วันมาฆบูชา “วันจาตุรงคสันนิบาต” วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันมาฆบูชา “วันจาตุรงคสันนิบาต” วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา หรือ วันจาตุรงคสันนิบาต ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 3 หรือประมาณราวเดือนกุมภาพันธ์ แต่หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น 15 ค่ำกลางเดือน 4 หรือประมาณเดือนมีนาคม สำหรับปีนี้ วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2554

วันมาฆบูชา ในปฏิทินสุริยคติ
สำหรับปีนี้ วันมาฆบูชา ปี 2554 ตรงกับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ตรงกับวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555
ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ตรงกับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558
ตรงกับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ตรงกับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประวัติวันมาฆบูชา ในส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ 9 เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน 3ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ

วันมาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า “มาฆปุรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 3 ถือเป็น “วันจาตุรงคสันนิบาต” แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ 4 ซึ่งเป็นเหตุการณ์อัศจรรย์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุทธกาล คือ

1.วันมาฆบูชา เป็นวันที่ พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป ซึ่งจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ ได้เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันเพ็ญกลางเดือน 3 พระจันทร์เต็มดวง)

2.วันมาฆบูชา เป็นวันที่พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูปเหล่านี้ ล้วนเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ทรงอภิญญา 6 และเป็นพระสงฆ์ที่ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ซึ่งเรียกว่า “เอหิภิกขุอุปสัมปทา”

3.พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป ต่างมาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้มีการนัดหมาย กันในวันมาฆบูชานี้

4.วันมาฆบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ ทรงแสดงธรรมเทศนา อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ “โอวาทปาติโมกข์”

โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักคำสอนอันเป็นหลักหรือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ซึ่งได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม ทำจิตใจให้หมดจดบริสุทธิ์ผ่องใส เป็นการปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ

การประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา ในวันมาฆบูชา
โดยทั่วไปจะนิยมทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รับศีล รับพร ถวายสังฆทาน เวียนเทียนรอบอุโบสถ กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา คือ ทำบุญใส่บาตร, ปฏิบัติธรรม และฟังธรรมเทศนา, เวียนเทียนที่วัด หรือตามสถานที่ต่างๆ ที่มีการจัดงาน, ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัวสืบไป

การเตรียมตัวก่อนประกอบพิธีเวียนเทียน ในวันมาฆบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ 3

1. อาบน้ำ ชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจให้เบิกบาน

2. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับสถานที่

3. เตรียมดอกไม้ ธูป เทียน ตลอดจนเครื่องบูชาให้เรียบร้อย

4. เมื่อถึงวัดแล้วควรอยู่ในอาการสำรวม ไม่พูดคุยหยอกล้อ วิ่งเล่น หรือทำกิจกรรมอันไม่เหมาะสม

เวียนเทียนรอบที่ 1 รำลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า โดยภาวนาบท อิติปิโส ภะคะวาฯ ไปจนจบ เพื่อให้จิตใจมีสมาธิ

เวียนเทียนรอบที่ 2 รำลึกถึงคุณพระธรรม ภาวนาบทสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโมฯ ไปจนจบ

เวียนเทียนรอบที่ 3 รำลึกคุณพระสงฆ์ ภาวนาบทสุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆฯ ไปจนจบ ระหว่างนั้นต้องทำจิตใจให้สงบ แน่วแน่กับบทบูชา เมื่อเวียนเทียนครบ 3 รอบแล้ว นำดอกไม้ธูปเทียนไปวางในจุดที่กำหนด

ปัจจุบัน วันมาฆบูชา เป็นวันหยุดราชการ ของประเทศไทย

ที่มา: http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538722918&Ntype=46

Comments are closed.