เมษายน 27, 2024, 01:51:05 am

ข่าว:

บริการเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน โทร. 0-2729-5031, 085-917-7163


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Topics - [DSE] TEAM

1
ห้วยคอกหมู (ตชด.137) - แค้มป์บ้านกร่าง (2) 20 - 22 กรกฎาคม 56


งานนี้มีหลุดแผน คืนที่ 2 เกือบไม่มีที่ซุกหัวนอนซะแล้ว อิๆๆๆ


20 กรกฎาคม 56 ออกเดินทางกันตอนสายๆครับ ประมาณสิบโมงกว่าๆ กะว่าจะไปถึงห้วยคอกหมูสักช่วงบ่ายแก่ๆ ขับมาสักพัก เฮ้ย...รถเริ่มแน่น


เริ่มล่ะๆ ฝนก็ตก รถก็ติด ครบสูตรจริงๆ อะไรแว๊บๆฟ่ะ


อ๋อๆๆๆ.....


เข้าราชบุรีมา ฟ้าก็ยังครึ้ม แต่ก็ดีที่รถไม่ติดล่ะ เร่งทำเวลาได้


เฮ้ยๆๆ ฟ้าเริ่มเป็นใจๆ


เยี่ยม!!! ฟ้าเปิดแบบนี้น่าจะขึ้นเขาไหว


ลัดเลาะกันมาเรื่อยๆ


นานๆจะมีเพื่อนร่วมทางโผล่มา
2
ชุดอุปกรณ์การเจาะดินอื่นๆ ที่ใช้ในงานเจาะสำรวจดิน (ต่อ)

1 หัวตอกท่อเหล็กกันดิน  (Knock Block) มีเกลียวต่อกับท่อเหล็กกันดิน  และเกลียวสำหรับต่อก้านเจาะดินเพื่อตอกท่อเหล็กกันดิน  จำนวน  ๑  ชุด

2 เครื่องดันตัวอย่างดินแบบนอน (Horizontal  Sample  Ejector)  สามารถดันตัวอย่างดินออกกระบอกเก็บตัวอย่างดิน  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  ๓ นิ้ว  และดันตัวอย่างดินขนาดยาวได้ไม่น้อยกว่า ๒๕ นิ้ว  จำนวน  ๑  ชุด  แบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า

3 กระบอกเก็บตัวอย่างแบบบาง  (Sample  Tube)  ขนาดของกระบอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ นิ้ว  ยาว  ๗๕  เซนติเมตร  สามารถเก็บตัวอย่างได้ยาวไม่น้อยกว่า  ๖๐ เซนติเมตร  จำนวน  ๔๐ กระบอก พร้อมข้อต่อเข้ากับก้านเจาะ  จำนวน  ๒  อัน

4 ชุดทดสอบความแข็งของดิน  (Pocket  Penetrometer)  จำนวน  ๑  อัน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
   4.1 มีช่วงในการวัดค่าความแข็งแรงได้  ๐.๒๕ ถึง ๔.๕  กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
   4.2 มีแท่งทดสอบ (Load  piston)  ทำจาก Stainless  Steel    ตัวเครื่องทำ  เหล็กกล้าชุบโครเมียมกันสนิมอย่างดี
   4.3 มีซองบรรจุแบบคาดเข็มขัดได้  (Belt  Loop  Style)  สะดวกในการพกพา

5 เครื่องทดสอบแรงเฉือนของดินแบบพกพา  (Torvane  Shear  Device)  จำนวน ๑ ชุด มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
   5.1 ใช้ทดสอบหาค่าแรงเฉือนของดินในห้องทดสอบ  หรือในภาคสนามทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบาไม่เป็นสนิม
   5.2 สเกลหมุนอ่านค่า (Dial  Scale)  ๑  กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร  อ่านละเอียด  ๐.๐๕  กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรต่อขีด
   5.3 ใบรับรองผลสอบเทียบ  (Calibration  Test)

