เมษายน 26, 2024, 04:37:20 pm

ข่าว:

บริการเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน โทร. 0-2729-5031, 085-917-7163


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Topics - denichammy

41
สวัสดีครับท่านผู้มีอุปรคุณทุกท่าน บังเอิญได้ไปอ่าน หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับ วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2556 ก็เป็นเรื่องเกี่ยวภัยเงียบ อย่าง ความเครียด ที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเภททุกวัยนั่นเองครับ ทุกวันนี้คงไม่มีใคร หรือครอบครัวไหนที่ไม่มีเจ้าวายร้ายนามว่า "ความเครียด" อาศัยอยู่จนเปรียบเสมือนเป็นของสามัญประจำบ้าน ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถที่จะป้องกันไม่ให้เข้ามารบกวนชีวิตเราได้นั้น แต่เราสามารถเลือกที่จะกำจัดความเครียดที่ผ่านมาเคาะประตูบ้านหรือจิตใจเราได้ "โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยก็ได้นะครับ" ผู้เชี่ยวชาญจากเมก้า วีแคร์ ให้คำแนะนำในงานเวิร์กช็อปอารมณ์ดี "Stress Management Workshop" แบ่งระดับความเครียดออกไป 3 ระดับดังนี้

- ระดับที่พอดี จะทำให้ร่างกายและจิตใจตื่นตัว

- ระดับที่มากไป นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจเข้าสู่การเจ็บป่วย

- ระดับที่น้อยไป จะทำให้เกิดความเฉยชาต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

ซึ่งเราก็จะมีเทคนิคการจัดการความเครียดเบื้องต้น ดังนี้

1. มีสติอยู่ทุกเมื่อ ให้ความสำคัญกับ "ปัจจุบัน"

2. ยอมรับความเป็นจริง และผ่อนปรนการใช้ชีวิตของตนเอง ไม่สร้างความกดดันจนเกินไป

3. กล้าที่จะก้าวข้ามความกลัว ความกังวลในใจคุณนั่นเองครับ

4. มองความเครียดให้เป็นเพียงปัญหาที่ต้องหาทางแก้

5. ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

;D  ;D  ;D อย่าเครียดกันนะครับ คุณลูกค้าที่รักทุกท่าน  ;D  ;D  ;D 
42
 :D รายละเอียดที่ลูกค้าต้องแจ้งให้กับทาง บริษัท เดนิช ซอยล์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด คือ ทางบริษัทฯ ของเราจะต้องทราบถึง ความต้องการของลูกค้าว่า จะนำผลที่ได้จากการเจาะสำรวจดินไปทำอะไร ใน กรณีของการนำผลที่ได้จากการเจาะสำรวจดิน ไปออกแบบฐานราก อาคาร ก็จะขอแนะนำงานบริการ Boring Test คำถามหลักที่ต้องถามสำหรับงานบริการ Boring Test ต้องถามว่า จะเจาะดินลึกลงประมาณกี่เมตร แต่สำหรับคำแนะนำจากทาง บริษัทฯ ให้กับลูกค้า ก็จะแนะนำในเรื่องของจำนวนชั้นของอาคารกับลูกค้า สำหรับอาคาร 1 ถึง 7 ชั้น ก็จะเป็นไปตามมาตราฐานการเจาะทั่วไป คือ เจาะจนได้ค่า SPT ความลึกไม่เกิน 30 เมตร ยกเว้น พื้นที่ สุขุมวิท บางพลี บางบ่อ พระสมุทรเจดีย์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ฝั่งทิศใต้ ต้องแจ้งลูกค้าว่า 30 เมตร อาจไม่พอ ต้องแนะนำให้เจาะเพิ่ม 35 ถึง 40 เมตร

ในกรณีของอาคารที่สูงขึ้นไปถึงระดับ 8 ชั้น เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ก็ต้องมีการสอบถามลูกค้าเพิ่มติมว่า วิศวกรโยธา ผู้ออกแบบเสาเข็ม ว่าออกแบบเข็ม เป็นเข็มประเภทไหน ซึ่งถ้าออกแบบเป็นเข็มตอกและเข็มเจาะแบบแห้ง ก็จะเป็นไปตามมาตราฐานการเจาะทั่วไป คือ แบบเดียวกับอาคาร 1 ถึง 7 ชั้น เลยก็ว่าได้ แต่ถ้าออกแบบเป็นเข็มเจาะแบบเปียก ต้องแนะนำการเจาะดินที่ความลึกไม่น้อยกว่า 50 เมตร ให้กับลูกค้า

ในกรณีที่ระดับชั้นของอาคารสูงมากกว่า 8 ชั้น ขึ้นไป แต่ก็ยังอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล แนะนำที่ความลึงลงไปต่ำกว่า 50 เมตร

"เจาะดินบนบก ข้อมูลที่จำเป็นต้องแจ้งให้กับทาง บริษัท เดนิช ซอยล์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ก็ไม่พ้นในเรื่องของ หน้างาน รถสามารถเข้าถึงจุดเจาะได้หรือไม่ บริเวณที่จะเจาะดิน เป็น พื้นคอนกรีต พื้นดิน พื้นลาดยาง"

ในกรณีที่ต้องเจาะดิน ในสถานที่ท่องเที่ยว ชายหาดพัทยา ต้องขอใช้น้ำจืดจากเจ้าของงาน

ต่อไปผมจะด้วยเรื่องของการเจาะในน้ำ ข้อมูลที่แจ้งให้กับทางบริษัทฯ ได้รับทราบ คือ ระยะห่างจากฝั่ง ถึง จุดเจาะ โดยประมาณ พร้อมกับความลึกจากผิวน้ำถึงท้องคลอง

