ่านจะเห็นได้จาก รถดับเพลิงจะมีอาวุธเป็นสายฉีดน้ำขนาดใหญ่ เพื่อทำการระงับเหตุเพลิงไหม้ให้ยุติลง แต่ควมเป็นไปไม่ได้ก็สามารถเป็นไปได้ ซึ่งเป็นข่าวดีของมนุษยชาติที่ได้แหล่งพลังงานใหม่จากใต้สมุทร โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่มีเทคโนโลยีสูงพอที่จะใช้แหล่งพลังงานนี้ให้เป็นประโยชน์ในการผลิตพลังงานรูปแบบอื่น เช่นไฟฟ้า จึงมีคำกล่าวเกี่ยวกับเรื่องของ แหล่งพลังงานที่ว่านี้คือ น้ำแข็งสามารถติดไฟ แต่น้ำแข็งติดไฟ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการที่น้ำ (H2O) เปลี่ยนรูปเป็นของแข็งเพราะได้รับความเย็นจัด แต่น้ำแข็งติดไฟ หรือมีเทนไฮเดรต หรือ มีเทนคลาเทรต (CH4•5.75H2O) เกิดจากการเปลี่ยนรูปเป็นของแข็งของก๊าซมีเทน อนุพันธ์หนึ่งของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่เกิดจากการหมักบ่มของซากสัตว์ซากพืชยุคโบราณ แต่มีเทนกลับอยู่ในรูปของก๊าซธรรมชาติ ที่เมื่อเจอความเย็นใต้ผิวท้องทะเลก็รวมตัวกันกลายเป็นของแข็งฝังตัวรอการใช้ประโยชน์อยู่ใต้ท้องทะเลนับล้านปี 

ประเทศญี่ปุ่นเพิ่งประกาศความสำเร็จในการขุดเจาะและใช้ประโยชน์จากก้อนมีเทนแข็ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลังจากที่ได้ลงทุนสำรวจและคิดค้นเทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากน้ำแข็งติดไฟใต้ทะเลญี่ปุ่นและมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ปี 2543 เป็นเงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อวันอังคาร (12 มี.ค.) ทีมงานสำรวจของญี่ปุ่นพร้อมเรือขุดเจาะชื่อ "ชิเคียว" สามารถขุดเจาะดินใต้ผิวสมุทรทางใต้ของแหลมอัตสุมิ ทางตอนกลางของญี่ปุ่น จนถึงความลึก 300 เมตร ที่มีชั้นมีเทนแข็งก่อตัวอยู่และสามารถขุดเอามีเทนแข็งขึ้นมาสกัดและผลิตเป็นพลังงานออกมาได้จริง โดยทีมงานได้ใช้เครื่องมือพิเศษในการลดความดันของก้อนน้ำแข็งติดไฟ เพื่อทำให้ก๊าซมีเทนแยกตัวออกมา ก่อนดูดขึ้นมาจากความลึก 300 เมตรขึ้นสู่พื้นผิวและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป  :wanwan021:

คุณสามารถอ่านและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ http://www.komchadluek.net/detail/20130316/153969/น้แข็งติดไฟแหล่งพลังงานแห่งอนาคต.html#.Ubkog5yBLIU

70
 ;D เสาเข็มเจาะขนาดเล็กระบบแห้ง (Dry Process) เสาเข็มระบบนี้จะต้องมีการเจาะสำรวจดิน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปทำการคำนวณหาคุณสมบัติของชั้นดิน ออกแบบเสาเข็มและการรับน้ำหนักของของเสาเข็ม เมื่อมีการกล่าวถึง การออกแบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็กจะมีกระบวนการในการทำ โดยทำการสำรวจดินและทำการเจาะสำรวจดินเพื่อนำข้อมูลการรับน้ำหนัก ได้ของดินมาทำการออกแบบ และหลักในการออกแบบเสาเข็มเจาะนั้นเมื่อได้ข้อมูลการรับน้ำหนักของดินและทำการประเมินการรับน้ำหนักของ เสาเข็มเจาะโดยวิธีน้ำหนักบรรทุกแบบคงที่ Static Method โดยจะทำการประเมินสภาพการรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะโดยวิธีทั่วไป และทำการ คาดคะเนน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มในชั้นดินเหนียวหรือชั้นดินทรายตามลำดับ ก็แล้วแต่ว่า ส่วนปลายของเสาเข็มเจาะจะตั้งอยู่บนชั้นดิน ประเภทใดและต้องเป็นไปตามข้อกำหนดวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยเป็นมาตรฐาน