6 สมุดเทียบสีดิน  สำหรับการจำแนกสีดินแต่ละประเภทตามมาตรฐาน
3
ชุดอุปกรณ์การเจาะอื่นๆ ที่ใช้ในงานเจาะดิน ประกอบด้วย

1    หัวแขวนหมุน (Hoisting  Swivel) ทำจากเหล็กมีหูแขวน  และเกลียวต่อก้านเจาะ AW  ภายในมีลูกปืนรับแรงแบบ Thrust  Bearing  จำนวน ๑ ชุด
2   ปลอกนำตอกดิน  (Casing  Drive  Shoe)  เป็นปลอกนำตอกดิน  มีเกลียวเข้ากับท่อเหล็กกันดิน ปลายล่างมีคมหนาพอสมควรทำจากท่อเหล็กชุบแข็งพิเศษ  จำนวน ๑ ชุด
3    หัวหมุนน้ำ (Water  Swivel)  เป็นหัวหมุนน้ำแบบ  Heavy  Duty  มีลูกปืนรับแรง  (Thrust  Bearing)  และยางกันรั่ว   (Seal)  พร้อมหูหิ้วและเกลียวต่อก้านเจาะ  AW  จำนวน  ๑  ชุด
4    หัวกระทุ้งดินแบบสามแฉก (Tri  Chopping  Bit)  สำหรับกระทุ้งดิน มีเกลียวต่อเข้ากับก้านเจาะ  AW  และมีช่องฉีดน้ำ  จำนวน  ๑  ชุด
5ข้อต่อที (Wash  Tee)  ข้อต่อสำหรับต่อเข้ากับปากท่อเหล็กกันดิน  เพื่อระบายน้ำที่ไหลขึ้นจากหลุมเจาะลงถังกักน้ำ  (Slush  Pit)  จำนวน  ๑  ชุด
6   ถังเก็บกักน้ำ  (Slush  Pit)  ทำด้วยเหล็กเคลือบสีกันสนิม  มีขนาดความกว้างประมาณ ๘๐ เซนติเมตร  ยาวประมาณ ๑๕๐ เซนติเมตร  สูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร  บริเวณกลางถังมี Buffle กันตะกอนที่ไหลออกมาจากการเจาะล้าง  จำนวน  ๑  ชุด
7   เชือกมะนิลาฟอกอย่างดี  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้ว  ยาวไม่น้อยกว่า ๑๔ เมตร  จำนวน  ๒  เส้น
8   สว่านสำหรับเปิดหน้าดิน  (Screw  Type  Auger)  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  ๓  นิ้ว  ยาวไม่น้อยกว่า  ๑  เมตร  จำนวน  ๑  ชุด
9   ประแจคอม้า  (Straight  Pipe  Wrench)  ขนาด  ๑๘  นิ้ว  สำหรับจัดยืดก้านเจาะ  จำนวน  ๒  อัน
10  ประแจคอม้า  (Straight  Pipe  Wrench)  ขนาด  ๒๔  นิ้ว  สำหรับจับยืดก้าน  จำนวน  ๒  อัน
11    ประแจโซ่จับท่อ (Chain  Tongs)  สำหรับจับยึดปลอกกันดิน  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า  ๓ นิ้ว  ถึง ๕ นิ้ว  จำนวน  ๒ อัน
4
ชุดทดสอบการตอกมาตรฐานเพื่อหาค่า Standard  Penetration  Test (SPT) ในงานเจาะดิน จำนวน ๑ ชุด ประกอบด้วย
1    ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานแบบนิรภัย (Safety  Drive  weight)  น้ำหนัก ๑๔๐ ปอนด์  ตามมาตรฐาน ASTM  D -  ๑๕๘๖  จำนวน  ๑  ชุด
2    กระบอกเก็บตัวอย่างดินแบบผ่า (Split  Tube  Sampler)  เป็นกระบอกผ่าจำนวน  ๑ ชุด
3   อุปกรณ์ดักตัวอย่างทราย (Basket  Retainers)  ทำด้วยโลหะชนิดผ่านการให้ความร้อน (Heat  treated)  มีลักษณะเป็นพ่วงแฉกสามารถยืดหยุ่นได้ จำนวน  ๑  ชุด
5
ท่อเหล็กกันดิน (Casing) ที่ใช้ในงานเจาะดิน  เป็นท่อเหล็กกันดินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในไม่น้อยกว่า ๔ นิ้ว  ปลายหัวท่อมีเกลียวแบบเหลี่ยม (Square Thread)  มีขนาดต่าง ๆ ดังนี้
1    ขนาดความยาว    ๑.๕   เมตร   จำนวน     ๒   ท่อน
2    ขนาดความยาว    ๑.๐   เมตร   จำนวน     ๒   ท่อน
3   ขนาดความยาว    ๐.๕   เมตร   จำนวน     ๑   ท่อน
6
ชุดก้านเจาะ (Drill  Rod) ที่ใช้ในงานเจาะดิน ทำจากท่อเหล็กไม่มีตะเข็บมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก ๑.๗๕  นิ้ว  และเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน ๑.๒๕ นิ้ว  ตามขนาดมาตรฐานพร้อมข้อต่อ (Coupling) ทำด้วยเหล็กมีเกลียวต่าง ๆ ได้มาตรฐานกำหนด  มีขนาดต่าง ๆ ดังนี้
1    ขนาดความยาว    ๓   เมตร   จำนวน   ๑๕   ท่อน
2    ขนาดความยาว    ๒   เมตร   จำนวน     ๒   ท่อน
3 ขนาดความยาว    ๑    เมตร   จำนวน     ๒   ท่อน
4   ขนาดความยาว ๐.๕   เมตร   จำนวน     ๑   ท่อน
7
ชุดเครื่องสูบน้ำที่ใช้ในงานเจาะดิน  จำนวน  ๑ ชุด มีรายละเอียด ดังนี้