กรณีนำผลที่ได้ไปทดสอบความหนาแน่นของถนน field density test ต้องสอบถามความต้องการของลูกค้าว่า จะให้ออกผลที่หน้างาน หรือ จะให้นำกลับมาทดสอบดินที่สำนักงาน ถ้าออกผลหน้างาน ลูกค้าจะต้องส่งตัวอย่างดินถมในชั้นที่จะทำการทดสอบมาทดสอบ Standard Compaction Test ก่อนที่จะไปทำการทดสอบภาคสนาม ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วัน ออกผลตามจริง ไม่มีการปรับตัวเลขใด ๆ ทั้งสิ้น

ผมขอปิดท้ายด้วยงาน สำรวจออกแบบถนน ต้องขอ TOR ปรืมาณงาน และ แบบถนนแนวทางมาศึกษาก่อนเสนอราคานะครับ  :wanwan017:

   
43
 ;) การเจาะสำรวจดิน เป็นลักษณะของการทำให้พื้นดินของทุก ๆ โครงการก่อสร้าง มีลักษณะเป็นหลุมเจาะ ซึ่งมีลักษณะมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็ก เพื่อเก็บตัวอย่างดินขึ้นมาจากหลุมเจาะ ตามมาตาฐานของ ASTM D1586, Standard Method for Penetration and Split-Barrel Sampling Soils ซึ่งเป็นชี้ชัดลงไปเลยว่า เป็นการทำ boring หรือ การทดสอบ penetration test ก็จะบอกผลที่ได้จากการทดสอบเป็นค่า N value. การเจาะดินแบบขั้นเทพ ต้องใช้ hollow stem auger เป็นลักษณะของสว่านที่เป็นแกนกลวง ที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างดินที่ไม่มีเศษดินจากการเจาะเข้ามาวุ่นวายกับตัวอย่าง หรือ flush joint casing (FJC) เรียกันง่าย ๆ เลยว่า casing เพื่อป้องกันการพังทลายของดินลงไปในหลุมจาะ โดยปกติแล้ว เราจะเก็บตัวอย่างดินกันทุก ๆ 1.5 เมตร ในบางกรณีของการเจาะดิน เพื่อความชัวร์และแน่นอนในการเก็บตัวอย่างของดิน เราก็จะเก็บกันทุก ๆ 1 เมตร กันเลย ถ้าเจาะไปแล้วเจอหินที่อยู่ใต้ดิน ก็จะวิธีการ Coring หิน สำหรับตัวอย่างหินที่เก็บขึ้นมานั้นจะอยู่ที่ 12 ถึง 18 นิ้ว  :wanwan021:
44
 :D COST SAVING ! ด้วยลวดสลิงกับเชือก จำเป็นต่อการเจาะดินหลุมลึก : ในกรณีของการเจาะดินหลุมลึก เชือกที่ใช้จะขาดแทบทุกครั้ง ทำให้สิ้งเปลืองเชือกโดยใช่เหตุ จึงต้องนำลวดสลิงมาใช้ประกอบด้วย เพื่อประหยัดต้นทุนในการเจาะดิน  :wanwan021:
45
 ;D  ;D ผมเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งบรรยากาศในหมู่บ้านของผมนั้น แตกต่างจากบรรยากาศบนท้องถนนที่เต็มไปด้วยมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสียของรถยนต์บนถนนหลวงในกรุงเทพมหานคร แต่สำหรับในหมู่บ้านจัดสรรค์ของผมนั้น มีต้นไม้ใบหญ้าช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และคายก๊าซออกซิเจนออกมาให้เราได้ชุ่มปลอดกันไปเลย ซึ่งผมคิดว่าการได้เข้าอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรนั้น ทำให้ผมมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ผมมีความสุขมากครับที่ได้เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งนี้ เมื่อกล่างหมู่บ้านจัดสรรผุดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครเพียงแห่งเดียว นักลงทุนจำนวนไม่น้อยต่างพากันไปจับจองพื้นที่ในต่างจังหวัดเพื่อจัดสรรพื้นที่เพื่อปลูกบ้านขาย เป็นผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างนั้นเติบโตอย่างต่อเนื่องในต่างจังหวัด โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ จังหวัดภูเก็ต ดูเหมือนว่าจะมีเศรษฐกิจดีที่สุดในภาคใต้เลยก็ว่าได้ จึงเหมาะแก่การลงทุนทำธุรกิจบ้านจัดสรรเป็นอย่างยิ่ง ทุกอนุภาคของโอโซนที่คุณและหวานใจได้รับจากเกาะสวาทหาดสวรรค์แห่งนี้ จะเป็นตัวชี้วัดถึงการมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังเปรียบเสหมือนเข็มทิศที่บอกถึง วิถีทางการดำเนินชีวิตของคุณ ว่าคุณต้องจะต้องเดินไปในเส้นทางไหนอย่างไร หากคุณเลือกที่จะทำธุรกิจบ้านจัดสรรบนที่ดินใน จังหวัดภูเก็ต คุณมาถูกทางแล้วครับ ชีวิตคุณจะเจริญรุ่งเรืองแลพก้าวหน้าขึ้นอย่างแน่นอน บอกไว้ก่อนนะครับว่า ผมไม่ใช่นายหน้าขายที่ดินแต่ประการใด ผมอยากให้เพื่อนรู้ว่า ที่ดินบนเกาะภูเก็ตนั้นดีอย่างไร ผมขออนุญาติโฆษณาแฝงไว้นิดนึงว่า ทาง บริษัท เดนิช ซอยล์ เอ็นจิเนียริ่ง ก็ได้ไปเจาะสำรวจดินบนเกาะภูเก็ตนี้หลายครั้งแล้ว จึงได้เห็นนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ได้เดินทางมาลงหลักปักฐานบนเกาะสวาทหาดสวรรค์แห่งนี้  ???  ???
46
 ;D ฐานรากเป็นส่วนสำคัญที่พยุงอาคารไว้ทั้งหลัง ความมั่นคงของฐานรากต่อการเคลื่อนไหวใด ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ สิ่งเหล่านี้ในขั้นตอนการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้าง เราสามารถควบคุมหรือต่อปัจจัย ที่นอกเหนือจากการควบคุมได้ แต่ในขั้นตอนของการก่อสร้างจริง เราไม่สามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้นได้ ลำดับแรกจะขอกล่าวถึง กรณีของฐานรากแผ่ ซึ่งเป็นกรณีของกำลังรับแรงแบกทานของดิน (qa) ไม่ผ่าน บ่อยครั้งที่งานก่อสร้างฐานแผ่ ปราศจากการเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน เพื่อทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของดิน ณ ตำแหน่งระดับความลึกของการวางฐานราก รวมถึงไม่คำนึงถึงระดับน้ำใต้ดิน จึงเป็นสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ฐานรากทรุดตัว ฐานรากเอียงเนื่องจากการทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานราก ซึ่งในการออกแบบฐานแผ่โดยทั่วไป วิศวกรโยธาหรือบุคลากรผู้ออกแบบมักตั้งค่าตัวเลขของกำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของดินขึ้นมาลอย ๆ ก่อน ถามว่า ตัวเลขดังกล่าวนั้น ได้มาจากไหน ผมตอบได้เลยว่า ได้มาจากการนั่งเทียนเขียน จากประสบการณ์ หรือ สถิติตัวเลขที่เคยผ่านหูผ่านตากันมาบ้างแล้ว หรือ จากผลงานหรือโครงการก่อน ๆ ที่เคยเก็บรวบรวมเอาไว้เพื่อเป็นกรณีศึกษาของโครงการก่อสร้างต่อ ๆ ไป หรือ ข้อมูลแวดล้อมจากสิ่งปลูกสร้างในระแวกใกล้เคียง ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีศึกษาจากประเด็นข่าว อาคารสูง 7 ชั้น ศูนย์การค้าเซียร์รังสิตได้มีการทรุดและเอียงลงมาได้นะครับ เห็นหรือไม่ครับว่า การเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและคำนวณหาค่ากำลังน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย ก็จะหมายถึงการมุ่งประเด็นไปที่ความปลอดภัยในระยะยาวของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ ในกรณีของการทรุดและเอียงของอาคาร อาจเนื่องมาจากสภาพดินที่ระดับการวางฐานแผ่อ่อนเกินไปจนถึงอ่อนมาก จึงมีค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของดินต่ำ ไม่เป็นไปตามที่วิศวกรโยธาผู้ออกแบบเลือกใช้ในการออกแบบ แม้แต่น้ำหนักของตัวฐานเอง ดินก็ยังรับไม่ได้ หรืออาจเป็นผลมาจากน้ำที่เกิดขึ้นในขณะก่อสร้าง ถึงอย่างไรก็ตาม ค่ากำลังน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยก็ยังเป็นพระเอกของเรื่องนี้อยู่ดี สำหรับการแก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์เบื้องต้น ถ้าทำได้นะครับ เราควรปรับปรุงสภาพดินใต้ฐานราก ออกแบบใหม่ด้วยการเพิ่มพื้นที่ฐานเพื่อลดหน่วยแรงแบกทานให้เบาลง ออกแบบใหม่โดยการเปลี่ยนจากฐานแผ่ไปเป็นฐานรากเสาเข็มแทน :-[

ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก : http://blog.gooshared.com/view/53
47
 :wanwan020: วันนี้เรามากล่าวถึงเรื่อง ภัยคุกคามจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อการเจาะสำรวจดินกลางมหาสมุทรกันนะครับ โดยเฉพาะระดับ น้ำขึ้น-น้ำลง ของน้ำทะเลขึ้นสูง ก็จะต้องมีการต่อ Casing ให้สูงขึ้น ถ้าน้ำทะเลลง ก็ต้องถอด Casing ให้ต่ำลงเท่าเดิม เพื่อให้ระดับ Casing เหมาะสมกับการเจาะสำรวจดินแต่ละครั้ง น้ำเค็มจะทำปฏิกริยากับ Bentonite ซึ่งมีความแตกต่างกับการเจาะดินบนบกที่ใช้น้ำจืดในในการเจาะ ถ้าคลื่นลมแรง เป็นผลให้การติดตั้งโป๊ะหรือแพเป็นไปอย่างยากลำบาก ใช้เวลานาน  :wanwan044:     
48
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์  หากเป็นชาวบ้านทั่วไปซื้อขายกัน ก็อาจใช้วิธีตกลงกันด้วยวาจาแบบง่ายๆ ตามประสาชาวบ้าน  แล้วนัดไปเจอกันที่สำนักงานที่ดินเพื่อโอนกรรมสิทธิ์และชำระเงินกันที่นั่นเลย  ซึ่งหากฝ่ายใดเกิดงอแง  ก็จะคุยกันไม่รู้เรื่องและอาจนำไปสู่ความขัดแย้งที่บานปลายได้  การตกลงจะซื้อขายกันทุกครั้งจึงควรทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากการเข้าใจผิดในเงื่อนไขของการซื้อขาย

ข้อตกลงของผู้จะซื้อและผู้จะขายที่จะทำเป็นลายลักษณ์อักษรนี้เรียกว่า "สัญญาจะซื้อจะขาย"  ซึ่งหากชาวบ้านทั่วไปจะทำกันเองก็น่าจะได้  เพียงแต่ให้มีประเด็นเงื่อนไขที่เป็นข้อตกลงอย่างครบถ้วน  เราลองมาดูกันว่า หากจะทำสัญญาแบบง่ายๆ ขั้นพื้นฐาน ที่ไม่ซับซ้อนและเข้าใจง่ายนั้น ควรจะมีประเด็นอะไรบ้าง

1. ชื่อของคู่สัญญาทั้งผู้จะซื้อและผู้จะขาย  เขียนชื่อและนามสกุลของทั้งสองฝ่าย  โดยชื่อผู้จะขายจะต้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่มีชื่ออยู่ในโฉนด  หากมีผู้ถือกรรมสิทธิ์มากกว่าหนึ่งคน จะต้องเขียนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทุกคนลงในสัญญาทั้งหมด  ส่วนผู้จะซื้อจะใช้ชื่อกี่คนก็ได้

2. ทรัพย์สินที่ตกลงจะซื้อขาย  จะต้องระบุให้ชัดเจนว่าตกลงจะซื้อขายทรัพย์สินอะไรเช่น ที่ดินเนื้อที่ 200 ตรว.   หากมีสิ่งปลูกสร้างให้ระบุลักษณะของอาคารลงไปด้วยเช่น พร้อมบ้าน 2 ชั้น  เลขที่132   โฉนดเลขที่............ เลขที่ดิน........... ตั้งอยู่ที่แขวง........... เขต...........  จังหวัด...........

3. ส่วนอื่น ๆ ที่รวมอยู่ในการซื้อขาย  เช่นปั้มน้ำ - แท้งค์น้ำ - มิเตอร์น้ำ / ไฟฟ้า / โทรศัพท์ - แอร์ - เครื่องทำน้ำอุ่น-บิ้วท์อิน-เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ  หากมีการตกลงขายรวม  ให้ระบุของแต่ละรายการลงในสัญญาทั้งหมด

4. ราคาที่ตกลงจะซื้อขาย  จะระบุเป็นตัวเลขซื้อขายเหมารวมทั้งหมด  หรือจะซื้อขายเป็นราคาต่อตารางวาก็ได้ (ในกรณีที่ซื้อขายเฉพาะที่ดิน)

5.  เงินมัดจำการตกลงจะซื้อ  ผู้จะซื้อจะต้องวางเงินมัดจำหรือเงินประกันการตกลงจะซื้อทรัพย์ สินให้แก่ผู้จะขาย เพื่อยืนยันว่าซื้อแน่ ส่วนจำนวนเงินมัดจำที่จะวางกันนั้น จะอยู่ในช่วงประมาณ 5 - 20 % ของราคาที่ตกลงจะซื้อขายกัน ตามแต่จะตกลงกัน

6. กำหนดเวลาการโอนกรรมสิทธิ์  ซึ่งมักจะทำในวันและเวลาเดียวกันกับการชำระเงินค่าซื้อขายในส่วนที่เหลือทั้งหมด  ให้กำหนดเวลาโดยดูจากความสะดวกและจำเป็นของทั้งสองฝ่าย  หากผู้จะซื้อไม่ต้องกู้เงินจากธนาคารก็สามารถนัดโอนกรรมสิทธิ์ในเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 30 วัน  แต่หากต้องกู้เงินก็อาจขอเวลาออกไปเป็น 60 วัน  หรือนานกว่านั้น แล้วแต่จะตกลงกัน

7.ค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์และภาษี  มักจะมีคำถามเสมอว่า ฝ่ายใดควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนไหน  ก็คงต้องมาดูว่าค่าใช้จ่ายตรงนี้มีอะไรบ้าง  ค่าธรรมเนียม 2%,  ค่าอากรแสตมป์ 0.5%, ภาษีเงินได้คิดโดยใช้สูตรคำนวณตามระยะเวลาถือครองทรัพย์สิน  และสุดท้ายคือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%  ( ถ้าต้องเสียก็จะได้รับการยกเว้นค่าอากรแสตมป์ )  หากพิจารณาดูจะเห็นได้ว่าภาระเรื่องภาษีเงินได้และภาษีธุรกิจเฉพาะน่าจะตกแก่ผู้จะขาย  ด้วยเจตนาของรัฐท่านที่อุตส่าห์ตั้งชื่อภาษีของทั้งสองประเภท  ซึ่งฟังดูไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับผู้จะซื้อแม้แต่น้อย ส่วนค่าธรรมเนียมโอนและอากรแสตมป์ อยู่ที่การตกลงกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ผู้จะขายมักจะเป็นฝ่ายแบกรับไป