การออกแบบจะมีขั้นตอนหรือข้อกำหนดและสูตรในการออกแบบโดยหลังจากทำการเจาะสำรวจดิน และทำการประเมินสภาพการรับ น้ำหนักของเสาเข็มแล้วก็จะทำการออกแบบความสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยของโครงสร้างเสาเข็มเจาะ เป็นการคำนวณเพื่อที่จะได้ทราบถึง การรับน้ำหนักของเสาเข็ม ส่วนพฤติกรรมการรับน้ำหนักและถ่ายน้ำหนักของเสาเข็มนั้นจะมีรูปประกอบและข้อมูลต่าง ๆ ให้ทราบอยู่ในหัว ข้อลักษณะการใช้เสาเข็ม การศึกษาการออกแบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็กในงานก่อสร้างก็เพื่อที่จะได้ทราบถึง การรับน้ำหนักได้ของดินและเพื่อให้ทราบถึงการรับ น้ำหนักของเสาเข็มว่ามีความปลอดภัยเพียงใด  :wanwan021:

เขียนโดย : ณัฐดนัย กุลพัฒน์พงศ์

ที่มา : http://52010310005.blogspot.com/2012/06/blog-post_19.html
71
 :wanwan015: ผมไปอ่านเจอมาอีกแล้ว แต่นี่ไม่ใช่เรื่องราวของการเจาะสำรวจดินนะครับ มันเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ระดับโลกเลยก็ว่าได้ ซึ่งในทฤษฎีฎีภูมิศาสตร์โลกระบุว่า ลักษณะทางกายภาพของโลกแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ประกอบไปด้วย ชั้นเปลือกโลก ชั้นแมนเทิล และแกนโลก ซึ่งซ่อนความจริงเกี่ยวกับกระบวนการกำเนิดโลกไว้อยู่ข้างใต้นั้น นักวิทยาศาสตร์นานาชาติกำลังรวบรวมความพยายามและเงินทุนสนับสนุนในการ "เจาะ" ท่อสำรวจผ่านหินแข็งของชั้นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรและพื้นดิน ที่มีความหนาราว 10 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่นักธรณีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเซาท์แธมป์ตันผู้ร่วมโครงการสำรวจโลกครั้งนี้ กล่าวว่า "เป็นช่วงที่ท้าทายที่สุด ราวกับการสำรวจดวงจันทร์" เพื่อเจาะสำรวจชั้นแมนเทิล ที่อยู่ใต้ชั้นเปลือกโลก นักวิทยาศาสตร์ต้องหาจุดที่ชั้นเปลือกโลกมีความบางมากที่สุด และได้พบกับจุดหมายแล้วในมหาสมุทรแปซิฟิก ดังนั้นการเจาะจึงต้องอาศัยเรือขุดเจาะและท่อขุดเจาะที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษสามารถรองรับแรงกดดันมหาศาลในบริเวณที่ต้องการสำรวจได้ ชั้นแมนเทิล เป็นชั้นของหินหนืด ที่เรียกว่า "แมกม่า" มีอุณหภูมิราว 800-4,300 องศาเซลเซียส และเป็นชั้นที่ "ซ่อน" ความลับของการก่อกำเนิดโลกไว้ ดังนั้นโครงการของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติจึงมีจุดประสงค์หลักในการ "ค้นหาตำตอบเกี่ยวกับกำเนิดโลก" สิ่งต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นโครงการเจาะสำรวจใจกลางโลก ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ราว 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3 หมื่นล้านบาท เหล่านักวิทยาศาสตร์จึงต้องระดมเงินทุนจากรัฐบาลประเทศต่าง ๆ มาสนับสนุน ล่าสุดได้เปิดการเจรจากับรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อขอเงินทุนสนับสนุนโครงการนี้  