ประวัติวันเด็กแห่งชาติ

ประวัติวันเด็กแห่งชาติ

ที่มา : www.muc.ac.th

ย้อนไป พ.ศ.2498 ได้เกิดปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขึ้น โดยองค์การสหประชาชาติทั่วโลก เกิดความตื่นตัวและเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ ของตนมากขึ้น การขานรับเป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยกำหนดกันว่า จะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ

สำหรับประเทศไทย รับข้อเสนอของ นายวี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่ คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาตินำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ในที่สุดที่ได้รับมติเห็นชอบนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ในต่อมา วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2498 คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ รับไปดำเนินการ ส่วนค่าใช้จ่ายในการจัดงานได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ

3 ตุลาคม พ.ศ.2498 คือวันเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จากนั้นเป็นต้นมาราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ จัดติดต่อกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้นมีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ เพื่อความเหมาะสม ด้วยเหตุผลว่าเดือนตุลาคม สำหรับประเทศไทยเป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ทั้งการจราจรก็ติดขัด จึงเห็นว่าควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมเสียทุกสิ่งทุกอย่าง ได้สะดวกสบายขึ้นและมีความเหมาะสมมากกว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมาลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 จึงประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ จากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ด้วยเหตุนี้ปี 2507 จึงไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ในระเบียบวินัยอันดี และเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิของเด็ก คำขวัญวันเด็กเป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็ก ปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

คำขวัญวันเด็กตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2499 – จอมพล ป.พิบูลสงคราม : จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
พ.ศ. 2502 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
พ.ศ. 2503 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
พ.ศ. 2504 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
พ.ศ. 2505 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
พ.ศ. 2506 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
พ.ศ. 2507 : ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
พ.ศ. 2508 – จอมพล ถนอม กิตติขจร : เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
พ.ศ. 2509 – จอมพล ถนอม กิตติขจร : เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ. 2510 – จอมพล ถนอม กิตติขจร : อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ. 2511 – จอมพล ถนอม กิตติขจร : ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ. 2512 – จอมพล ถนอม กิตติขจร : รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
พ.ศ. 2513 – จอมพล ถนอม กิตติขจร : เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
พ.ศ. 2514 – จอมพล ถนอม กิตติขจร : ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
พ.ศ. 2515 – จอมพล ถนอม กิตติขจร : เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
พ.ศ. 2516 – จอมพล ถนอม กิตติขจร : เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ. 2517 – นายสัญญา ธรรมศักดิ์ : สามัคคีคือพลัง
พ.ศ. 2518 – นายสัญญา ธรรมศักดิ์ : เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
พ.ศ. 2519 – หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช : เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
พ.ศ. 2520 – นายธานินทร์ กรัยวิเชียร : รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
พ.ศ. 2521 – พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ : เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ. 2522 – พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ : เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
พ.ศ. 2523 – พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ : อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2524 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
พ.ศ. 2525 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2526 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
พ.ศ. 2527 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
พ.ศ. 2528 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
พ.ศ. 2529 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2530 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2531 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2532 – พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ : รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2533 – พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ : รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2534 – พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ : รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ. 2535 – นายอานันท์ ปันยารชุน : สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ. 2536 – นายชวน หลีกภัย : ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2537 – นายชวน หลีกภัย : ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2538 – นายชวน หลีกภัย : สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2539 – นายบรรหาร ศิลปอาชา : มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ. 2540 – พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ : รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ. 2541 – นายชวน หลีกภัย : ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2542 – นายชวน หลีกภัย : ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2543 – นายชวน หลีกภัย : มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2544 – นายชวน หลีกภัย : มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2545 – พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร : เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ. 2546 – พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร : เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ. 2547 – พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร : รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ. 2548 – พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร : เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ. 2549 – พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร : อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
พ.ศ. 2550 – พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ : มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ.2551 – พลเอก สุรยุธ์ จุลานนท์ : สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ.2552 – นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ฉลาด คิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคี
พ.ศ.2553 – นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ.2554 – นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ

ที่มา : special.obec.go.th

Comments are closed.