การทำแผนที่ชั้นดินกรุงเทพมหานครโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

เริ่มโดย denichammy, พฤษภาคม 29, 2013, 01:24:27 pm

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

denichammy

 ;) การทำแผนที่ชั้นดินกรุงเทพมหานครโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : การวิจัยนี้เป็นการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการสร้างแผนที่ชั้นดินของกรุงเทพฯ, สร้างแผนที่เส้นชั้นกำลังรับแรงเฉือนแบบอันเดรน และสร้างแผนที่เส้นชั้น SPT ตลอดจนการศึกษาถึงสมบัติพื้นฐานและคุณสมบัติกำลังรับน้ำหนักของชั้นดิน โดยอาศัยหลักสถิติของพื้นที่ในกรุงเทพฯ และแต่ละเขตการปกครอง ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้จากรายงานการเจาะสำรวจดินทั่วกรุงเทพฯ จำนวน 1,083 หลุมเจาะ นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบผลการวิจัยที่ได้กับผลการวิจัยในอดีต ผลการวิจัยพบว่าลักษณะชั้นดินทั่วไปของกรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกันมาก โดยสรุปได้ว่าดินชั้น WEATHERED CLAY มีระดับความลึกเฉลี่ย 2.45 เมตร จากระดับผิวดิน, ดินชั้น SOFT CLAY มีระดับความลึกเฉลี่ย 13.94 เมตร จากระดับผิวดิน และดินชั้น STIFF CLAY มีระดับความลึกเฉลี่ย 22.44 เมตร จากระดับผิวดินโดยดินชั้น WEATHERED CLAY เป็นชั้นดินที่อยู่บนสุด ระดับต่ำสุดของดินชั้นนี้อยู่ระหว่าง 0.5-5.5 เมตร ความลึกของของดินชั้นนี้มีระดับไม่สม่ำเสมอ, ดินชั้น SOFT CLAY เป็นชั้นดินที่ถัดจากดินชั้น WEATHERED CLAY ระดับต่ำสุดของดินชั้นนี้อยู่ระหว่าง 8.00-23.00 เมตร ความลึกของของดินชั้นนี้มีระดับไม่สม่ำเสมอและดินชั้น STIFF CLAY เป็นชั้นดินที่ถัดจากดินชั้น SOFT CLAYระดับต่ำสุดของดินชั้นนี้อยู่ระหว่าง 14.50-41.20 เมตร ความลึกของดินนี้มีแนวโน้มลึกซึ้งจากทางเหนือลงมาทางใต้อย่างเห็นได้ชัดเจน ส่วนการเปลี่ยนแปลงในแนวตะวันตก-ตะวันออกไม่เห็นเด่นชัด ผลการวิเคราะห์สมบัติต่างๆ จากข้อมูลทั่วกรุงเทพฯ สรุปผลการวิเคราะห์แต่ละชั้นดินได้ดังนี้ ดินชั้น SOFT CLAY มีค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบอันเดรนเฉลี่ยประมาณ1.89 ตันต่อตารางเมตร, ดินชั้น STIFF CLAY มีค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบอันเดรนเฉลี่ยประมาณ 10.56 ตันต่อตารางเมตร และมีค่า STANDARD PENETRATION TEST เฉลี่ยประมาณ 24.65 BLOWS/FT, ผลการวิเคราะห์ในรูปแผนที่เส้นชั้นของความลึกชั้นดินชนิดต่างๆ, STANDARD PENETRATION TEST, กำลังรับแรงเฉือนแบบอันเดรน เป็นการแสดงถึงแนวโน้มของค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ค่าที่ปรากฏเป็นค่าประมาณทั้งหมด การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นถึงการสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เข้ากับงานด้านวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ได้เท่านั้น ไม่สามารถใช้ผลการวิจัยในการอ้างอิงได้เนื่องจากสภาพของดินบางพื้นที่มีความแปรปรวนมาก และการกระจายของข้อมูลหลุมเจาะสำรวจดินไม่ครอบคลุมทั่วถึงในพื้นที่บางส่วน เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เกษตรกรรมควรมีการเจาะสำรวจชั้นดินในพื้นที่นั้นๆ เพื่อหาค่าคุณสมบัติพื้นฐานและคุณสมบัติทางกำลังของดินในการคำนวณค่าต่างๆ ด้านวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์ต่อไป  :'(

ผู้เขียน...คมศิลป์ วังยาว
ที่มา : http://www.research.or.th/handle/123456789/174202