ถ้ามีเงินทุนพร้อม โครงการเจาะสำรวจใต้โลกหลายหมื่นโยชน์นี้จะบรรลุผลสำเร็จเจาะท่อสำรวจเก็บตัวอย่างหินหนืดในชั้นแมนเทิลได้ในปี 2563 ซึ่งต่างจากโครงการเจาะสำรวจดิน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า โครงการเจาะดินหลายเท่านัก และเป็นสิ่งที่น่าค้นหาเป็นอย่างมากในโลกใบนี้ของเรา หากผู้อ่านท่านใดสนใจ สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก http://www.komchadluek.net/detail/20121006/141642/โครงการหมื่นล้านเจาะสำรวจใจกลางโลก.html#.UbarK5yBLIU  :wanwan031:
72
 :D ผมไปอ่านเจอมาใน วารสาร ทางหลวง ปีที่ 50 ฉบับที่ 2 ช่วง เดือน มีนาคม-เมษายน 2556 เรื่อง การศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานของเถ้าหนัก (Bottom Ash) เพื่อใช้ในงานทาง ผลงานของ ดร. จอมปวีร์ จันทร์หิรัญ (วย.1844) ผู้อำนวยการส่วนตรวจสอบและวิเคราะห์ทางวิศวกรรม สำนักงานทางหลวงมหาสารคาม ซึ่งผมคิดว่า งานทาง งานถนน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานเจาะสำรวจดินและงานทดสอบดินเหมือนกันนะครับ จากปัญหาการทรุดตัวของโครงสร้างบนดินเหนียวอ่อนกรุงเทพมหานคร จัดว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกการก่อสร้างคันทาง หรือ คอสะพานของกรมทางหลวง ในบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แนวทางในการแก้ไขคือ ต้องหากรรมวิธีการปรับปรุงคุณภาพของดิน Ground Improvement ให้มีคุณสมบัติที่ดีในเชิงวิศวกรรมโยธา หรือการลดน้ำหนักกระทำต่อดินเหนึยวอ่อนหรือใช้วัสดุมวลเบา เช่นการปรับปรุงคุณภาพดินแบบตื้น Shallow Stabilization และ การปรับรุงคุณภาพดินแบบลึก Deep Stabilization ในปัจจุบันนี้ที่นิยมใช้มีหลายวิธีได้แก่ PVD, Cement Column, Pile เป็นต้น ตัวอย่างการทำ Shallow Stabilization ได้แก่ การปรับปรุงคุณภาพโดยการผสมซีเมนต์ Cement Stabilization การปรับปรุงคุณภาพโดยการผสมปูนขาว Lime Stabilization การปรับปรุงคุณภาพของวัสดุโดยผสมยางมะตอย Bituminous Stabilization การปรับปรุงคุณภาพของวัสดุโดยใช้สารเคมี Chemical เป็นต้น ในปัจจุบันมีการนำเอาวัสดุมวลเบา Light Weight Material มาใช้ในงานก่อสร้างกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุถมสำหรับก่อสร้างกำแพงกันดิน หรือดินถมบริเวณคอสะพาน หรือนำมาก่อสร้างคันทางบนดินเหนียวอ่อน เพื่อลดแรงดันทางด้านข้าง ที่กระทำกับโครงสร้างกำแพงกันดิน ลดน้ำหนักของคันทางที่กระทำต่อชั้นดินเดิม และลดการทรุดตัวของดินเดิมด้วยนะครับ โดยเฉพาะ ขี้เถ้าแกลบเป็นกากของเสียจากการแปรรูปผลผลิตทางภาคอุตสาหกรรมการเกษตรมากมายในแต่ละปี เช่น กากอ้อยจากโรงน้ำตาล กากปาล์มน้ำมันจากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม เศษไม้จากโรงสับไม้หรือโรงงานแปรรูปไม้เปลือก ไม้จากโรงงานผลิตเยื่อกระดาษและแกลบจากโรงสีข้าว  :wanwan017:



73
 ;D  ;D D Condo มันน่าอยู่จริง ๆ ครับ พี่น้อง ผมไปดูมาแล้ว ราคาแค่ 9000 เอง ว่าไงหล่ะ สนป่าว อิ อิ  ;D
74
 ;D โอ้การเจาะดินมันยอดมากจริง ๆ นะครับเนี่ย ผมให้การสนับสนุนการเจาะดินเป็นพิเศษเลยครับนี่  :wanwan015:
75
 ;) การทำแผนที่ชั้นดินกรุงเทพมหานครโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : การวิจัยนี้เป็นการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการสร้างแผนที่ชั้นดินของกรุงเทพฯ, สร้างแผนที่เส้นชั้นกำลังรับแรงเฉือนแบบอันเดรน และสร้างแผนที่เส้นชั้น SPT ตลอดจนการศึกษาถึงสมบัติพื้นฐานและคุณสมบัติกำลังรับน้ำหนักของชั้นดิน โดยอาศัยหลักสถิติของพื้นที่ในกรุงเทพฯ และแต่ละเขตการปกครอง ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้จากรายงานการเจาะสำรวจดินทั่วกรุงเทพฯ จำนวน 1,083 หลุมเจาะ นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบผลการวิจัยที่ได้กับผลการวิจัยในอดีต ผลการวิจัยพบว่าลักษณะชั้นดินทั่วไปของกรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกันมาก โดยสรุปได้ว่าดินชั้น WEATHERED CLAY มีระดับความลึกเฉลี่ย 2.45 เมตร จากระดับผิวดิน, ดินชั้น SOFT CLAY มีระดับความลึกเฉลี่ย 13.94 เมตร จากระดับผิวดิน และดินชั้น STIFF CLAY มีระดับความลึกเฉลี่ย 22.44 เมตร จากระดับผิวดินโดยดินชั้น WEATHERED CLAY เป็นชั้นดินที่อยู่บนสุด ระดับต่ำสุดของดินชั้นนี้อยู่ระหว่าง 0.5-5.5 เมตร ความลึกของของดินชั้นนี้มีระดับไม่สม่ำเสมอ, ดินชั้น SOFT CLAY เป็นชั้นดินที่ถัดจากดินชั้น WEATHERED CLAY ระดับต่ำสุดของดินชั้นนี้อยู่ระหว่าง 8.00-23.00 เมตร ความลึกของของดินชั้นนี้มีระดับไม่สม่ำเสมอและดินชั้น STIFF CLAY เป็นชั้นดินที่ถัดจากดินชั้น SOFT CLAYระดับต่ำสุดของดินชั้นนี้อยู่ระหว่าง 14.50-41.20 เมตร ความลึกของดินนี้มีแนวโน้มลึกซึ้งจากทางเหนือลงมาทางใต้อย่างเห็นได้ชัดเจน ส่วนการเปลี่ยนแปลงในแนวตะวันตก-ตะวันออกไม่เห็นเด่นชัด ผลการวิเคราะห์สมบัติต่างๆ จากข้อมูลทั่วกรุงเทพฯ สรุปผลการวิเคราะห์แต่ละชั้นดินได้ดังนี้ ดินชั้น SOFT CLAY มีค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบอันเดรนเฉลี่ยประมาณ1.89 ตันต่อตารางเมตร, ดินชั้น STIFF CLAY มีค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบอันเดรนเฉลี่ยประมาณ 10.56 ตันต่อตารางเมตร และมีค่า STANDARD PENETRATION TEST เฉลี่ยประมาณ 24.65 BLOWS/FT, ผลการวิเคราะห์ในรูปแผนที่เส้นชั้นของความลึกชั้นดินชนิดต่างๆ, STANDARD PENETRATION TEST, กำลังรับแรงเฉือนแบบอันเดรน เป็นการแสดงถึงแนวโน้มของค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ค่าที่ปรากฏเป็นค่าประมาณทั้งหมด การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นถึงการสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เข้ากับงานด้านวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ได้เท่านั้น ไม่สามารถใช้ผลการวิจัยในการอ้างอิงได้เนื่องจากสภาพของดินบางพื้นที่มีความแปรปรวนมาก และการกระจายของข้อมูลหลุมเจาะสำรวจดินไม่ครอบคลุมทั่วถึงในพื้นที่บางส่วน เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เกษตรกรรมควรมีการเจาะสำรวจชั้นดินในพื้นที่นั้นๆ เพื่อหาค่าคุณสมบัติพื้นฐานและคุณสมบัติทางกำลังของดินในการคำนวณค่าต่างๆ ด้านวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ต่อไป  :'(

ผู้เขียน...คมศิลป์ วังยาว
ที่มา : http://www.research.or.th/handle/123456789/174202