Service

soil boring test

บริการเจาะสำรวจดิน SOIL BORING TEST

การเจาะสำรวจดินเป็นสิ่งจำเป็น ในลักษณะของคุณสมบัติของชั้นดินที่ถูกต้อง ควรค่าแก่การไปใช้ในการออกแบบก่อสร้าง สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ อาทิเช่น ถนน สะพาน อาคาร และ เขื่อนป้องกันตลิ่ง ฯลฯ ได้อย่างเหมาะสมกับของแต่ละสภาพพื้นที่ ซึ่งจะทำให้สิ่งปลูกสร้างเกิดความมั่นคง แข็งแรง ประหยัด ปลอดภัย และเป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดี ในการดำเนินการเจาะสำรวจดิน

field vane shear test

ทดสอบกำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำ FIELD VANE SHEAR TEST

การทดสอบ Field Vane Shear Test เป็นการทดสอบหาค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำ (Undrained Shear Strength, Su) หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นการทดสอบดินเพื่อหาแรงเฉือนในชั้นดินเหนียวอ่อนถึงแข็งปานกลางในสภาพดินตามธรรมชาติ จะทดสอบดินที่ระดับความลึกทุก ๆ ระยะ 1 เมตร งานทดสอบดิน Field Vane Shear Test จะสิ้นสุดความลึกของการทดสอบที่ไม่เกิน 15-17 เมตร ตามมาตรฐาน ASTM D-2573-72 

field density test

ทดสอบความหนาแน่นของดิน FIELD DENSITY TEST

การทดสอบหาค่าความหนาแน่นของดินในสนาม Field Density Test คือ การนำผลทดสอบความหนาแน่นของชั้นดินในสนาม เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับค่าความหนาแน่น ที่ได้จากการบดอัดดินในห้องปฏิบัติการ เป็นการนำน้ำหนักดินที่ขุดออกมาหารด้วยปริมาตรหลุมที่ขุดไว้ ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ความหนาแน่นของดินในสนาม การทดสอบดินในสนาม Field Density Test ที่เป็นที่นิยมใช้ ก็จะมีด้วยกัน 2 วิธี คือ วิธีใช้ทราย (Sand Cone Method) หรือใช้น้ำ (Balloon Density Method)

ทดสอบการซึมผ่านของน้ำในดิน FIELD PERMEABILITY TEST

การทดสอบค่ารั่วซึมของน้ำผ่านชั้นดิน Soil Permeability Test การทดสอบดินด้วยวิธีนี้เรียกว่า Gravity Test ซึ่งอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก นิยมใช้การทดสอบ Gravity Open-end Test ตามมาตราฐาน USBR Designation E-18 โดยวัดปริมาณน้ำที่รั่วซึมในช่วงเวลาที่ทำการทดสอบ จากนั้นก็จะมีการนำค่าที่ได้มาคำนวณหาค่าการรั่วซึมน้ำผ่านชั้นดิน

ทดสอบกำลังรับน้ำหนักแบกทานของดิน Plate Bearing Test

การทดสอบดิน เพื่อทดสอบกำลังรับน้ำหนักแบกทานของดิน Plate Bearing Test หรือ การทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของชั้นฐานราก อีกทั้งยังเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักกดกับการทรุดตัว ค่าพารามิเตอร์ตัวสำคัญ ที่นำไปใช้ในการออกแบบฐานราก และหาได้เฉพาะ การทดสอบกดด้วยแผ่นเหล็กในสนาม Plate Bearing Test คือ ค่าโมดูลัสการต้านแรงกดของชั้นดิน Modulus of subgrade reaction (k) เป็นค่าที่แสดงถึง ความแข็งแรงของชั้นดินใต้ฐานราก ตามมาตรฐาน ASTM D1194-94

open Standpipe Piezometer

ทดสอบแรงดันน้ำใต้ดิน Open standpipe piezometer

การวัดแรงดันน้ำแบบปลายท่อเปิด Open Standpipe Piezometer เป็นการวัดแรงดันน้ำในดินและหินที่ง่ายและประหยัดที่สุด Standpipe Piezometer (หรือที่รู้จักกันในนามของ Casagrande Piezometer) เป็นลักษณะของอุปกรณ์ที่นำมาใช้ตรวจสอบวัดค่าระดับน้ำใต้ดินในหลุมเจาะแนวตั้ง Standpipe Piezometer ที่เห็นกันโดยทั่วไปก็มักใช้ตัวกรองรูปทรงกระบอกแบบมีรูพรุนที่ส่วนปลาย ความดันของน้ำใต้ดิน ฝั่งที่ความลึกที่จะวัดความดันน้ำ และต่อท่อตั้งขึ้นไปข้างบนที่ผิวดินเข้ากับเครื่องวัดระดับน้ำระบบไฟฟ้า

kunzelstab penetration test1

ทดสอบดิน เจาะหยั่งแบบเบา Kunzelstab Penetration Test

Kunzelstab Penetration Test (KPT) เป็นการทดสอบกำลังต้านทานชั้นดินด้วยการหยั่งตอก แรงกระแทกจากตุ้มตอกถ่ายไปสู่ปลายของหัวเจาะรูปกรวย (Cone head) มุม 60 องศา การใช้ลูกตุ้มกระแทกส่งหัวเจาะรูปกรวยผ่านชั้นดินลงไป ซึ่งแรงต้านการเคลื่อนที่ของหัวเจาะรูปกรวยจะมีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติชั้นดิน ด้วยเครื่องมือทดสอบดิน Kunzelstab Penetration Test (KPT) มาตรฐาน DIN 4049 ของประเทศเยอรมัน