ขี้เถ้าแกลบ วัสดุมวลเบา ปัญหาการทรุดตัวของโครงสร้างดินเหนียวอ่อนในกรุงเทพมหานคร

เริ่มโดย denichammy, มิถุนายน 08, 2013, 04:16:26 pm

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

denichammy

 :D ผมไปอ่านเจอมาใน วารสาร ทางหลวง ปีที่ 50 ฉบับที่ 2 ช่วง เดือน มีนาคม-เมษายน 2556 เรื่อง การศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานของเถ้าหนัก (Bottom Ash) เพื่อใช้ในงานทาง ผลงานของ ดร. จอมปวีร์ จันทร์หิรัญ (วย.1844) ผู้อำนวยการส่วนตรวจสอบและวิเคราะห์ทางวิศวกรรม สำนักงานทางหลวงมหาสารคาม ซึ่งผมคิดว่า งานทาง งานถนน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานเจาะสำรวจดินและงานทดสอบดินเหมือนกันนะครับ จากปัญหาการทรุดตัวของโครงสร้างบนดินเหนียวอ่อนกรุงเทพมหานคร จัดว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกการก่อสร้างคันทาง หรือ คอสะพานของกรมทางหลวง ในบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แนวทางในการแก้ไขคือ ต้องหากรรมวิธีการปรับปรุงคุณภาพของดิน Ground Improvement ให้มีคุณสมบัติที่ดีในเชิงวิศวกรรมโยธา หรือการลดน้ำหนักกระทำต่อดินเหนึยวอ่อนหรือใช้วัสดุมวลเบา เช่นการปรับปรุงคุณภาพดินแบบตื้น Shallow Stabilization และ การปรับรุงคุณภาพดินแบบลึก Deep Stabilization ในปัจจุบันนี้ที่นิยมใช้มีหลายวิธีได้แก่ PVD, Cement Column, Pile เป็นต้น ตัวอย่างการทำ Shallow Stabilization ได้แก่ การปรับปรุงคุณภาพโดยการผสมซีเมนต์ Cement Stabilization การปรับปรุงคุณภาพโดยการผสมปูนขาว Lime Stabilization การปรับปรุงคุณภาพของวัสดุโดยผสมยางมะตอย Bituminous Stabilization การปรับปรุงคุณภาพของวัสดุโดยใช้สารเคมี Chemical เป็นต้น ในปัจจุบันมีการนำเอาวัสดุมวลเบา Light Weight Material มาใช้ในงานก่อสร้างกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุถมสำหรับก่อสร้างกำแพงกันดิน หรือดินถมบริเวณคอสะพาน หรือนำมาก่อสร้างคันทางบนดินเหนียวอ่อน เพื่อลดแรงดันทางด้านข้าง ที่กระทำกับโครงสร้างกำแพงกันดิน ลดน้ำหนักของคันทางที่กระทำต่อชั้นดินเดิม และลดการทรุดตัวของดินเดิมด้วยนะครับ โดยเฉพาะ ขี้เถ้าแกลบเป็นกากของเสียจากการแปรรูปผลผลิตทางภาคอุตสาหกรรมการเกษตรมากมายในแต่ละปี เช่น กากอ้อยจากโรงน้ำตาล กากปาล์มน้ำมันจากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม เศษไม้จากโรงสับไม้หรือโรงงานแปรรูปไม้เปลือก ไม้จากโรงงานผลิตเยื่อกระดาษและแกลบจากโรงสีข้าว  :wanwan017: