เมษายน 19, 2024, 10:24:06 am

ข่าว:

บริการเจาะสำรวจดินและทดสอบดิน โทร. 0-2729-5031, 085-917-7163


ดินดานในภาคการเกษตร

เริ่มโดย denichammy, มิถุนายน 18, 2013, 11:07:30 am

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

denichammy

 :D ดินดานในภาคการเกษตร : ชั้นดินดาน หรือ ดินดาน (pan) หมายถึง ชั้นดินที่อัดตัวกันแน่นทึบหรือชั้นที่มีสารเชื่อมอนุภาคของดินมาจับตัวกันแน่นทึบและแข็งจนเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไหลซึมของน้ำและอากาศ (คณะกรรมการจัดทำปทานุกรมปฐพีวิทยา, 2541) เมื่อกล่าวถึงชนิดของชั้นดินดาล ชั้นดินดาลก็จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ชั้นดานเปราะ (fragipan) ชั้นดานเปราะพบในดินทั่วๆไป เป็นชั้นดินดานที่มีความหนาแน่นสูงกว่าชั้นดินบนและล่าง และมีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำ  ชั้นดานแข็ง (duripan) เป็นชั้นดินที่มีการเชื่อมตัวกันแน่นทึบและแข็ง เกิดขึ้นโดยการยึดเกาะกันระหว่างอนุภาคของเม็ดดินกับสารเชื่อมต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน ดินดาลเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยเฉพาะการปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง การเขตกรรมที่ผิดวิธี เช่น การไถพรวนบ่อยครั้งและไม่ถูกวิธี การไถพรวนที่ระดับความลึกเดียวกันนานหลาย ๆ ปี ซึ่งทำให้เกิดผลระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช  ดินดานของประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมด 27,280,130 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.5 ของเนื้อที่ประเทศไทยโดย ภาคเหนือมีพื้นที่ 3,210,016 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.00 ของเนื้อที่ประเทศไทย ภาคกลาง 5,021,560 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.56 ของเนื้อที่ประเทศไทย ภาคตะวันออก 3,797,545 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.18 ของเนื้อที่ประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12,736,047 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.97 ของเนื้อที่ประเทศไทย และภาคใต้ 2,514,962 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.78 ของเนื้อที่ประเทศไทย ดินดานที่พบในที่ลุ่มมีความเหมาะสมในการทำนา การจัดการที่ดินโดยทั่วไป คือ การปรับระดับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ การปรับคันนาเพื่อการเก็บกักน้ำ และการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสดเป็นต้น ส่วนดินดานที่พบบนพื้นที่ดอน ถ้าเป็นชั้นดานแข็งที่มีแนวสัมผัสหินแข็งและเป็นดินตื้นควรใช้ประโยชน์เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ปลูกป่าทดแทนหรือปลูกพืชไร่ที่มีระบบรากสั้น ในกรณีที่พบชั้นดานอยู่ตื้นถ้าจะทำการปลูกไม้ผลก็ควรมีการปรับปรุงเฉพาะหลุม แต่ถ้าเป็นชั้นดานที่เกิดเนื่องจากการใช้ประโยชน์ การจัดการดินต้องมีการไถระเบิดดินดาน การเพิ่มอินทรียวัตถุ การเตรียมดินอย่างถูกวิธี เช่น ไม่ไถพรวนบ่อยครั้ง หรือไม่ไถพรวนขณะที่ดินเปียกเกินไปเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามควรมีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุควบคู่ไปกับการจัดการดินเพื่อให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น ลดความหนาแน่นรวมของดิน เพื่อให้รากพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ดังนั้นแนวทางในการจัดการดินดานที่เหมาะสมเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีความจำเป็นเพื่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถเพิ่มผลผลิตพืชให้กับเกษตรกรได้อย่างยั่งยืนต่อไป  :wanwan021:

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก : http://irw101.ldd.go.th/irw101.ldd/result/result_hardpan.html