ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับบ้าน ว่าด้วยเรื่องโครงสร้าง ฐานราก เข็ม

เริ่มโดย denichammy, ธันวาคม 15, 2012, 02:06:55 pm

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

denichammy

 ??? ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับบ้าน ว่าด้วยเรื่องโครงสร้าง ฐานราก เข็ม



ฐานราก คือ ส่วนที่ติดกับหัวเสาเข็ม โดยการหล่อให้เป็นตอม่อเพื่อรับโครงสร้างของบ้าน,ส่วนนี้สำคัญมากควรทำตามแบบวิศวกรไม่ควรตัดลดเพราะเมื่อมีปัญหาจะแก้ยากมาก เพราะอยู่ใต้ดิน

เข็ม คือ ส่วนที่รับน้ำหนักอยู่ใต้สุดของตัวบ้าน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือเข็มตอก กับ เข็มเจาะ

เข็มตอก มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม,หกเหลี่ยม หรือรูปตัวไอ

วิธีการตอกก็คือ ตอกลงไปด้วยกำลังคน หรือปั้นจั่น ก็ได้จนสุดความยาวของเข็ม

เข็มเจาะ คือ การเจาะดินลงไปก่อน แล้วหย่อนแม่แบบ เหล็กลงไปใส่เหล็กเสริมแล้วจึงเทคอนกรีตตามลงไปในหลุม เข็มเจาะจะมีราคาสูงกว่าเข็มตอก แต่จะทำให้บ้านข้าง เคียงไม่เดือดร้อน เพราะไม่เกิดแรงสั่นสะเทือนเหมือนเข็มตอก เหมาะสำหรับบ้านที่ปลูกติดกัน

ชนิดของปูนซีเมนต์ ปูนซีเมนต์แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

ปูนชนิดที่หนึ่ง เป็นปูนที่มีความแข็งแรง มีประสิทธิภาพในการยึดเกาะดี ใช้สำหรับทำโครงสร้างที่ต้องการรับน้ำหนัก คือ ปูน Portland Cement เช่น ปูนตราดอกจิก,ตราช้าง จะมีราคาแพงกว่า
ปูนชนิดที่สอง จะมีความแข็งแรงน้อยกว่า เหมาะ สำหรับงานที่ต้องการความปราณีตเรียบร้อย เช่น งานฉาบปูน หรืองานก่อ ซึ่งการรับน้ำหนัก และการยึดเกาะจะสู้แบบแรก ไม่ได้ คือ ปูนSilica Cement เช่น ปูนตรางู

เห่า ตราเสือ จะ มีราคาถูกกว่า
การใช้งานต้องใช้ให้ถูกประเภทของงาน มิฉะนั้นจะ ทำให้เกิดปัญหาในการรับน้ำหนัก หรือการแตกร้าวได้ ซึ่งจะ มีอันตรายมาก



ส่วนผสมของคอนกรีต

สัดส่วนของคอนกรีต จะมีสัดส่วนปูนซีเมนต์ต่อทราย ต่อหิน ดังนี้

สัดส่วน 1 : 1.5 : 3 จะเป็นงานเสาและโครงสร้าง
สัดส่วน 1 : 2 : 4 จะเป็นงานพื้น, คาน
สัดส่วน 1 : 2.5 : 4 จะเป็นงานถนน ฐานราก

ปูนซีเมนต์ที่ใช้จะต้องถูกต้องตามชนิดของการใช้งาน ทรายและหินต้องสะอาด ขนาดได้ตามที่ต้องการ การตวงวัสดุควรใช้กะบะตวงที่ได้มาตรฐานแทนการ ใช้บุงกี๋ซึ่งไม่แน่นอน

การเทคอนกรีตอย่างถูกวิธี

ก่อนเทควรทำให้พื้นที่ที่จะเทให้ชุ่มชื้นเสียก่อน เพื่อจะได้ไม่มาดูดน้ำจากคอนกรีต  และควรเทในขณะที่คอนกรีตยังไม่แข็งตัว เมื่อเทแล้วจะต้องไม่ให้เกิดช่องว่าง หรือเป็นโพรง คือ ต้องเข้าไปทุกซอก ทุกมุม เพื่อให้หุ้มเหล็กที่เสริมอยู่โดย ตลอด วิธีการจะทำโดยการกระทุ้งด้วยมือ หรือจะใช้เครื่องสั่น คอนกรีตก็ได้ วิธีการนี้จะทำให้โครงสร้างมีกำลังรับน้ำหนักได้เต็มที่ และมีผิวสวยงามอีกด้วย

การหล่อโครงสร้างบ้านที่ติดกับดิน

โดยทั่วไปแล้วผู้รับเหมา มักจะใช้ดินหรือทรายใต้ ท้องคานเป็นแบบที่ใช้หล่อเลย ซึ่งจะทำให้คอนกรีตที่เท ลงไปนั้น จะไม่สามารถหุ้มเหล็กโครงสร้างได้ทั้งหมด ทำให้ ไม่สามารถรับแรงได้เท่าที่ควร วิธีที่ถูกต้อง ควรจะเทคอนกรีตหยาบทับหน้าดินหรือ ทราย เพื่อเป็นท้องแบบก่อนจะดีกว่า แล้วใช้ลูกปูนหนุนเหล็ก เพื่อให้ปูนสามารถหุ้มเหล็กได้ทั้งหมด ด้วยวิธีนี้จะได้โครงสร้าง ที่ได้มาตรฐานตามที่ต้องการ

ปัญหาเกี่ยวกับงานโครงสร้าง

ปัญหาส่วนนี้สำคัญมาก ส่วนใหญ่เกิดจาก

1. แบบมีรายละเอียดไม่พอ เช่น ขนาดของเสา และ คาน จำนวนและขนาดของเหล็กเสริมต่างๆ ไม่ชัดเจน จึงทำ ให้ช่างมีโอกาสทำงานผิดพลาดได้
2. ชนิดของคอนกรีตและส่วนผสมต่างๆ ต้องถูกต้อง ตามชนิดของงานที่ใช้ จะใช้ชนิดของงานปูนฉาบไม่ได้
3. โครงสร้างที่หล่อเสร็จแล้ว ต้องเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีช่องว่างหรือร่องรอยของหินหรือเหล็กโผล่ให้เห็น เพราะ จะทำให้โครงสร้างรับแรงไม่ได้ดีเท่าที่ควร
4. เมื่อหล่อเสร็จแล้ว อย่าลืมการบ่มคอนกรีต คือ การนำกระสอบที่ชุ่มน้ำมาห่อหุ้มไว้ เพื่อป้องกันการแตกร้าว

ปัญหาการทรุดตัวของบ้าน

การก่อสร้างเป็นปัญหาที่พบมาก เนื่องจากก่อสร้างจะต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดโดยผู้มีความชำนาญ เช่น การ ตอกเสาเข็ม ซึ่งรองรับฐานรากของอาคาร อาจเกิดเข็มแตก เข็มหักอยู่ใต้ดิน ทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามที่คำนวณไว้

ปัญหาจากการต่อเติมและดัดแปลง มีการกั้นห้องเพิ่ม เติม มีแนวผนังไม่ตรงแนวคาน ก็เป็นสาเหตุทำให้บ้านทรุดตัว แตกร้าวได้

ปัญหาจากภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ซึ่งในบ้าน เราพบน้อย เพราะไม่ได้อยู่แนวเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ไม่ เหมือนในต่างประเทศ



ปัญหาน้ำซึมเข้าบ้าน

ก่อนอื่นต้องทราบสาเหตุการรั่วซึมก่อน อาจจะเกิดจากท่อระบายน้ำที่ฝั่งอยู่ในบ้านแตกร้าว แก้โดยการเปลี่ยนท่อใหม่ ส่วนหลังคาคอนกรีตที่มีท่อระบายน้ำ ควรมีท่อน้ำ ล้นด้วย แต่ถ้ายังเกิดการแตกร้าว วิธีแก้ คือ ปูแผ่นยางกัน ซึมแล้วเททับด้วยคอนกรีตผสมน้ำยากันซึมอีกที อาจจะเกิดรอยต่อของโครงสร้างบ้านระหว่าง คานกับ ผนัง วิธีแก้โดยการสกัดให้เป็นร่อง แล้วอุดด้วยกาวคอนกรีต

ปัญหาการต่อเติมบ้าน

ในกรณีที่เป็นบ้านชั้นเดียวจะต่อเป็น 2 ชั้น ถ้าตอน ที่สร้างไม่ได้เผื่อเสาเข็มไว้สำหรับ 2 ชั้น ก็ห้ามต่อเติมเป็น 2 ชั้นอย่างเด็ดขาด เพราะอาจพังลงมาก็ได้

ในกรณีที่ต่อเติมบางส่วน ก็ควรปรึกษาวิศวกรก่อน เพราะการออกแบบโครงสร้างจะเผื่อน้ำหนักปลอดภัยไว้ ถ้าเรามาต่อเติมส่วนนี้บ้านจะไม่ปลอดภัย เพราะจะทำให้โครง สร้างรับน้ำหนักมากเกินไป

วิธีการป้องกันปลวก

ปลวกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. ปลวกไม้แห้ง เป็นปลวกที่เข้าสู่ตัวบ้านโดยบินเข้ามา หรือที่เรียกว่า "แมลงเม่า" จะอยู่ตามซอกไม้ใต้หลังคา
2. ปลวกใต้ดิน เป็นปลวกที่ทำให้บ้านเสียหายมากที่สุด จะเข้ามาโดยทำเป็นท่อลำเลียงมาจากใต้พื้นดิน

วิธีป้องกัน คือ

-  ใช้น้ำยาทาไม้เพื่อป้องกันปลวกไม้แห้ง
-  ใช้น้ำยาราดลงไปในดิน เพื่อป้องกันปลวกใต้ดิน  :-\

ที่มา : http://www.homedecorthai.com/articles/home_design_building-77-51.html