บทความโดย คุณวิวัฒน์ ผุงประเสริฐ

ที่มา: http://www.topbaan.com/topnewsvv1.htm










49
 ;D เรื่องที่ผมจะกล่าวถึงต่อไปนี้ จะไม่เกี่ยวข้องกับน้ำใต้ดินที่เรานำมาใช้ประกอบการเจาะสำดินและทดสอบดินแต่งอย่างใด น้ำใต้ดินนับเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของมนุษย์สำหรับอุปโภคบริโภค พื้นที่บางแห่งอาจมีความจำเป็นต้องใช้แหล่งน้ำใต้ดินเนื่องมาจากการขาดแคลนแหล่งน้ำผิวดิน เช่น ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่ามีปริมาณการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้เป็นจำนวนมาก การนำน้ำใต้ดินมาใช้โดยการขุดเจาะบ่อบาดาลลึกลงไปในชั้นหิน ซึ่งสามารถทำได้สะดวกและมีค่าใช้จ่ายน้อย ในทำนองเดียวกันการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อนำน้ำใต้ดินมาใช้มากเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาแผ่นดินทรุด สำหรับการขุดเจาะบ่อบาดาลมักขุดเจาะในแนวดิ่ง แต่ในบางบริเวณอาจทำในแนวนอน ลักษณะของทางน้ำซับซึ่งมักพบบริเวณเขตภูมิอากาศร้อนและแห้งแล้งแถบตะวันออกกลางหรือทางตอนเหนือของแอฟริกาในประเทศอิหร่าน เรียกว่า "กราแนต" (Ganat) โดยการขุดอุโมงค์ในแนวนอนเข้าไปตามไหล่เขาที่มีการทับถมของตะกอนเพื่อให้น้ำไหลซึมมารวมกันแล้วนำน้ำไปใช้ ส่วนแถบหมู่เกาะฮาวายของประเทศสหรัฐอเมริกามีการขุดเจาะในแนวเฉียง ประมาณ 30 องศา เรียกว่า "เมาอิ" (Maui) การขุดเจาะบ่อบาดาลโดยทั่วไปจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 - 40 เซนติเมตร หรือมากกว่า และบ่อจะมีความลึกประมาณ 300 เมตร อย่างไรก็ตามการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อนำน้ำขึ้นมาใช้อาจทำให้เกิดแผ่นดินทรุดได้ เนื่องจากการขุดและสูบน้ำขึ้นมาใช้ในปริมาณมาก ๆ ระดับน้ำในบ่อจะลดต่ำลง น้ำใต้ดินในบริเวณรอบๆ บ่อจะไหลเข้ามาแทนที่น้ำในบ่อน้อยลง จึงทำให้เกิดการทรุดตัวของดินโดยรอบบ่อมีลักษณะการทรุดตัวของแผ่นดิน บางครั้งเป็นรูปกรวย เรียกว่า กรวยน้ำยุบ (Cone of Depression)
         
           นอกจากนั้นแล้วน้ำใต้ดินอาจเกิดการเน่าเสีย มีสิ่งเจือปนได้เนื่องมาจากการทิ้งขยะมูลฝอย โดยปราศจากการปูรองก้นหลุมหรือการจัดการที่ดีพอ ทำให้เมื่อเกิดฝนตกลงมาน้ำที่ไหลแทรกซึมไปตามกองขยะจะชะล้างเอาสิ่งสกปรกแล้วพัดพาซึมลงสู่แหล่งน้ำใต้ดิน หรือสารเคมีจากโรงงานล้วนมีผลต่อการเกิดมลพิษต่อน้ำใต้ดินทั้งสิ้น ตลอดจนสารกัมมันตภาพรังสีจากโรงงานไฟฟ้าปรมาณูที่บรรจุภาชนะเหล็กนำไปฝังดิน เมื่อภาชนะดังกล่าวผุพังและมีน้ำไหลผ่าน น้ำจะละลายสารกัมมันตภาพรังสีลงไปด้วย นับว่าเป็นอันตรายอย่างมาก อย่างไรก็ตามประโยชน์ของน้ำใต้ดินนอกจากใช้ในการอุปโภคบริโภคแล้ว ยังมีประโยชน์ในแง่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น น้ำพุร้อน และน้ำพุร้อนยังมีการนำมาพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพได้อีก เช่น โครงการพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า การใช้พลังงานในการอบ หรือบ่มผลผลิตทางด้านการเกษตร เป็นต้น  :wanwan017:

ที่มา : http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/geology/8/index_ch_8-4.htm
50
 ??? การทดสอบดินจะดำเนินการทดสอบโดยวิศวกรปฐพีกลศาสตร์ ซึ่งจะต้องมีการเจาะดินให้เป็นหลุม สิ่งที่จะต้องพิจารณาจะเป็นไปตามขั้นตอนต่อไปนี้ สภาพชั้นดินต้องมีความแข็งแรงเพียงพอที่รองรับโครงสร้างของฐานราก เสาเข็ม คือ ดินต้องให้ความช่วยเหลือในการผ่อนกำลังของฐานราก เสาเข็มให้มาก ในเรื่องของการทดสอบการซึมผ่านของน้ำในดิน เพื่อทดสอบระบบบำบัดน้ำเสียว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอสามารถรองรับในเรื่องการซึมผ่านของน้ำ รวมไปถึงการรั่วซึมของถังกักเก็บที่อยู่ใต้ดิน เพื่อป้องกันมิให้สารพิษหรอสารปนเปื้อนที่มากับน้ำเสียลงสู่ชั้นดินได้  :wanwan001:
51
 ;D  ;D หลังจากได้ดำเนินการเจาะสำรวจดินได้ระดับตามความลึกที่กำหนดไว้แล้ว ตัวอย่างดินที่ได้ตามมาตราฐานการทดสอบ จะต้องให้ปลายของหลอดลงต่ำกว่าก้นหลุมเจาะ ตุ้มที่ใช้ตามมาตราฐานการเจาะดินจะมีน้ำหนัก 140 ปอนด์ ยกสูง 30 นิ้ว เราจะมีการบันทึกตัวอย่างทุก ๆ ระยะ 6 นิ้ว แล้วนำค่า SPT สองครั้งสุดท้ายรวมกัน และจดบันทึกเป็นค่า N Value  :wanwan001:
52
 :D กาเจาะสำรวจดินไม่ใช่แค่การเจาะดินให้เป็นหลุมเพียงอย่างเดียว จะหมายรวมถึงการทดสอบดินทั้งในภาคสนาม และการทดสอบดินในห้องปฏิบัติการด้วย ค่าที่ได้มาพร้อมกับการเจาะดินคือ ค่า Standard Penetration Test อาจเรียกได้ว่า เป็นมาตรฐานการทดสอบดิน ค่าที่ได้จะเป็นในรูปแบบของตัวเลข หรือ ค่า SPT เป็นค่าที่แสดงผลให้เราทราบว่า ตัวอย่างดินที่ได้จากการเจาะดินนั้น มีความแข็ง หรือ อ่อนอยู่ในระดับไหน  ;D
53
 :D กุญแจสำคัญที่จะทำให้ประสบคสามสำเร็จในธุรกิจเจาะสำรวจดิน คือ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ความซื่อสัตย์ ความมีประสิทธิภาพในการทำงาน ความเหมาะสมในเรื่องของราคา และที่ขาดไม่ได้เลยคือ ความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งจะเห็นได้จากการกลับมาใช้บริการเจาะสำรวจดินซ้ำอีก การแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยด้วยเพื่อสร้างความหน้าเชื่อถือด้วยครับ ดังคำกล่าวที่ว่า "แต่งตัวดีมีชัยไปกว่าครึ่ง" :wanwan021:
54
 ??? การเจาะดิน เป็นการดำเนินงานเพื่อศึกษาคุณสมบัติของดินแต่ละชั้นดินของดินในแต่ละพื้นที่ ก่อนที่จะออกแบบฐานรากของอาคารสูง เพื่อประเมินความสามารถในการรับน้ำหนักของดิน และเลือกใช้ฐานรากที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของดินนั้น ๆ ซึ่งดินแต่ละชั้นมีความแตกต่างกันออกไป บางชั้นก็มีทรายผสมอยู่มาก น้อย แตกต่างกันใหม่ โดยเฉพาะดินถ้าเป็นดินที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็เจาะไม่ลึกเท่าไร ก็พบกรวดผสมอยู่มากพอสมควร ท่านผู้อ่านคงยังไม่เห็นความสำคัญของการเจาะดินเท่าๆไรนัก โครงสร้างชั้นดินที่ดีต้องมีความแข็งแรงเพียงที่จะรับน้ำหนักโครงสร้างฐานรากแข็งแรงไปด้วย ยึดโครงสร้างของอาคารไว้คงอยู่ท่านตลอดไป  :wanwan023:
55
 ;) ผลการเจาะดิน หรือ การเจาะสำรวจดิน ของแต่ละที่ ทำเล ที่ตั้งของโครงการ จากการจำแนกแยกประเภทชั้นดินที่สามารถเห็นได้จาก Boring Log เป็นที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่า ชั้นดินของแต่ละความลึกมีความแตกต่างกันมาก ถ้าไม่ใช่ชั้นดินออ่อนในกรุงเทพมหานคร ต้องมีการตอก BLOW เพื่อเก็บตัวอย่างดินกันเกือบทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นแรกถึงชั้นสุดท้าย ค่าที่ออกก็จะเป็น SS เก็บด้วยกระบอกบาง แต่ถ้าเป็นชั้นดินออ่อนในเขตกรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียง ก็ใช้วิธีการกดลงในช่วงแรก ค่าที่ได้ก็จะเป็น ST เก็บด้วยกระบอกบาง  :wanwan022:
56
รศ.ดร.วรากร เจ้าของรางวัลคนแรกของรางวัลศาสตราจารย์ ดร.ชัย มุกตพันธุ์ ได้อธิบายถึง "วิศวกรรมปฐพี" หมายถึง สาขาย่อยสาขาหนึ่งของวิศวกรรมโยธา ซึ่งเน้นเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างที่วางอยู่บนดิน หรือที่เรียกว่า "ฐานราก" และสิ่งก่อสร้างที่ใช้ดินเป็นวัสดุก่อสร้าง เช่น เขื่อน โดยกว่า 80-90% ของเขื่อนในประเทศไทยเป็นเขื่อนเพื่อการชลประทาน ในส่วนของประโยชน์ของ วิศวกรรมปฐพี ก็จะเป็นประโยชน์ต่องานโครงการก่อสร้างหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น อาคาร โรงงาน สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน อุโมงค์ รวมถึงการวางฐานรากให้กับสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิที่จะขาดการทำงานของวิศวกรปฐพีไปไม่ได้  :D  :D

