หลุมยุบ ธรณีพิบัติภัยของธรรมชาติ

sinkhole

หลุมยุบในประเทศไทย

ในประเทศไทยมีร่องรอยของหลุมยุบเกิดมากมาย บางบริเวณมีขนาดใหญ่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น ทะเลในของหมู่เกาะอ่างทอง ถ้ำมรกตที่จังหวัดตรัง และทะเลบันที่จังหวัดสตูล

ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2538 ถึงเดือนมกราคม 2548 มีการเกิดหลุมยุบทั่วประเทศมากกว่า 66 พื้นที่ ในจำนวนนี้ 25 พื้นที่ เกิดหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 และส่วนใหญ่พบในจังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน

หลุมยักษ์กลางกัวเตมาลา ปี 2007

หลุมยักษ์กลางกัวเตมาลา ปี 2007

หลุมยักษ์กลางกัวเตมาลา ปี 2007 เป็นหลุมจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกลางกัวเตมาลา มีความลึกประมาณ 100 เมตร ดูดเอาบ้านนับสิบหลังให้หายวับไปกับตาได้อย่างรวดเร็วในขณะนั้น

หลุมยักษ์กลางกัวเตมาลา ปี 2010

หลุมยักษ์กลางกัวเตมาลา ปี 2010

หลุมยักษ์กลางกัวเตมาลา ปี 2010 หลุมนี้เกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ในบริเวณที่ไม่ห่างจากหลุมแรกมากนัก ปากหลุมมีความกว้าง 18 เมตร และลึกราว 30 เมตร

(ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากเรื่อง หลุมยุบ หลุมยักษ์ 9 หลุมมหัศจรรย์ของโลก)

ลักษณะของหลุมยุบ

รูปร่างของหลุมยุบแตกต่างกันไปตามลักษณะการเกิด ส่วนใหญ่มีรูปร่างวงกลมหรือวงรี หลุมยุบที่เกิดจากการพังถล่มของเพดานโพรงหรือถ้ำใต้ดิน จะมีขอบหลุมชัน แต่หลุมยุบที่เกิดเนื่องจากการละลายของหินเป็นหลัก จะมีขอบหลุมเอียงลาด ขนาดของหลุมยุบขึ้นอยู่กับขนาดของโพรงหรือถ้ำใต้ดิน มีตั้งแต่ไม่กี่เมตรถึงหลายร้อยเมตรและลึกหลายสิบเมตร

หลุมยุบคืออะไร

sinkhole2

หลุมยุบ หรือ Sinkhole เป็นธรณีพิบัติภัยประเภทหนึ่ง เกิดตามธรรมชาติ แต่กิจกรรมของมนุษย์เร่งให้เกิดเร็วขึ้นได้ พบได้ทั่วไปในภูมิประเทศที่ใต้ผิวดินเป็นหินปูน หินโดโลไมต์ และหินอ่อน ซึ่งหินเหล่านี้ละลายได้ในน้ำใต้ดิน และเมื่อเพดานต้านทานน้ำหนักของดินและสิ่งก่อสร้างที่กดทับด้านบนไม่ไหว จึงพังกลายเป็นหลุมยุบ

sinkhole3 คน แผ่นดินไหวและสึนามิ ทำให้เกิดหลุมยุบจริงหรือ

คน แผ่นดินไหวและสึนามิ ทำให้เกิดหลุมยุบจริงหรือ?

จริง เพราะการเผาไหม้ของน้ำมันและถ่านหิน ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเมื่อผสมกับน้ำฝนจะกลายเป็นกรดคาร์บอนิค ถ่านหินที่มีแร่ไพไรต์อยู่ด้วย เมื่อถูกเผาก็ทำให้เกิดฝนกรด ซี่งกรดเหล่านี้จะไปละลายหินปูนหรือหินคาร์บอเนตให้กลายเป็นหลุมยุบได้เร็ว ขึ้น แผ่นดินไหวที่รุนแรง นอกจากทำให้หินแตกร้าว แผ่นดินไหว และสึนามิ รวมทั้งการสูบน้ำบาดาลจากโพรงหรือถ้ำ มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แรงดันน้ำและอากาศในโพรงหรือถ้ำใต้ดิน เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดหลุมยุบ

ข้อควรระวังเมื่อเกิดหลุมยุบ

ข้อควรระวังเมื่อเกิดหลุมยุบ

1. ล้อมรั้วรอบบริเวณ โดยห่างจากขอบหลุมไม่ต่ำกว่า 15 เมตร เพื่อป้องกันอันตรายไม่ให้คนหรือสัตว์ตกลงไปในหลุม พร้อมติดป้ายห้ามเข้า

2. แจ้งให้ทางราชการทราบ เช่น อบต. อำเภอ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด หรือกรมทรัพยากรธรณี เพื่อมาตรวจสอบสภาพพื้นที่และลักษณะทางธรณีวิทยา

3. อย่าทิ้งขยะ ของเสีย หรือสารพิษในหลุม เพราะจะทำให้เกิดการปนเปื้อนในแหล่งน้ำบาดาล

4. ถมหลุมยุบด้วยก้อนหิน ใช้ก้อนขนาดใหญ่ถมก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกพัดพาไปกับทางน้ำใต้ดินและถมดิน ลูกรังอัดตามกันไปจนเต็มหลุม

5. ห้ามปลูกสิ่งก่อสร้างบนพื้นที่ดังกล่าว เว้นแต่ได้ตรวจสอบลักษณะโครงสร้างใต้ดินแล้ว

6. น้ำบริเวณนี้เป็นน้ำกระด้าง ทำให้เป็นนิ่วได้ อย่างน้อยต้องต้มก่อน จึงจะดื่มได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดหลุมยุบ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดหลุมยุบ

1. เป็นบริเวณที่มีหินปูนหรือหินคาร์บอเนตรองรับอยู่ในระดับตื้น
2. มีโพรงหรือถ้ำใต้ดิน
3. มีตะกอนดินปิดทับบาง (ไม่เกิน 50 เมตร)
4. มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดิน
5. แรงดันน้ำและอากาศภายในโพรง/ถ้ำ เปลี่ยน
6. เกิดแผ่นดินไหว สึนามิ การสูบน้ำบาดาล
7. มีการก่อสร้างอาคารบนพื้นดินที่มีโพรง/ถ้ำใต้ดิน ระดับตื้น

ข้อสังเกตก่อนเกิดหลุมยุบ

ข้อสังเกตก่อนเกิดหลุมยุบ

1. มีการทรุดตัวของกำแพง รั้ว เสาบ้าน ต้นไม้หรือรากต้นไม่โผล่ผิดปกติ
2. ประตู/หน้าต่าง บิดเบี้ยว ทำให้เปิดยากขึ้น
3. มีรอยปริแตกบนกำแพง ทางเดินเท้า และบนพื้นดิน
4. มีต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือพืชผัก เหี่ยวเฉา เป็นบริเวณแคบ ๆ หรือเป็นวงกลม
5. เกิดแอ่งน้ำขนาดเล็กในบริเวณที่ไม่เคยมีแอ่งน้ำมาก่อน
6. น้ำในบ่อ สระ เกิดการขุ่นข้น หรือเป็นโคลนโดยไม่มีสาเหตุ

ที่มาข้อมูล เอกสารเผยแพร่ กรมทรัพยากรธรณี www.dmr.go.th

Comments are closed.