1    เป็นเครื่องแบบเกลียว (Screw  Type  Pump)  ฉุดด้วยกำลังเครื่องยนต์ ขนาดไม่ต่ำกว่า ๘ แรงม้า  ติดตั้งอยู่บนแท่นฐานแบบ Skid  Base
2    มีสายดูดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เล็กกว่า ๒ นิ้ว  ยาวไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และสายส่งชนิดทนแรงดันสูง  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ นิ้ว ยาวไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร
3   มีข้อต่อและอุปกรณ์ครบสามารถนำไปใช้งานได้ทันที
8
ชุดเครื่องเจาะเก็บตัวอย่างดิน ที่ใช้ในการเจาะดิน  จำนวน ๑ ชุด  มีรายละเอียด  ดังนี้

1 เป็นชุดทดสอบแบบฐานสกี  มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๘๐ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า ๑๒๐ เซนติเมตร  ทำด้วยเหล็กกล้า  มีความมั่นคงแข็งแรง
2 ใช้เครื่องยนต์ดีเซล  ขนาดไม่ต่ำกว่า ๑๐ แรงม้าเป็นต้นกำลัง
3 ติดตั้งบนฐานแบบสกี  (Skid  Base)  มีเครื่องกว้านในตัว
4 มีเรือนโครง (Mast  Boom)  ขนาดความสูงไม่น้อยกว่า ๓ เมตร  สามารถถอดประกอบได้  จำนวน ๑ ชุด
5 รอก (Sheave)  เป็นรอกเหล็กขนาดร่องรอก ๑ นิ้ว  เส้นผ่าศูนย์กลาง ๖ นิ้ว พร้อมหูแขวนเพลาแกน   มีลูกปืนรองรับ  จำนวน ๑ ชุด
9
แค้มป์บ้านกร่าง - เขาพะเนินทุ่ง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
24 - 25 กุมภาพันธ์ 2556


