เมษายน 28, 2024, 11:58:49 pm

ข่าว:

บริการเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน โทร. 0-2729-5031, 085-917-7163


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Topics - denichammy

61
 ??? ในการตัดสินใจ ต่อเติมบ้านนั้น หากเราจะใช้เสาเข็มสั้นเพราะมีข้อจำกัดของขนาดพื้นที่ที่เหลือ-ก็ต้องออกแบบให้ส่วนต่อเติม ตั้งอยู่บนเสาเข็มสั้นของตัวเองทั้งหมด อย่าไปเกาะหรืออาศัยฐานรากหรือไปเชื่อมกับโครงสร้างของบ้านเดิม มิฉะนั้นนานเข้าเมื่อการทรุดตัวมาก ๆ ก็จะดึงโครงสร้าง เช่น คาน พื้น ที่เชื่อมไว้ด้วยกัน แตกหัก เสียหายได้ หลายท่านอาจมีประสบการณ์เรื่องพื้นโรงรถทรุด พื้นดินทรุดรอบๆบ้าน เริ่มจากสิ่งที่เราเห็นง่าย เช่น รอยแยกของรั้วบ้าน รอยเลื่อนแยกของพื้นลานซักล้างกับผนังบ้าน และ พื้นรอบ ๆ บ้านแม้จะเทพื้นปูกระเบื้อง หรือ ลงปูตัวหนอน หรือ แผ่นทางเดินไว้ทรุดต่ำลงไป เรื่องแบบนี้ไม่มีอันตรายอะไรมากนัก นอกจากทำให้รู้สึกไม่ค่อยสะดวกในการใช้สอยหลายอย่าง หรืออาจเกิดโพรงใต้บ้าน มีสัตว์มีพิษเข้าไปอาศัย หรือ ที่อาศัยอยู่แล้วอาจมีร่องให้ขึ้นมาได้

โดยทั่วไปปลายเสาเข็มที่ตั้งอยู่ที่ระดับลึกกว่าจะยุบตัวน้อยกว่าเสาเข็มที่ตั้งอยู่ตื้นกว่า เวลาระดับน้ำใต้ดินลดลง ดินก็จะยุบตัว ซึ่งน้อยมากๆ ดังนั้น เสาเข็มสั้น จะทรุดตัวมากกว่าอาคารที่ตั้งบนเสาเข็มยาว ยิ่งนานหลาย ๆ ปี ความแตกต่างของการทรุดตัวมาก ๆ เข้าโครงสร้างก็จะแตกหัก ถ้าหากจะต่อเติมด้านข้างของอาคารเก่าเป็น 2 หรือ 3 ชั้น ควรพยายามใช้เสาเข็มเจาะ ลึกให้ใกล้เคียงกับความลึกของเสาเข็มของอาคารเดิมก็จะทำให้อัตราการทรุดตัวแตกต่างกันน้อย

แต่ถ้า ต่อเติมแค่ชั้นล่างชั้นเดียว หรือ 2 ชั้น แต่ชั้นบนเป็นระเบียง และต้องการประหยัด จะใช้เสาเข็มสั้นล่ะก็ ให้เข้าใจเลยว่า อาคารเก่ากับส่วนที่ต่อเติมจะทรุดตัวไม่เท่ากันและในไม่ช้าผนังส่วนต่อเติมที่ไปชนกับผนังอาคารเดิมย่อมจะต้องแยกแน่นอน

หากว่าท่านเริ่มเห็น"ส่วนที่ต่อเติมไว้" มีรอยร้าว หรือ รอยแยก เห็นการทรุด แตกร้าว ควรปรึกษาผู้รู้ ที่มีความเป็นมืออาชีพเพื่อวิเคราะห์สาเหตุให้ถูกต้อง สิ่งที่ท่านควรรู้ คือ การต่อเติมนั้นได้เชื่อมต่ออะไรไว้กับโครงสร้างของตัวบ้านเดิมหรือไม่.. เพราะอันนี้สำคัญมาก ถ้ามี ? สิ่งที่ควรทำอย่างเร่งด่วน คือ ตัดแยกส่วนต่อเติมออก ให้อิสระจากตัวบ้านเพื่อมิให้ส่วนต่อเติมที่ทรุด ดึงรั้งโครงสร้างของตัวบ้าน ซึ่งหากปล่อยไว้นาน อาจถึงขั้น อาคารวิบัติ

แต่การทรุดร้าว อาจไม่ได้มีอันตรายไปเสียทุกกรณี เช่นพื้นบางแห่งเกิดจากการทรุดตัวของแผ่นดินตามธรรมชาติ..แม้ว่าจะลงทุนทุบรื้อทิ้งแล้วสร้างขึ้นใหม่ก็ตาม ดังนั้นงานฐานราก งานโครงสร้างพื้น ที่มั่นคงแข็งแรงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น  :wanwan021:

ที่มา : http://www.pantown.com/group.php?display=content&id=16770&name=content247&area=4

62
 :D ดินดานในภาคการเกษตร : ชั้นดินดาน หรือ ดินดาน (pan) หมายถึง ชั้นดินที่อัดตัวกันแน่นทึบหรือชั้นที่มีสารเชื่อมอนุภาคของดินมาจับตัวกันแน่นทึบและแข็งจนเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไหลซึมของน้ำและอากาศ (คณะกรรมการจัดทำปทานุกรมปฐพีวิทยา, 2541) เมื่อกล่าวถึงชนิดของชั้นดินดาล ชั้นดินดาลก็จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ชั้นดานเปราะ (fragipan) ชั้นดานเปราะพบในดินทั่วๆไป เป็นชั้นดินดานที่มีความหนาแน่นสูงกว่าชั้นดินบนและล่าง และมีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำ  ชั้นดานแข็ง (duripan) เป็นชั้นดินที่มีการเชื่อมตัวกันแน่นทึบและแข็ง เกิดขึ้นโดยการยึดเกาะกันระหว่างอนุภาคของเม็ดดินกับสารเชื่อมต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน ดินดาลเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยเฉพาะการปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง การเขตกรรมที่ผิดวิธี เช่น การไถพรวนบ่อยครั้งและไม่ถูกวิธี การไถพรวนที่ระดับความลึกเดียวกันนานหลาย ๆ ปี ซึ่งทำให้เกิดผลระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช  ดินดานของประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมด 27,280,130 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.5 ของเนื้อที่ประเทศไทยโดย ภาคเหนือมีพื้นที่ 3,210,016 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.00 ของเนื้อที่ประเทศไทย ภาคกลาง 5,021,560 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.56 ของเนื้อที่ประเทศไทย ภาคตะวันออก 3,797,545 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.18 ของเนื้อที่ประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12,736,047 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.97 ของเนื้อที่ประเทศไทย และภาคใต้ 2,514,962 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.78 ของเนื้อที่ประเทศไทย ดินดานที่พบในที่ลุ่มมีความเหมาะสมในการทำนา การจัดการที่ดินโดยทั่วไป คือ การปรับระดับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ การปรับคันนาเพื่อการเก็บกักน้ำ และการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสดเป็นต้น ส่วนดินดานที่พบบนพื้นที่ดอน ถ้าเป็นชั้นดานแข็งที่มีแนวสัมผัสหินแข็งและเป็นดินตื้นควรใช้ประโยชน์เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ปลูกป่าทดแทนหรือปลูกพืชไร่ที่มีระบบรากสั้น ในกรณีที่พบชั้นดานอยู่ตื้นถ้าจะทำการปลูกไม้ผลก็ควรมีการปรับปรุงเฉพาะหลุม แต่ถ้าเป็นชั้นดานที่เกิดเนื่องจากการใช้ประโยชน์ การจัดการดินต้องมีการไถระเบิดดินดาน การเพิ่มอินทรียวัตถุ การเตรียมดินอย่างถูกวิธี เช่น ไม่ไถพรวนบ่อยครั้ง หรือไม่ไถพรวนขณะที่ดินเปียกเกินไปเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามควรมีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุควบคู่ไปกับการจัดการดินเพื่อให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น ลดความหนาแน่นรวมของดิน เพื่อให้รากพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ดังนั้นแนวทางในการจัดการดินดานที่เหมาะสมเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีความจำเป็นเพื่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถเพิ่มผลผลิตพืชให้กับเกษตรกรได้อย่างยั่งยืนต่อไป  :wanwan021:

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก : http://irw101.ldd.go.th/irw101.ldd/result/result_hardpan.html 
63
http://www.youtube.com/v/HnDx9J6hGf8?version=3&hl=en_US&rel=0"


นี่เป็นการเจาะดินเพื่อตกปลาตัวใหญ่ มันใหญ่มากจริง ๆ นะครับ ดูครับ ต้องดูกันครับ จากการได้ปลาจากพื้นดิน  ;D  ;D
64
 ;D เมื่อกล่าวถึงหัวขุดเจาะอุโมงค์ประเภทสมดุลย์แรงดันดิน (Earth Pressure Balance Shield) (E.P.B.) ซึ่งเป็นหัวขุดเจาะที่เหมาะสำหรับการขุดเจาะในทุกสภาพชั้นดิน ซึ่งลักษณะของหัวขุดแบบ Earth Pressure Balance เป็นหัวขุดแบบปิดหน้า เพื่อกันการพังทลายของหน้าดิน การขนถ่ายดินอาศัยดินที่อยู่ใน Soil Chamber ถูกดูดผ่าน Screw Conveyor เป็นตัวขนถ่ายดินผ่านระบบสายพานอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งทางออกของ Screw Con veyor มีประตูปิด-เปิด ด้วยระบบไฮดรอลิกอีกชั้นหนึ่ง ความเร็วของการขนถ่ายดินด้วยระบบ Screw Conveyor ขึ้นอยู่กับแรงดันดินใน Soil Chamber กล่าวคือ ถ้าสภาพดินดีจะไม่มีแรงดันดิน ถ้าสภาพดินเหลวจะทะลักเข้ามาใน Soil Chamber ทำให้เกิดแรงดัน ซึ่งแรงดันนี้จะไปกำหนดความเร็วรอบของ Screw-Conveyor ให้ช้าลง เพื่อต้านดินให้ทะลักเข้ามาน้อยลงหรือปิด Slide Gate ถ้าสภาพดินเหลวและสามารถทะลักผ่าน screw conveyor ได้

1. การควบคุมหัวขุดเจาะอุโมงค์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการเคลื่อนตัวของหัวขุดประกอบด้วย Shield Jack เป็นแม่แรงขนาดตั้งแต่ 80 ตัน จำนวนขึ้นอยู่กับขนาดของหัวขุดติดตั้งด้านหลังหัวขุด เพื่อใช้ในการถีบตัวไปข้างหน้า โดยอาศัยเปลือกอุโมงค์เป็นตัวรับแรงการบังคับแนวซ้าย-ขวา หรือ ขึ้นบนและลงข้างล่าง ให้พิจารณาเลือกตำแหน่งของ Shield Jack เช่น ต้องการให้หัวขุดเลี้ยวซ้ายให้เลือก Shield Jack ในตำแหน่งขวามือโดยยึดถือการหันหน้าเข้าหัวขุด Copy cutter คือ ฟันสามารถยึดตัวออกทางด้านรัศมี เพื่อเพิ่มการกัดหน้าดินให้เส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยให้หัวขุดสามารถเลี้ยวตัวได้มากขึ้น Articulated Steering Jack คือ ส่วนของหัวขุดที่สามารถหักงอเพื่อลดรัศมีความโค้งของอุโมงค์ ระบบควบคุมหัวขุดเจาะอุโมงค์ (TBM Driving control System) ใช้อุปกรณ์ Gyro-Compass & Computerize Level Control System

2. เทคนิคการคำนวณออกแบบความดันที่หัวเจาะ เพื่อต้านทานแรงดันดินในขณะที่ขุดเจาะ ซึ่งในการคำนวณโครงสร้างของหัวขุดจะต้องพิจารณาแรงดันดิน แรงต้านทานขณะขุดเจาะ ความหนาของ skin plate ความแข็งแรงของ ring girder และความสามารถในการดันและบิดของ cutter head เป็นต้น

3. วิธีเลือกตำแหน่งที่จะนำเครื่องมือขุดเจาะอุโมงค์ลงไป และนำดินที่ขุดเจาะออกไปทิ้ง (Construction shaft) จะต้องคำนึงถึงขนาดพื้นที่รวมทั้งทางเข้าออก เพื่อขนถ่ายวัสดุและอุปกรณ์ในการก่อสร้างที่เพียงพอและสะดวก ระยะทางระหว่าง Construction Shaft และ Reception Shaft จะต้องสัมพันธ์กับประสิทธิภาพของหัวขุดและระยะเวลาการก่อสร้าง

4. เทคนิคการวางแผนและลำดับขั้นตอนการนำดินที่ขุดเจาะอุโมงค์ไปทิ้ง โดยส่งผลกระทบต่อการจราจรน้อยที่สุด การจราจรในกรุงเทพมีผลต่อการก่อสร้างอุโมงค์มาก ไม่เพียงแต่การขนถ่ายดินเพียงอย่างเดียว การขนถ่ายชิ้นส่วนอุโมงค์ก็มีผลกระทบมาก การวางแผนจะต้องพิจารณาส่วนประกอบดังนี้

ขนาดของพื้นที่ทำงานต้องมีขนาดที่เหมาะสมและการจัดการที่ดี เช่น พื้นที่ที่เก็บดิน ต้องเพียงพอต่อการขุดเจาะอุโมงค์ในตอนกลางวันและจะต้องมีการจัดการขนย้ายดินให้หมดในเวลากลางคืน ซึ่งจะไม่กระทบกับการจราจร อีกทั้งการขนย้ายชิ้นส่วนอุโมงค์จากโรงงานผลิต จะต้องขนย้ายในเวลากลางคืนและไม่ส่งผลกระทบกับการขนย้ายดิน และในเรื่องของระยะทางจากสถานที่ทิ้งดินและหน่วยงาน ต้องสัมพันธ์กับปริมาณรถในการขนถ่าย จะต้องมีที่ทิ้งดินสำรองเพื่อป้องกันผลกระทบต่อการขุดเจาะอุโมงค์  ???

ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.mrta.co.th/frame/epb.htm

65
บันไดหนีไฟที่ลงมาจากตึก 10 ชั้นที่ว่าแน่ เจอบันไดสูงตะหง่านเสียดฟ้า ซึ่งถ้าคุณได้ขึ้นไป แบบว่า ทั้งสูง ทั้งหนาวกันเลยทีเดียว ตั้งอยู่ ณ บริเวณ เทือกเขาไท่หังซาน มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน HIGHLIGHT OR OUTSTANDING ของบันไดวนแห่งนี้ อยู่ที่ความสูงจากพื้นดินกว่า 9,144 เซนติเมตร มันสูงมากจริง ๆ นะครับ ผมว่า เหมาะกับผู้อ่าน หรือ นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบความเสียว บรรยากาศในแบบฉบับของคนชอบความสูงเป็นชีวิตจิตใจ ขึ้นไปเลยครับ เทือกเขาไท่หังซาน   
คุณก็สามารถปืนขึ้นไปได้อย่างสบาย ๆ ปลอดภัยไร้กังวลแน่นอนครับ แต่ถ้ามีอายุมากกว่า 60 ปี และ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ แต่ไม่ใช่หัวใจขาดรักนะครับ อิ อิ  ;D เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง จะไม่ได้รับการอนุญาตให้ขึ้นไป ไปชมภาพสวย ๆ ด้านล่างกันดีกว่า







ที่มา : http://thaiengineering.com/บทความที่น่าสนใจในแวดวงวิศวกรรม/1482-จีนสร้างบันไดวนสูงเท่าตึก-30-ชั้น.html
66
 ;) เรามีเรื่องราวดี ๆ น่าสนใจมาเล่าแจ่งแถลงไขให้ฟังกันอีกแล้วนะครับ ซึ่งโดยปกติแล้วน้ำกับไฟมันเป็นสิ่งที่เข้าใกล้กันไม่ได้อยู่แล้ว หรือ เป็นปฏิปักษ์กันโดยธรรมชาติอยู่แล้ว คือ ประมาณว่า น้ำสามารถลดอุณหภูมิเชื้อเพลิงที่เป็นรากฐานในการกำเนิดเปลวไฟ  ไฟก็จะดับลงไปในทันที ซึ่งคุณผู้อ่านจะเห็นได้จาก รถดับเพลิงจะมีอาวุธเป็นสายฉีดน้ำขนาดใหญ่ เพื่อทำการระงับเหตุเพลิงไหม้ให้ยุติลง แต่ควมเป็นไปไม่ได้ก็สามารถเป็นไปได้ ซึ่งเป็นข่าวดีของมนุษยชาติที่ได้แหล่งพลังงานใหม่จากใต้สมุทร โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่มีเทคโนโลยีสูงพอที่จะใช้แหล่งพลังงานนี้ให้เป็นประโยชน์ในการผลิตพลังงานรูปแบบอื่น เช่นไฟฟ้า จึงมีคำกล่าวเกี่ยวกับเรื่องของ แหล่งพลังงานที่ว่านี้คือ น้ำแข็งสามารถติดไฟ แต่น้ำแข็งติดไฟ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการที่น้ำ (H2O) เปลี่ยนรูปเป็นของแข็งเพราะได้รับความเย็นจัด แต่น้ำแข็งติดไฟ หรือมีเทนไฮเดรต หรือ มีเทนคลาเทรต (CH4•5.75H2O) เกิดจากการเปลี่ยนรูปเป็นของแข็งของก๊าซมีเทน อนุพันธ์หนึ่งของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่เกิดจากการหมักบ่มของซากสัตว์ซากพืชยุคโบราณ แต่มีเทนกลับอยู่ในรูปของก๊าซธรรมชาติ ที่เมื่อเจอความเย็นใต้ผิวท้องทะเลก็รวมตัวกันกลายเป็นของแข็งฝังตัวรอการใช้ประโยชน์อยู่ใต้ท้องทะเลนับล้านปี 

ประเทศญี่ปุ่นเพิ่งประกาศความสำเร็จในการขุดเจาะและใช้ประโยชน์จากก้อนมีเทนแข็ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลังจากที่ได้ลงทุนสำรวจและคิดค้นเทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากน้ำแข็งติดไฟใต้ทะเลญี่ปุ่นและมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ปี 2543 เป็นเงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อวันอังคาร (12 มี.ค.) ทีมงานสำรวจของญี่ปุ่นพร้อมเรือขุดเจาะชื่อ "ชิเคียว" สามารถขุดเจาะดินใต้ผิวสมุทรทางใต้ของแหลมอัตสุมิ ทางตอนกลางของญี่ปุ่น จนถึงความลึก 300 เมตร ที่มีชั้นมีเทนแข็งก่อตัวอยู่และสามารถขุดเอามีเทนแข็งขึ้นมาสกัดและผลิตเป็นพลังงานออกมาได้จริง โดยทีมงานได้ใช้เครื่องมือพิเศษในการลดความดันของก้อนน้ำแข็งติดไฟ เพื่อทำให้ก๊าซมีเทนแยกตัวออกมา ก่อนดูดขึ้นมาจากความลึก 300 เมตรขึ้นสู่พื้นผิวและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป  :wanwan021:

คุณสามารถอ่านและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ http://www.komchadluek.net/detail/20130316/153969/น้แข็งติดไฟแหล่งพลังงานแห่งอนาคต.html#.Ubkog5yBLIU

67
 ;D เสาเข็มเจาะขนาดเล็กระบบแห้ง (Dry Process) เสาเข็มระบบนี้จะต้องมีการเจาะสำรวจดิน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปทำการคำนวณหาคุณสมบัติของชั้นดิน ออกแบบเสาเข็มและการรับน้ำหนักของของเสาเข็ม เมื่อมีการกล่าวถึง การออกแบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็กจะมีกระบวนการในการทำ โดยทำการสำรวจดินและทำการเจาะสำรวจดินเพื่อนำข้อมูลการรับน้ำหนัก ได้ของดินมาทำการออกแบบ และหลักในการออกแบบเสาเข็มเจาะนั้นเมื่อได้ข้อมูลการรับน้ำหนักของดินและทำการประเมินการรับน้ำหนักของ เสาเข็มเจาะโดยวิธีน้ำหนักบรรทุกแบบคงที่ Static Method โดยจะทำการประเมินสภาพการรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะโดยวิธีทั่วไป และทำการ คาดคะเนน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มในชั้นดินเหนียวหรือชั้นดินทรายตามลำดับ ก็แล้วแต่ว่า ส่วนปลายของเสาเข็มเจาะจะตั้งอยู่บนชั้นดิน ประเภทใดและต้องเป็นไปตามข้อกำหนดวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยเป็นมาตรฐาน

การออกแบบจะมีขั้นตอนหรือข้อกำหนดและสูตรในการออกแบบโดยหลังจากทำการเจาะสำรวจดิน และทำการประเมินสภาพการรับ น้ำหนักของเสาเข็มแล้วก็จะทำการออกแบบความสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยของโครงสร้างเสาเข็มเจาะ เป็นการคำนวณเพื่อที่จะได้ทราบถึง การรับน้ำหนักของเสาเข็ม ส่วนพฤติกรรมการรับน้ำหนักและถ่ายน้ำหนักของเสาเข็มนั้นจะมีรูปประกอบและข้อมูลต่าง ๆ ให้ทราบอยู่ในหัว ข้อลักษณะการใช้เสาเข็ม การศึกษาการออกแบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็กในงานก่อสร้างก็เพื่อที่จะได้ทราบถึง การรับน้ำหนักได้ของดินและเพื่อให้ทราบถึงการรับ น้ำหนักของเสาเข็มว่ามีความปลอดภัยเพียงใด  :wanwan021:

เขียนโดย : ณัฐดนัย กุลพัฒน์พงศ์

ที่มา : http://52010310005.blogspot.com/2012/06/blog-post_19.html
68
 :wanwan015: ผมไปอ่านเจอมาอีกแล้ว แต่นี่ไม่ใช่เรื่องราวของการเจาะสำรวจดินนะครับ มันเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ระดับโลกเลยก็ว่าได้ ซึ่งในทฤษฎีฎีภูมิศาสตร์โลกระบุว่า ลักษณะทางกายภาพของโลกแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ประกอบไปด้วย ชั้นเปลือกโลก ชั้นแมนเทิล และแกนโลก ซึ่งซ่อนความจริงเกี่ยวกับกระบวนการกำเนิดโลกไว้อยู่ข้างใต้นั้น นักวิทยาศาสตร์นานาชาติกำลังรวบรวมความพยายามและเงินทุนสนับสนุนในการ "เจาะ" ท่อสำรวจผ่านหินแข็งของชั้นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรและพื้นดิน ที่มีความหนาราว 10 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่นักธรณีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเซาท์แธมป์ตันผู้ร่วมโครงการสำรวจโลกครั้งนี้ กล่าวว่า "เป็นช่วงที่ท้าทายที่สุด ราวกับการสำรวจดวงจันทร์" เพื่อเจาะสำรวจชั้นแมนเทิล ที่อยู่ใต้ชั้นเปลือกโลก นักวิทยาศาสตร์ต้องหาจุดที่ชั้นเปลือกโลกมีความบางมากที่สุด และได้พบกับจุดหมายแล้วในมหาสมุทรแปซิฟิก ดังนั้นการเจาะจึงต้องอาศัยเรือขุดเจาะและท่อขุดเจาะที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษสามารถรองรับแรงกดดันมหาศาลในบริเวณที่ต้องการสำรวจได้ ชั้นแมนเทิล เป็นชั้นของหินหนืด ที่เรียกว่า "แมกม่า" มีอุณหภูมิราว 800-4,300 องศาเซลเซียส และเป็นชั้นที่ "ซ่อน" ความลับของการก่อกำเนิดโลกไว้ ดังนั้นโครงการของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติจึงมีจุดประสงค์หลักในการ "ค้นหาตำตอบเกี่ยวกับกำเนิดโลก" สิ่งต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นโครงการเจาะสำรวจใจกลางโลก ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ราว 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3 หมื่นล้านบาท เหล่านักวิทยาศาสตร์จึงต้องระดมเงินทุนจากรัฐบาลประเทศต่าง ๆ มาสนับสนุน ล่าสุดได้เปิดการเจรจากับรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อขอเงินทุนสนับสนุนโครงการนี้  ถ้ามีเงินทุนพร้อม โครงการเจาะสำรวจใต้โลกหลายหมื่นโยชน์นี้จะบรรลุผลสำเร็จเจาะท่อสำรวจเก็บตัวอย่างหินหนืดในชั้นแมนเทิลได้ในปี 2563 ซึ่งต่างจากโครงการเจาะสำรวจดิน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า โครงการเจาะดินหลายเท่านัก และเป็นสิ่งที่น่าค้นหาเป็นอย่างมากในโลกใบนี้ของเรา หากผู้อ่านท่านใดสนใจ สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก http://www.komchadluek.net/detail/20121006/141642/โครงการหมื่นล้านเจาะสำรวจใจกลางโลก.html#.UbarK5yBLIU  :wanwan031:
69
 :D ผมไปอ่านเจอมาใน วารสาร ทางหลวง ปีที่ 50 ฉบับที่ 2 ช่วง เดือน มีนาคม-เมษายน 2556 เรื่อง การศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานของเถ้าหนัก (Bottom Ash) เพื่อใช้ในงานทาง ผลงานของ ดร. จอมปวีร์ จันทร์หิรัญ (วย.1844) ผู้อำนวยการส่วนตรวจสอบและวิเคราะห์ทางวิศวกรรม สำนักงานทางหลวงมหาสารคาม ซึ่งผมคิดว่า งานทาง งานถนน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานเจาะสำรวจดินและงานทดสอบดินเหมือนกันนะครับ จากปัญหาการทรุดตัวของโครงสร้างบนดินเหนียวอ่อนกรุงเทพมหานคร จัดว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกการก่อสร้างคันทาง หรือ คอสะพานของกรมทางหลวง ในบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แนวทางในการแก้ไขคือ ต้องหากรรมวิธีการปรับปรุงคุณภาพของดิน Ground Improvement ให้มีคุณสมบัติที่ดีในเชิงวิศวกรรมโยธา หรือการลดน้ำหนักกระทำต่อดินเหนึยวอ่อนหรือใช้วัสดุมวลเบา เช่นการปรับปรุงคุณภาพดินแบบตื้น Shallow Stabilization และ การปรับรุงคุณภาพดินแบบลึก Deep Stabilization ในปัจจุบันนี้ที่นิยมใช้มีหลายวิธีได้แก่ PVD, Cement Column, Pile เป็นต้น ตัวอย่างการทำ Shallow Stabilization ได้แก่ การปรับปรุงคุณภาพโดยการผสมซีเมนต์ Cement Stabilization การปรับปรุงคุณภาพโดยการผสมปูนขาว Lime Stabilization การปรับปรุงคุณภาพของวัสดุโดยผสมยางมะตอย Bituminous Stabilization การปรับปรุงคุณภาพของวัสดุโดยใช้สารเคมี Chemical เป็นต้น ในปัจจุบันมีการนำเอาวัสดุมวลเบา Light Weight Material มาใช้ในงานก่อสร้างกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุถมสำหรับก่อสร้างกำแพงกันดิน หรือดินถมบริเวณคอสะพาน หรือนำมาก่อสร้างคันทางบนดินเหนียวอ่อน เพื่อลดแรงดันทางด้านข้าง ที่กระทำกับโครงสร้างกำแพงกันดิน ลดน้ำหนักของคันทางที่กระทำต่อชั้นดินเดิม และลดการทรุดตัวของดินเดิมด้วยนะครับ โดยเฉพาะ ขี้เถ้าแกลบเป็นกากของเสียจากการแปรรูปผลผลิตทางภาคอุตสาหกรรมการเกษตรมากมายในแต่ละปี เช่น กากอ้อยจากโรงน้ำตาล กากปาล์มน้ำมันจากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม เศษไม้จากโรงสับไม้หรือโรงงานแปรรูปไม้เปลือก ไม้จากโรงงานผลิตเยื่อกระดาษและแกลบจากโรงสีข้าว  :wanwan017:



70
 ;) การทำแผนที่ชั้นดินกรุงเทพมหานครโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : การวิจัยนี้เป็นการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการสร้างแผนที่ชั้นดินของกรุงเทพฯ, สร้างแผนที่เส้นชั้นกำลังรับแรงเฉือนแบบอันเดรน และสร้างแผนที่เส้นชั้น SPT ตลอดจนการศึกษาถึงสมบัติพื้นฐานและคุณสมบัติกำลังรับน้ำหนักของชั้นดิน โดยอาศัยหลักสถิติของพื้นที่ในกรุงเทพฯ และแต่ละเขตการปกครอง ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้จากรายงานการเจาะสำรวจดินทั่วกรุงเทพฯ จำนวน 1,083 หลุมเจาะ นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบผลการวิจัยที่ได้กับผลการวิจัยในอดีต ผลการวิจัยพบว่าลักษณะชั้นดินทั่วไปของกรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกันมาก โดยสรุปได้ว่าดินชั้น WEATHERED CLAY มีระดับความลึกเฉลี่ย 2.45 เมตร จากระดับผิวดิน, ดินชั้น SOFT CLAY มีระดับความลึกเฉลี่ย 13.94 เมตร จากระดับผิวดิน และดินชั้น STIFF CLAY มีระดับความลึกเฉลี่ย 22.44 เมตร จากระดับผิวดินโดยดินชั้น WEATHERED CLAY เป็นชั้นดินที่อยู่บนสุด ระดับต่ำสุดของดินชั้นนี้อยู่ระหว่าง 0.5-5.5 เมตร ความลึกของของดินชั้นนี้มีระดับไม่สม่ำเสมอ, ดินชั้น SOFT CLAY เป็นชั้นดินที่ถัดจากดินชั้น WEATHERED CLAY ระดับต่ำสุดของดินชั้นนี้อยู่ระหว่าง 8.00-23.00 เมตร ความลึกของของดินชั้นนี้มีระดับไม่สม่ำเสมอและดินชั้น STIFF CLAY เป็นชั้นดินที่ถัดจากดินชั้น SOFT CLAYระดับต่ำสุดของดินชั้นนี้อยู่ระหว่าง 14.50-41.20 เมตร ความลึกของดินนี้มีแนวโน้มลึกซึ้งจากทางเหนือลงมาทางใต้อย่างเห็นได้ชัดเจน ส่วนการเปลี่ยนแปลงในแนวตะวันตก-ตะวันออกไม่เห็นเด่นชัด ผลการวิเคราะห์สมบัติต่างๆ จากข้อมูลทั่วกรุงเทพฯ สรุปผลการวิเคราะห์แต่ละชั้นดินได้ดังนี้ ดินชั้น SOFT CLAY มีค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบอันเดรนเฉลี่ยประมาณ1.89 ตันต่อตารางเมตร, ดินชั้น STIFF CLAY มีค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบอันเดรนเฉลี่ยประมาณ 10.56 ตันต่อตารางเมตร และมีค่า STANDARD PENETRATION TEST เฉลี่ยประมาณ 24.65 BLOWS/FT, ผลการวิเคราะห์ในรูปแผนที่เส้นชั้นของความลึกชั้นดินชนิดต่างๆ, STANDARD PENETRATION TEST, กำลังรับแรงเฉือนแบบอันเดรน เป็นการแสดงถึงแนวโน้มของค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ค่าที่ปรากฏเป็นค่าประมาณทั้งหมด การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นถึงการสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เข้ากับงานด้านวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ได้เท่านั้น ไม่สามารถใช้ผลการวิจัยในการอ้างอิงได้เนื่องจากสภาพของดินบางพื้นที่มีความแปรปรวนมาก และการกระจายของข้อมูลหลุมเจาะสำรวจดินไม่ครอบคลุมทั่วถึงในพื้นที่บางส่วน เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เกษตรกรรมควรมีการเจาะสำรวจชั้นดินในพื้นที่นั้นๆ เพื่อหาค่าคุณสมบัติพื้นฐานและคุณสมบัติทางกำลังของดินในการคำนวณค่าต่างๆ ด้านวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ต่อไป  :'(

ผู้เขียน...คมศิลป์ วังยาว
ที่มา : http://www.research.or.th/handle/123456789/174202
71
 :D เจาะดินป้องตึกทรุด แนะลูกบ้านเช็กประวัติที่ดินที่จมน้ำ-ริมตลิ่งเสี่ยง : วสท.ออกโรงเตือนผู้ประกอบการ-วิศวกรออกแบบก่อสร้างอาคารทั้งบ้านอยู่อาศัย-ตึกสูงใหญ่ต้องศึกษาประวัติทำเล จี้ควักกระเป๋าเพิ่มเจาะสำรวจชั้นดินไม่ควรใช้การคาดคะเนโฟกัสพื้นที่น้ำท่วม บ่อปลา ที่ทิ้งขยะเก่าชานเมืองปริมณฑลทำเลริมน้ำตอกเสาเข็มไม่ลึกพอถมดินไม่แน่นมีสิทธิ์ทรุดเอียงสูง  ตัวอย่างอพาร์ตเมนต์ย่านรังสิต นายกสมาคมบ้านจัดสรรยันน้ำท่วมไม่กระทบใช้เข็มเจาะจนตอกไม่ลง

การทรุดเอียงของอาคารเกิดขึ้นบ่อยครั้งแต่ละครั้งมีสาเหตุต่างกันออกไปอย่างรายล่าสุดอพาร์ตเมนต์สูง 7 ชั้น หลังห้างสรรพสินค้าเซียร์รังสิต จังหวัดปทุมธานี สร้างความหวาดผวาให้กับผู้อยู่อาศัยในย่านเดียวกันไม่น้อย และเชื่อว่าในหลายพื้นที่อาจอยู่ในข่ายเสี่ยงในลักษณะดังกล่าวได้เช่นกัน หากผู้ประกอบการและวิศวกรผู้ออกแบบร่วมมือกันประหยัดต้นทุนจนเกินไปโดยเฉพาะพื้นที่น้ำท่วมเป็นเวลานานและทำเลริมน้ำ

ต่อเรื่องนี้นาย สุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกสมาคมวิศวกรรมสถานในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าสมาคม ได้มีมาตรการลงโทษวิศวกรผู้ออกแบบที่ประมาทเลินเล่อ หรือสมรู้ร่วมคิดกับเจ้าของอาคารเพื่อลดต้นทุนต่างๆในการออกแบบก่อสร้างอาคารไม่ให้เป็นไปตามวิชาชีพจนเกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินกับผู้ใช้อาคารและผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงทุกราย

ล่าสุดกรณีอาคารอพาร์ตเมนต์ สูง 7 ชั้นหลังเซียร์รังสิต จังหวัดปทุมธานี ที่การเอียงเกิดจากความผิดพลาดของวิศวกรผู้ออกแบบที่ไม่ได้เจาะสำรวจชั้นดินไปตรวจสอบว่าดินสามารถรับน้ำหนักของอาคารได้มากน้อยแค่ไหน   ซึ่งเสาเข็มที่ตอกลงไป หากเจอดินอ่อนจะเสี่ยงต่อการทรุด อย่างไรก็ดีเมื่อพบปัญหาควรเจาะให้ลึกจนกว่าจะเจอชั้นดินแข็ง
ที่ผ่านมาเท่าที่ทราบอพาร์ตเมนต์ดังกล่าวน่าจะเกิดจากการคาดคะเนจากการเฉพาะค่าเฉลี่ยที่ใช้ตอกเสาเข็มทั่วไปแต่อาจไปเจอชั้นดินอ่อนทำให้ไม่สามารถยึดเกาะเสาเข็มได้ส่งผลให้อาคารเกิดการทรุดเอียง

ต่อข้อถามที่ว่าพื้นที่ดังกล่าวเคยประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่จะมีส่วนทำให้อาคารทรุดเอียงได้หรือไม่ นายสุวัฒน์สะท้อนว่า ตามข้อเท็จจริงไม่น่าจะเกี่ยวโดยตรง แต่ตามหลักปฏิบัติ เจ้าของโครงการควรเพิ่มค่าใช้จ่ายด้วยการให้วิศวกรเจาะสำรวจชั้นดินแต่เท่าที่ทราบอาคารดังกล่าว ไม่น่าจะมีการเจาะสำรวจชั้นดิน  โดยทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลดินจะอ่อนอยู่แล้ว ดังนั้นจะต้องตอกเสาเข็มเฉลี่ยลึกประมาณ 18-21 เมตร ส่วนต่างจังหวัดจะแตกต่างออกไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมาตรฐานความลึก 18-21เมตร ในเขตกทม.และปริมณฑลไม่ใช่มาตรฐานที่ชัดเจนเสมอไปที่ถูกต้องที่สุดคือวิศวกรต้องเจาะชั้นดินวิเคราะห์ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงที่สุด

นอกจากนี้ หากต้องการตรวจสอบซ้ำว่า ความลึกของเสาเข็มที่เจาะลงไปจะมีความมั่นคงแข็งแรงและรองรับน้ำหนักอาคารได้หรือไม่ เจ้าของอาคารจะต้องลงทุนเพิ่มโดยให้วิศวกร วัดระดับน้ำหนักเทียบเท่ากับตัวอาคารที่จะสร้าง ทิ้งดิ่งหรือตั้งลงไปบนเสาเข็มหากเสาเข็มรับน้ำหนักได้ ก็ถือว่า ก่อสร้างได้ และปลอดภัยหากไม่สามารถรับน้ำหนักได้ วิศวกรและเจ้าของอาคารต้องตรวจสอบใหม่

อย่างไรก็ดี อาคารสูง-ใหญ่ ที่มีชื่อเสียงในกทม. มักไม่ค่อยมีปัญหาเพราะมักเจาะสำรวจชั้นดินแต่ที่น่าห่วงจะเป็นอาคารเตี้ยหรือบ้านจัดสรร  ยิ่งโซนประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่  ในเขตปริมณฑล หรือทำเลที่ออกไปทางชานเมือง ทำเลริมตลิ่งที่ถูกน้ำท่วม อาจดินสไลด์ได้ เนื่องดินอุ้มน้ำ หรือแช่น้ำอยู่นานคุณสมบัติเกาะยึดลดลงกลายเป็นดินอ่อน  ดังนั้นวิศวกรออกแบบต้องรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรให้ฐานรากแข็งแรง

โดยปัจจุบันวิศวกรและผู้ประกอบการมักใช้วิธีหาค่าเฉลี่ยโดยเทียบกับแปลงข้างเคียงเช่นบ้านข้างเคียงเจาะ3 เมตร  แต่ที่จริงแล้วไม่ควรประมาท แม้แปลงติดกันแต่ประวัติของแต่ละแปลงไม่เหมือนกันบางแปลงเคยเป็นบ่อขยะเก่าหรือบ่อปลา คูคลองธรรมชาติมาก่อน ตัวอย่างอาคารพาณิชย์สูง 4 ชั้นย่านนนทบุรี ก่อสร้างขึ้นและในเวลาต่อมาได้ทรุดตัวหายลงไปในหลุมทั้งแท่งต่อมาทราบว่าเสาเข็มที่เจาะจากการคาดคะเน เจาะเสาเข็มลงไปแม้ว่าลึกมากแต่ปรากฏว่าไปตรงกับชั้นบ่อขยะพอดี ทำให้ทรุดตัว หรือกรณีมีหมู่บ้านชื่อดังรายหนึ่ง ย่านลำลูกกาที่เจ้าของถมที่ดินไม่แน่นประกอบกับเป็นบ่อปลาเก่าทำให้ทรุด ดังนั้นกรณีผู้ซื้อบ้านก่อนตัดสินใจซื้อบ้านต้องศึกษาทำเลที่เหมาะสมให้ดี

ด้านนายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรกล่าวว่าบ้านจัดสรรที่อยู่ในโซนอุทกภัยปี 2554 ไม่มีผลกระทบทำให้บ้านทรุดอย่างแน่นอน เพราะปัจจุบันผู้ประกอบการใช้เข็มเจาะ 2 แบบ คือ 1. ตอกเข็มจนกว่าจะตอกไม่ลงหรือ เจอดินแข็งแบบสุดๆ 2. ตอกเข็มที่อาจจะไม่เท่ากันทุกต้นแต่ละต้นจะตอกจนกว่าจะตอกไม่ลง ซึ่งปัจจุบันมักนิยมเข็มยาว 21 เมตรโดยเฉพาะในเขตกทม.และปริมณฑล ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่าดินอ่อนโดย 1-3 เมตรจะมีแต่น้ำแต่เมื่อเจาะลึกลงไปก็จะเจอดินแข็งทำให้ไม่มีผลกระทบ ส่วนทำเลริมน้ำริมตลิ่งอาจเจอปัญหาดินสไลด์ได้บ้างหากไม่มีเขื่อนป้องกันน้ำท่วมโดยบริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด มีมาตรการให้แบบบ้านกรณีการตอกเสาเข็มให้ลูกค้าไป 1ชุดเพื่อให้ลูกค้าตรวจสอบอีกด้วยเพื่อความมั่นใจ

การทรุดตัวของอาคารเกิดจากอะไร

1. การก่อสร้างอาคารในระบบฐานรากตื้น เช่น ใช้เสาเข็มสั้น 6 เมตร, เข็มไม้, ฐานรากแผ่, หรือพื้นชนิดวางบนดิน โดยเฉพาะชั้นดินในกรุงเทพฯและปริมณฑล ดินชั้นบนมีลักษณะเป็นดินเหนียวอ่อน เกิดการยุบอัดตัว หรือทรุดตัวได้มาก กรณีเช่นนี้ถือว่าไม่อันตรายแต่อย่างใด ถ้าโครงสร้างมีการทรุดตัวเท่าๆ กัน
2. การก่อสร้างที่ใช้ระบบฐานรากแตกต่างกัน เช่น งานต่อเติม, ดัดแปลง เป็นต้น ในกรณีนี้ถ้าดำเนินการก่อสร้างไม่ถูกหลักวิศวกรรม ไม่มีการตัด Joint หรือมีการเชื่อมโครงสร้างส่วนหนึ่งส่วนใดเข้ากับตัวบ้าน อาจเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากัน, ทรุดร้าว, ทรุดเอียง ถ้ามีการเชื่อมโครงสร้างกับโครงสร้างเดิม อาจเกิดการยึดรั้งและส่งผลกับโครงสร้างเดิมด้วย โดยถ้าโครงสร้างหลักมีการแตกร้าวถือว่าเป็นการทรุดที่อันตราย
3. ความบกพร่องของเสาเข็มเอง เช่น เสาเข็มหัก, เสาเข็มชำรุด, เสาเข็มเดี่ยวเยื้องศูนย์, ฐานรากพลิก, เสาเข็มตอกไม่ได้ Blow Count เป็นต้น ส่วนใหญ่จะรู้เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วเกิดความบกพร่องให้เห็น เช่น ผนังร้าวในแนวทแยง 45 องศา คล้ายๆ กันในทุกชั้น, มีเสียงโครงสร้างลั่น เป็นต้น ถือเป็นการทรุดที่อันตรายและจำเป็นต้องรีบแก้ไขเช่นเดียวกัน
4. การออกแบบฐานรากที่ผิดพลาด เช่น ไม่มีการเจาะสำรวจดิน, น้ำหนักบรรทุกจริงที่ถ่ายลงเสาเข็มต่อต้น ในแต่ละฐานรากไม่เท่ากัน เป็นต้น

เราจะรู้ได้อย่างไร...ว่าอาคารของเราเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน?

1. ระดับพื้นเอียง อาจทดสอบได้โดยการถ่ายระดับน้ำหรือกลิ้งวัตถุทรงกลมบนพื้นเพื่อตรวจสอบระดับที่แตกต่างกัน
2. เกิดการแตกร้าวเป็นมุมเฉียง 45 องศาที่ผนัง โดยรอยแตกที่กว้างและยาวขึ้นแสดงถึงการทรุดตัวที่มากขึ้น 
3. โครงสร้างหลักมีการแตกร้าว เช่น เสา คาน พื้น โดยอาการของการแตกร้าวจะแตกต่างกันออกไป รวมถึงมีเสียงแตกลั่นในบางครั้ง  :wanwan001:

ที่มา :ฐานเศรษฐกิจ





 
72
 :wanwan035: ระวัง ! จอดรถโลตัสบางกะปิ โดนมิจฉาชีพโจรกรรมโลโก้ : เนื่องจากว่า ผมได้ไปดูภาพยนตร์เรื่อง IRON MAN 3 กับ แฟน และ น้องของแฟนอีกสองคน เป็นทั้งน้องสาวและน้องชาย อย่างละคน ตอนออกจากโรงภาพยนตร์ก็รีบ ๆ กลับบ้าน ก็ยังไม่ได้ทันได้สังเกตุอะไร จนกระทั่งถึงเที่ยงของอีกวัน ผมจึงเห็นว่า LOGO ก็มี 1.6E CNG COROLLA ALTIS หายหมดเลยตรับ แต่ก็ต้องขอขอบคุณท่านโจรนะครับ ที่ช่วยแกะอย่างปราณีต ไม่โดนสีรถ ไม่งั้นเรื่องใหญ่แน่ ๆ ถึงอย่างไรก็ตาม โลตัสบางกะปิ ก็ไม่มีมาตราการเรื่องความปลอดภัยของรถยนตร์ส่วนบุคคลของลูกค้าอยู่ดีแหละครับ ผมว่าทางที่ดีไปจอด THE MALL บางกะปิดีกว่าครับ  :P
73