ที่มา : http://www.dmc.tv/print/news/2007-02-23-2.html
57
 :wanwan021: การออกแบบฐานรากเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้างในงานวิศวกรรมฐานรากทั่วโลกนั้นสามารถที่จะดำเนินการโดยการใช้ฐานรากแผ่หรือฐานรากเสาเข็ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดินที่ตั้งโครงสร้างนั้น สำหรับการออกแบบฐานรากและการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ได้ดำเนินงานออกแบบตามหลักมาตรฐานทางวิศวกรรมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีการควบคุมดูแลและตรวจสอบโดยบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลกอย่างละเอียดในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน โดยก่อนดำเนินการก่อสร้างโครงการของ ปตท.จะต้องมีการสำรวจและวิเคราะห์ด้านวิศวกรรมปฐพีทั้งในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้นและขั้นตอนออกแบบรายละเอียดของโครงการ ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทและผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมฐานรากและปฐพีกลศาสตร์โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นศาสตร์สาขาทางวิศวกรรมที่ลึกและเฉพาะด้านกว่างานวิศวกรรมโยธาโดยทั่วไป ภายใต้การควบคุมดูแลโดยบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจากการสำรวจพบว่าดินส่วนใหญ่เป็นดินคุณภาพดีโดยเป็นดินแน่นถึงแน่นมากและดินแข็งถึงแข็งมาก ทั้งนี้ยังได้มีการปรับปรุงคุณภาพดินและบดอัดอีกตามหลักทางด้านวิศวกรรมฐานรากเพื่อความปลอดภัยสูงสุด และได้ทำการทดสอบกำลังรับน้ำหนักของดินตามขั้นตอนอีกขั้นหนึ่ง เพื่อใช้ในการออกแบบฐานรากเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้างต่อไป  ???
58
 :wanwan021: จากกรณีตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผ่าน ได้มีการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของตัวเขื่อน ซึ่งเขื่อนดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มีการเจาะดินลงลึกถึง 119 เมตร 10 จุด จากสาเหตุที่ว่า เขื่อนสิริกิติ์มีแกนดินเหนียวหินทิ้ง (แกนตัวเขื่อนเป็นดินเหนียวบดอัดและใช้หินถมทับหน้า) มีอายุการก่อสร้างมาแล้วถึง 36 ปีแล้ว จึงได้ทำการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของตัวเขื่อนทุกๆ 3-5 ปี โดยเจาะลงไปถึงฐานรากของตัวเขื่อนเพื่อวัดชั้นดินที่สร้างเป็นแกนกลางของเขื่อนฯ พบว่าเขื่อนสิริกิติ์ยังแข็งแรงเป็นปกติดี ภัยธรรมชาติจากการเกิดแผ่นดินไหว 3.4 ริกเตอร์ ที่จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 นั้นไม่มีผลกระทบต่อเขื่อนสิริกิติ์แต่อย่างใด  เขื่อนสิริกิติ์เป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าให้แก่ประเทศ เป็นเขื่อนแกนดินเหนียวสูง 113.60 เมตร ยาว 810 เมตร กว้าง 12 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุด 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 500,000 กิโลวัตต์ เขื่อนสิริกิติ์เป็นเขื่อนที่สร้างประโยชน์ในด้านการชลประทาน การบรรเทาอุทกภัย การผลิตกระแสไฟฟ้า การประมง การคมนาคมทางน้ำ การท่องเที่ยว  ;D  ;D

ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000027200
59
จะว่าไปแล้ว เราก็ไม่ได้พูดถึง เรื่องการเจาะสำรวจดิน หรือ การเจาะดินกันนานแล้วนะครับ ณ เวลานี้ ผมขอพูดถึงเรื่อง การออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลหลุมเจาะสำรวจทางธรณีวิศวกรรม นี่เป็นตัวอย่าง บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ ของ คุณ ณรงค์รักษ์ รัตนานันท์ วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนยุรี กรุงเทพมหานคร การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลหลุมเจาะสำรวจทางธรณีวิศวกรรมในครั้งนี้ จัดได้ว่า เป็นการสร้างข้อมูลเชิงอรรถในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งสามารถนำไปเชื่อมโยงกับข้อมูล เชิงพื้นที่ได้ในกรณีที่มีข้อมูลส่วนนั้นมีพิกัดภูมิศาสตร์ที่แน่นอนของที่ตั้งหลุมเจาะสำรวจ การออกแบบในครั้งนี้ได้ใช้ข้อมูลตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรมชลประทาน และกรมทางหลวง สามารถแบ่งแยกข้อมูลได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ BOREHOLE GEOGRAPHY, BOREHOLE LOG และ SAMPLE PROPERTIES โดยในแต่ละส่วนก็ยังมี ตารางย่อยลงไปอีกสำหรับการจัดเก็บข้อมูลจริง รวมทั้งตารางพจนานุกรมด้วย ผลที่ได้จากการออกแบบคือระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงอรรถหลุมเจาะสำรวจทางธรณีวิศวกรรม รวมทั้งตัวอย่างข้อมูล โดยในการออกแบบได้จัดเตรียมให้ฐานข้อมูลสามารถจัดเก็บข้อมูลจากหลุมเจาะ สำรวจทางธรณีวิศวกรรมได้ทุกชนิด ทั้งที่เป็นการเจาะสำรวจดินและหิน โครงสร้างฐานข้อมูลได้รับ การออกแบบให้สามารถทำการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการจากฐานได้โดยรวดเร็วและแม่นยำ สำหรับ รูปแบบการนำเข้าได้จัดทำให้สอกคล้องกับการจัดเก็บข้อมูลที่สะดวกและง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป นอกจากนี้ ในการศึกษาครั้งนี้ยังได้จัดเตรียมตัวอย่างรูปแบบการสอบถามซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูล จากฐานข้อมูลที่มีอยู่เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปตามลักษณะงานหรือความต้องการของผู้ใช้  :wanwan017:

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://dcms.thailis.or.th/tdc//browse.php?option=show&browse_type=subject&subjid=55198&doc_type=0&display=list_subject&q=glucose

60
วันนี้ผมมีสถานที่น่าเที่ยวสุด ๆ มาฝากเพื่อน ๆ นะครับ แต่ผมยังไม่ได้ไปนะ เดี่ยวถ้ามีโอกาสได้ไปแล้ว จะถ่ายรูปโพสให้ดูกันอีกครั้งนะครับ จะว่าไปแล้วฮอกไกโดเป็นเกาะทางเหนือสุดของประเทศ ใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากเกาะฮอนชู ในหลายปีที่ผ่านมานี้ได้รับความนิยม จากนักท่องเที่ยวมากขึ้น  โดยเฉพาะเมืองหลักของเกาะฮอกไกโดคือซัปโปโร เป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมประวัติศาสตร์ความเป็นมาของฮอกไกโดในด้านต่างๆไว้ด้วยกัน ออนเซ็น และที่พลาดไม่ได้ คืออาหารการกิน เพราะเป็นเมืองที่เป็นเกาะ จึงมีแหล่งอาหารทะเลนานาชนิดที่ส่งต่อไปยังทั่วประเทศอีกด้วย เกาะฮอกไกโด (Hokkaido) ฮอกไกโดเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของญี่ปุ่น เป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศ ระหว่างเกาะฮอนชูและฮอกไกโดมีช่องแคบที่ถูกเชื่อมถึงกันโดยอุโมงค์ทางรถไฟชินคันเซ็น

สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ค่อนข้างหนาว แต่ฤดูร้่อนจะเย็นสบายเนื่องจากจะไม่ร้อนชื้นเหมือนกับภูมิภาคอื่นๆของญี่ปุ่น  เมืองหลวงของฮอกไกโดคือซัปโปโร รองมาคือฮาโกดาเตะ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ และมีเมืองอาซาฮีคาว่าอยู่ตรงกลางของเกาะ อุตสาหกรรมหลักของประเทศเป็นด้านการผลิตพลังงานแสงสว่าง เบียร์ ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในภาคการบริการ ซึ่งแม้ฮอกไกโดจะเป็นเมืองที่เน้นทางด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม แต่พื้นที่ถูกใช้ไปเพียงแค่ 1 ใน 4 ของเกาะเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงขนาดของผลผลิตต่อขนาดพื้นที่ ที่มีค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆในญี่ปุ่น



สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ "โอโดริปาร์ค" หรือ "โอโดริ โคเอ็น" ที่เป็นทั้งสวนและถนนที่ตัดผ่านย่านใจกลางเมืองจากตะวันออกไปตะวันตก
ซัปโปโรมีชื่อเสียงไปทั่วโลกจากงานโอลิมปิกฤดูหนาว หรือ Olympic Winter Gameที่จัดขึ้นที่นี่ในปี 1972 สิ่งที่ขึ้นชื่อของเมืองนี้ก็ได้แก่ ราเมน,เบียร์ และเทศกาลหิมะ




"โอตารุ" เมืองท่าแสนโรแมนติก
โอตารุ เมืองโรแมนติก ที่ควบคู่ไปกับความเก่าแก่และความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ชมคลองโอตารุ ที่มีความยาว 1,140 เมตร และเชื่อมต่อกับอ่าวโอตารุ ซึ่งในสมัยก่อนประมาณ ค.ศ. 1920 ที่ยุคอุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือเฟื่องฟู




"ทะเลสาบโทยะ" ทะเลสาบรูปวงกลม มีเรือข้ามระหว่างสี่เกาะและมีทิวทัศน์อันงดงามบนเขาโยะเทอิซัง
ทะเลสาบโทยะ อันสวยงามและโด่งดังที่สุดของฮอกไกโด ทะเลสาบแห่งนี้ เป็นหนึ่งในทะเลสาบชื่อดังของญี่ปุ่น เป็นทะเลสาบที่มีลักษณะกลม มีเส้นรอบวงประมาณ 40 กิโลเมตร ตรงใจกลางทะเลสาบมีเกาะกลางโผล่ขึ้นมา ทะเลสาบโทยะยังเคยเป็นสถานที่จัดประชุมสุดยอดผู้นำโลก G8 เมื่อปี 2551 ซึ่งผู้นำทั้ง 8 ประเทศ ชื่นชอบ และชิ่นชมทะเลสาบแห่งนี้เป็นอย่างมาก




" โนโบริเบ็ทสึ จิโคขุดานิ" หุบเขานรก
หุบเขานรกจิโกคุดานิ เป็นบ่อโคลนเดือดตามธรรมชาติ อุดมไปด้วยแร่กำมะถันซึ่งเกิดจากความร้อนใต้พิภพ หากนักท่องเที่ยวเดินตามทางเดินจะสามารถเห็นควัดที่เกิดจากความร้อนพวยพุ่งขึ้นมาจากใต้ดินตลอดเวลา หุบเขานรกจิโกคุดานิมีลักษณะเป็นเนินเขา มีทางเดินให้นักท่องเที่ยวได้ชมปรากฎการณ์ทางธรรมชาติตลอดข้างทาง หากเดินไปเรื่อยๆจะพบกับ "อุโอนุมะ" ซึ่งเป็นบ่อกำมะถันขนาดใหญ่ มีอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และยังมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมักแช่เท้าเพื่อเป็นการผ่อนคลายและเชื่อว่าช่วยในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับเท้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย







นี่ครับที่ผมอยากไปเที่ยวฮอกไกโดก็เพราะสิ่งนี้ครับ... Snow Festival (เทศกาลหิมะ)

เทศกาลหิมะซัปโปโร เป็นเทศกาลหิมะที่มีชื่อเสียงของเมืองซัปโปโร ซึ่งจัดขึ้นประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุก ๆ ปี บนพื้นที่จัดงาน 3 ส่วนคือ สวนสาธารณะโอโดริ ย่านการค้าซูซูกิโน และซัปโปโรคอมมูนิตีโดม ในงานมีการนำเสนอประติมากรรมที่สร้างจากหิมะและน้ำแข็งเป็นจำนวนนับร้อยชิ้น เทศกาลหิมะซัปโปโรเป็นเทศกาลหิมะที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และมีผู้เข้าชมงานจากทั่วโลกกว่า 2 ล้านคนทุกปี


ปล. ไปเที่ยวแล้ว ก็อย่าลืมไปกินอาหารทะเลสด ๆ กันด้วยนะครับ ;D  ;D  ;D

ที่มา : http://www.his-bkk.com/th/japan_tour/hokkaido_guide.php