ลักษณะทางธรณีวิทยา ของ เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ...

เริ่มโดย denichammy, กันยายน 03, 2013, 11:38:34 am

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

denichammy

 :D ท่านผู้อ่านคงได้ยินคำกล่าวที่ว่า "เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู" ก็คงจะหนีไม่พ้นคำขวัญของ จังหวัดนครศรีธรรมราช นั่นเองครับ เราก็มาพบกันเช่นเคย กับ ลักษณะทางธรณีวิทยาของ จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่โดยส่วนใหญ่ โดยรอบนั้น จะเป็นพื้นที่ของภูเขา ตามแนวเทือกเขานครศรีธรรมราช มีหินฐานล่างแกนกลางเป็นหินอัคนีแทรกซอน ประเภทหินแกรนิต ที่บางส่วนถูกปกปิดด้วยหินตะกอน และหินแปร ซึ่งมีบางส่วนที่หินปกปิดถูกเซาะกร่อนผุสลายไปจึงเปิดเผยให้เห็นหินแกรนิต โดยหินตะกอนและหินแปรที่ปกปิดคาค้างอยู่ตามเชิงเขา มีกลุ่มหินทุ่งสง และ กลุ่มหินตะรุเตา นอกจากนี้ยังมีหินตะกอนหมวดหินลำทับ ที่เป็นหินโคลน หินทรายแป้ง หินกรวดมนและหินทราย และปรากฏหินปูนยุคเพอร์เมียน กลุ่มหินราชบุรีแทรกสลับอยู่เป็นหย่อม ๆ ทางแถบตะวันตก ตามที่ราบ ที่ลุ่ม และชายฝั่งเป็นเขตทับถมของตะกอนยุคควอเทอร์นารี ต่อไปจะเป็นเรื่องของ พืชพรรณที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่เห็นกันโดยส่วนใหญ่นั้น ก็จะมี กระท้อน กระบาก ตะเคียน ทราย ยาง ยูง หลุมพอ หว้า สำหรับวันนี้ ผมและทีมงานต้องก็จบเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วเราก็จะได้พบกับ ทางลักษณะธรณีวิทยาของจังหวัดอื่น ๆ ในวันต่อ ๆ ไป กันนะครับ ขอบคุณครับ  :wanwan017:

(กวี วรกวิน, 2546, หน้า 54)