;D เช่า DCondo แสนสิริ รามคำแหง 64 ตรงข้าม วัดศรีบุญเรือง ใกล้ เดอะมอลล์บางกะปิ ประมาณว่า ถ้านั่ง TAXI ไป แบบว่าถ้า รถติดสุดราคาอยู่ที่ 50 บาท เท่านั้น เดินทางสะดวก ห้องใหม่ พร้อมเฟอร์ พร้อมเข้าอยู่ ในห้องก็จะมี ตู้เสื้อผ้า เตียง โต๊ะเครื่องแป้ง ชั้นวางทีวี ตู้เย็น โซฟา โต๊ะรับแขก เครื่องทำน้ำอุ่น แยกครัวกับห้องพักอย่างเป็นสัดส่วน มันสวยงามจริง ๆ นะครับ เดินทางไปไหนมาไหนก็สะดวก ไม่ว่าคุณเดินทางไปทำงาน ไปเดินห้างสรรพสินค้าก็เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ ว่ายน้ำก็ได้นะครับ มีสระว่ายน้ำด้วยนะ หากคุณสนใจติดต่อผมด่วนนะครับ ถ้าคุณกันที่เรื่องของราคานะ ก็จะอยู่ที่ 9,000 บาท ไม่รวมค่าส่วนกลาง สนใจติดได้ที่เบอร์ 0894824063 คุณเกษริน  :wanwan021:
74
 :wanwan013: อาคาร 7 ชั้น อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ได้มีการทรุดตัว ซึ่งเป็นเหตุให้ตัวอาคารนั้นเอียงไปประมาณ 10 องศา เมื่อ วันที่ 31 มีนาคม 2556 บริเวณที่ตั้งของตัวอาคารนั้น ก็จะตั้งอยู่ ณ บริเวณ หลังห้างสรรพสินค้าเซียร์รังสิต จากการฟังเสียงจากชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์เล่าว่า  ก่อนเกิดเหตุได้ยินเสียงคล้ายปูนแตกร้าวดังมาจากภายในอาคาร จากนั้น อาคารค่อย ๆ ทรุดตัวลง จนทำให้เอียงมาด้านหน้า ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านวังทอง ประมาณ 10 กว่าเมตรเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นจุดเกิดเหตุและพื้นที่บริเวณใกล้เคียงเป็นจุดเสี่ยงอันตรายมาก แต่ก็ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ จากคำกล่าวของนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พบว่าสาเหตุเบื้องต้นพบว่าการออกแบบฐานรากไม่สามารถรับน้ำหนักได้ และจะมีผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งเจ้าของอาคารดูแลอีกครั้งหนึ่ง ในขณะนี้ตึกยังไม่ทรุดเพียงแต่เอียงเฉย ๆ ซึ่งต้องเป็นหน้าที่และภารกิจของบริษัท และทีมวิศวกรที่จะเข้ามาดูแล และแนะนำว่าจะแก้ไขอย่างไร โดยดูภาพรวมแล้วมีวิธีการแก้ไข คือ ดีดอาคารขึ้นเพื่อให้ใช้งานได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องสำรวจความปลอดภัยอย่างละเอียดก่อน แต่ถ้าทำไม่ได้ก็จะต้องรื้อทิ้ง ซึ่งการรื้อต้องดูในขั้นตอนเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับบ้านเรือนใกล้เคียง และในการออกแบบก็มีวิศวกรโยธาคำนวณ เมื่อออกแบบถูกต้องแล้วต้องมาดูขั้นตอนของการก่อสร้าง บางครั้งออกแบบถูกต้องแล้ว แต่ก่อสร้างไม่ถูกต้องก็เป็นเหตุให้อาคารทรุดและเอียงก็ไปได้  :wanwan021:
http://www.krobkruakao.com/ข่าว/70776/ปทุมธานี-เผยสาเหตุตึก-7-ชั้นหลังเซียร์-รังสิต-ทรุด.html
75
 :wanwan021: เที่ยวสงสงกรานต์ปลอดภัย รู้ 10 จุดเสี่ยงอุบัติเหตุจาก สตช. หรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นอุบัติเหตุ รุนแรงบนทางหลวงสายสำคัญต่าง ๆ ดังนี้

1. กม. 77 - 78 ทล.1 ถนนพหลโยธิน ต.สนับทึบ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา - เป็นทางโค้ง

2. กม. 27 - 30 ทล.2 ถนนมิตรภาพ ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี - เป็นทางลงเขาลาดชัน คดโค้งหักมุมต่อเนื่อง

3. บริเวณจุดก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ ทางหลวงหมายเลข 35 ถนนพระราม 2 - เป็นช่องทางเบี่ยง อยู่ในระหว่างก่อสร้างระหว่าง กม. 18 - 19 ( ขาเข้าและขาออก) สะพานข้ามทางรถไฟ

4. โค้งหัวสะพาน (ขาล่องใต้ ) ทล.4 กม.151 - 152 ต.หัวสะพาน อ.เมือง จว.เพชรบุรี - เป็นทางโค้ง

5. ทางหลวงหมายเลข 331 กม.125 - 126 ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี - เป็นทางลงเนินและมีทางแยกซับซ้อน ทำให้รถที่วิ่งลงเนินมา เมื่อเจอกับรถที่ออกจากทางแยก ซอย ไม่สามารถหยุดรถได้ทัน จึงเกิดเหตุชนกัน

6. ทางหลวงหมายเลข 304 ตอนกบินทร์ - ปักธงชัย ระหว่าง กม.42 - 46 ต.บุพราหมณ์ - สภาพเป็นทางขึ้น-ลง เขาลาดชัด โค้งตัวเอส มี 2 ช่องจราจร อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี

7. ทางหลวงหมายเลข 12 กม.14 - 15 (เนินห้วยหินฝน) ต.แม่ปัก อ.แม่สอด จ.ตาก - เป็นทางโค้งลงเนิน ชันและหักศอก

8. ทางหลวงหมายเลข 11 ตอนพิษณุโลก - อุตรดิตถ์ ระหว่าง กม.30 - 40 - เป็นทางตรงลงเขา ไม่มีแสงสว่าง ผู้ใช้รถมักจะหลับใน ต.ทับยายเชียง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก (ระยะทางประมาณ 10 กม.) ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง

9. ทางหลวงหมายเลข 125 ตอนเลี่ยงเมืองสุโขทัย - ตาก ระหว่าง กม.26 - 27 - เป็นทางโค้งมีเกาะกลางถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย (ระยะทางประมาณ 1 กม.)