(อ้างถึงวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2556) ขณะกำลังนั่งเล่นเน็ตอยู่ในชมรมโรบอท  ;) ก็พลันคิดขึ้นได้ว่า วันจันทร์ที่จะถึงนี้เราหยุดงานนี่หว่า แล้วเราจะไปไหนดี จะนอนอยู่ที่ห้องหรือจะหาที่เที่ยวกางเต้นท์ดี  ??? งั้นลองหาข้อมูลจากพี่ Goo ดีกว่า  ;)

และแล้วก็มาเจอกับสถานที่หนึ่ง นั่นคือ แค้มป์บ้านกร่าง ซึ่งเป็นจุดกางเต้นท์จุกแรก ก่อนที่จะขึ้นสู่เขาพะเนินทุ่ง ตอนนั้นคิดแต่เพียงว่า จะเอารถขึ้นไปกางเต้นท์ที่แค้มป์บ้านกร่าง แล้วสายๆค่อยกลับกรุงเทพ (ไม่คิดที่จะขึ้นเขาพะเนินทุ่งด้วยซ้ำ เพราะข้อมูลในอินเตอร์เน็ตบอกว่าทางค่อนข้างจะโหด ต้องเป็น 4x4 เท่านั้น)

เช้าวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556 ก็เริ่มออกดินทางจากกรุงเทพ ไปถึงด่านทางขึ้นแค้มป์บ้านกร่าง ก็ช่วงบ่าย 2 ทางเจ้าหน้าที่เขาก็ถามว่าจะไปกางเต้นท์ที่ไหน ผมก็ตอบไปว่า จะไปแค่แค้มป์บ้านกร่าง เจ้าหน้าที่เขาเลยบอกว่า ทำไมไม่ขึ้นเขาพะเนินทุ่ง รถยกสูงขับ 2 แบบนี้ขึ้นได้สบาย ผมลังเลใจอยู่สักพัก แล้วตอบกลับไปว่า จะขอกางเต้นท์ที่แค้มป์บ้านกร่างก่อนก็แล้วกัน แล้วช่วงเช้ามืดค่อยขึ้นไปเขาพะเนินทุ่ง หลังจากนั้นก็จักการจ่ายค่าธรรมเนียม รถยนต์ 1 คัน 2 คน พัก 1 คืน แค่ 170 บาท ครับ งั้นก็เริ่มเดินทางกันเลยครับ  :wanwan013:

อุโมงค์ต้นกระถิน(หรือเปล่าหว่า?) หน้าแล้งใบมันร่วง แต่ก็ยังคงเค้าโครงอยู่ครับ


ภาพไม่ค่อยชัดเพราะรถวิ่งอยู่ครับ ไม่กล้าจอดกลัวช้างป่า 555


เก็บภาพไปเรื่อยๆระหว่างเดินทาง


และแล้วก็สิ้นสุดทางลาดยาง เริ่มต้นเข้าสู่ทางลูกรังครับ


ก็ไม่ถือว่าโหดร้ายครับ เพราะรถเก๋ง (เดิมๆ) ก็วิ่งสบาย


เห็นเส้นทางแล้วคิดถึงอดีตเส้นทางแถวบ้านเลย 555


ขับชมวิวมาเรื่อยๆ


เจ้าสองตัวนี่คือกองเชียร์ครับ ตกหลุมตกบ่อก็ไม่บ่นสักคำ สู้ ผบ.ก็ไม่ได้ บ่นตลอด 555


งานนี้ลากเกียร์ 2 ยาวเลยครับ


ลมยางพอดีๆ รถก็จะไม่เต้นเท่าไหร่ครับ


คลานกระด๊อกกระแด๊กไปเรื่อยๆ


ใกล้จะถึงละครับ


มาถึงแล้วครับ "แค้มป์บ้านกร่าง" พอจอดรถปุ๊บ ก็เจอเลยครับ "แมงซั่ม" เหอะๆๆๆ