10. ทางหลวงหมายเลข 348 กม.42 - 43 ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ - เป็นทางโค้งซ้าย และโค้งขวา รูปตัวเอส มีเส้นประให้แซง ในช่วงกลางตัวเอส  :D

ที่มา : http://news.sanook.com/1178127/สตช.-เปิด-10-จุดเสี่ยงอุบัติเหตุสงกรานต์
76
 :D คลิปวีดีโอแสดงการเจาะดินและทดสอบดิน เพื่อการออกแบบกำลังรับน้ำหนักของดินอย่างมีคุณภาพ เราจะทำงานด้านการเจาะสำรวจดินและทดสอบดินอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อผลงานเจาะดินที่มีศักยภาพเหนือระดับ ที่สุดของงานด้านวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ วิศวกรรมฐานราก ความเป็นหนึ่งเดียวของวิศวกรรมโยธา ต้อง บริษัท เดนิช ซอยล์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด  ;D
http://www.youtube.com/v/6i11WmYaGc0?hl=en_US&version=3&rel=0 :wanwan021:


77
 :wanwan013: เจาะสำรวจดินดินพบชั้นดินแข็งก่อนถึงความที่แท้จริง การออกแบบที่ดีจะช่วยลดอันตรายและความเสียหายของอาคาร เนื่องจากการทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานราก วิศวกรโยธาผู้ออกแบบมักกำหนดระดับความลึกของฐานรากจากการคำนวณค่าการทรุดตัวและกำลังรับน้ำหนักของชั้นดินเทียบกับกำลังรับน้ำหนักของโครงสร้างที่ลงแต่ละตอม่อ ทั้งในกรณีการใช้ฐานรากแผ่ และ เสาเข็ม ในบางพื้นที่เสาเข็มอาจยาวถึง 60 เมตร เพื่อรับน้ำหนักอาคารสูง เช่น กรุงเทพมหานคร บางพื้นที่อาจพบกระเปาะดินเหลวอ่อน หรือพบโพรงช่องว่างแทรกอยู่ใต้ชั้นดินแข็ง หากวิศวกรโยธาได้ทำการเจาะสำรวจดินไปถึงชั้นที่ลึกไม่พอ โดยหยุดการเจาะดิน ณ ระดับความลึกที่พบชั้นดินแข็งในช่วงบนนี้ก่อน  :wanwan021:
78
 :wanwan021: เนื่องจากเจ้าของงาน หรือ วิศวกรที่ปรึกษางานโยธา ได้มีการว่าจ้างรับเหมาเจาะสำรวจดินถึง 2 ถึง 3 บริษัท เพื่อเปรียบเทียบงานเจาะสำรวจดินของแต่ละบริษัท ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ถ้าผลการเจาะสำรวจดินออกมาเหมือนกัน ก็ถือว่า OK แต่ถ้าแตกต่างกัน ก็จะมาวัดกันที่ปัจจัยในด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น คุณวุฒิและวัยวุฒิของวิศวกรโยธาที่ดูแลงานด้านการเจาะสำรวจดินของบริษัท ชื่อเสียงของบริษัทเจาะสำรวจดิน อีกทั้งความชอบโดยเสน่หาต่อบริษัทเจาะสำรวจดิน แต่สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งปวงนี้ก็สู้ความซื่อสัตย์ของช่างควบคุมเจาะสำรวจดิน รวมถึงการดูแล เอาใจใส่และตรวจสอบดูแลงานเจาะสำรวจดิน ตั้งแต่งานภาคสนาม จนถึงงานทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ งานออกแบบกำลังน้ำหนักของดิน ให้คำแนะนำการใช้ฐานราก ก็จะได้รับความน่าเชื่อถือและภักดีต่อบริษัทเจาะสำรวจดินจากเจ้าของงานหรือบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาได้  :wanwan002:
79
 ;D วัตถุประสงค์ของการเจาะดินด้วยวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานในรูปแบบของข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นไปตามสภาพชั้นดินที่เป็นจริง สู่การออกแบบงานวิศวกรรมฐานรากอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปยังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรที่ปรึกษาด้านงานโยธา เจ้าของโครงการ ช่างรับเหมาเจาะดิน สถาปนิก รวมถึงผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น แต่มีความสนใจในงานก่อสร้างทั่ว ๆ ไป เป็นหน้าที่ของ วิศวกรโยธาที่ปรึกษา ที่ต้องแสดงแสงยานุภาพเพื่อสร้างแรงศรัทธาให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในประโยชน์ของงานเจาะดิน แม้งานเจาะดินจะมีค่าใช้จ่าย แต่ก็ยังน้อยกว่างบประมาณการก่อสร้างที่คุณต้องสูญเสียไปอย่างไร้ค่า ก็จะเป็นในเรื่องของต้นทุนของเสาเข็มที่ยาวไปหรือสั้นไป ต้องตัดออกหรือซื้อใหม่ ซึ่งถ้าซื้อใหม่ก็เป็นต้นทุนที่สูงขึ้นโดยใช่เหตุ เมื่อเทียบกับต้นค่าเจาะดินก็ยังมากกว่าอยู่ดี แต่เมื่อวิศวกรที่ปรึกษางานโยธาได้กำหนดให้มีการเจาะดิน เราก็จะรู้ขนาดของเสาเข็มที่แท้จริง เจ้าของโครงการก็สามารถสั่งซื้อเสาเข็มพอดี จากคำแนะนำการใช้ฐานราก ตลอดจนช่วยลดความเสี่ยงของงานออกแบบและงานก่อสร้างฐานรากที่อาจเกิดขึ้นได้จากความแปรปรวนของลักษณะสภาพชั้นดิน มีผลต่อฐานรากในเรื่องของการทรุดตัวสูง ชี้ให้เห็นถึงความเสียหาย ไม่ปลอดภัย หรือทำให้ต้นทุนค่าเสียโอกาสในเรื่องของเวลาช้ากว่าที่กำหนด การเจาะดิน เป็นการเจาะเพื่อทำการหาข้อมูลสภาพชั้นดิน และขอบเขตการเปลี่ยนแปลงของชั้นดินแต่ละชั้น เพื่อนำมาใช้ประกอบการออกแบบและก่อสร้างฐานรากของสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ และที่สำคัญของการเจาะดิน ก็เพื่อโครงสร้างของตัวอาคารได้มีฐานรากที่รองรับน้ำหนักได้อย่างถูกต้อง  :'(
80

:'( เจาะดินและทดสอบดินเป็นงานส่วนหนึ่งในงานก่อสร้างระดับกลางถึงระดับใหญ่ ถ้าเปรียบเทียบได้ ก็จะเปรียบเทียบได้กับรถรุ่น E ถึง รถรุ่น TOP กันเลยที่เดียว บริษัทที่ปรึกษาวิศวกรส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญกับเจาะดินกันมากกว่าในสมัยอดีตกาล ซึ่งถ้าบริษัทที่ปรึกษาวิศวกรได้กำหนดให้ขอบเขตของงานมีการเจาะดิน ก็จะเป็นการช่วยปรับระดับงบประมาณโครงการก่อสร้างที่สูงมาก ให้ต่ำลงได้ โดยเฉพาะต้นทุนในเรื่องของเสาเข็มและฐานราก ถ้าคุณไม่กำหนดให้มีการเจาะดิน คุณก็จะต้องมีการคาดคะเนหรือคาดเดาว่าจะต้องใช้เสาเข็มขนาดเท่าไร บางครั้งก็เกินบ้าง อะไรบ้าง ต้องมีการตัดทิ้งบ้าง หรือ ไม่ก็วางเสาเข็มอยู่บนชั้นดินที่มีความแข็งแรงไม่เพียงพอ ก็อาจจะทำให้สิ่งปลูกสร้างนั้นมีการทรุดตัวหรือถล่มลงมาได้ เหตุการณ์เหล่านี้อาจกลายเป็นบทเรียนครั้งก่อนของโครงการก่อสร้างของคุณ จนทำให้คุณต้องแนวทางของบทเรียนครั้งนั้น มาพัฒนางานที่ปรึกษาวิศวกรรมโยธาให้เน้นหนักเพื่องานฐานรากและเสาเข็มอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งต้องกำหนดงานเจาะดินและทดสอบดินลงไปในงานนั้น ๆ ด้วย  ;D